ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ส้วม คือ ห้องรับแขกญาติโยม..ที่มาวัด"  (อ่าน 1161 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29305
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ส้วม คือ ห้องรับแขกญาติโยม..ที่มาวัด"
« เมื่อ: มิถุนายน 23, 2013, 07:18:16 am »
0


'ถาน เวจกุฏี ส้วม' : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์

"ส้วมคือห้องรับแขกญาติโยมที่มาวัด" นี่คือคำนิยามและความสำคัญของส้วมในมุมของ พระครูสมุห์สงบ กิตติญาโณ หรือหลวงพี่สงบ พระเลขาหลวงปู่แย้ม และรักษาการเจ้าอาวาสวัดตะเคียน

ทั้งนี้ตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดตะเคียน โดยสนองงานหลวงปู่แย้ม พัฒนาวัดร้างให้กลายเป็นวัดท่องเที่ยว ปัจจุบันวัดตะเคียนถือว่าเป็นวัดแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีโบสถ์หัวเสือ-หัวมังกร ซึ่งในแต่ละวันจะมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากเดินทางมาลอดโบสถ์ สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตาแบบนอนโลง ลอยเทียน รวมทั้งเที่ยวตลาดน้ำวัดตะเคียนจำนวนมาก

พร้อมกันนี้ หลวงพี่สงบยังบอกด้วยว่า "เราควรทำสถานที่ปลดทุกข์ให้กลายเป็นสถานที่สร้างสุขได้ในเวลาเดียวกัน ส้วมสะอาดน่าใช้ ประหยัด ปลอดภัย การขับถ่ายจะเป็นสุข สะอาด เป็นหัวใจของส้วมที่จะต้องใส่ใจเป็นอันดับแรก"

 :49: :49: :49:

คำว่า “ถาน” พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙) ราชบัณฑิต และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้ให้ความหมายไว้ว่า ส้วมของพระภิกษุสามเณร เป็นคำเฉพาะ

    ถาน ในสมัยโบราณ เป็นโรงเรือนที่แยกออกไปต่างหาก ส่วนใหญ่จะอยู่ท้ายวัดจะได้ไม่ส่งกลิ่นเหม็นมารบกวน ลักษณะโรงเรือนจะมีใต้ถุนสูงโปร่ง ถ่ายเทอากาศได้สะดวก ด้านบนมีฝามิดชิด ข้างบนฝามีช่องระบายอากาศและช่องแสง มีประตูปิด-เปิด พื้นปูด้วยไม้หรือเทปูน มีร่องสำหรับถ่ายอุจจาระ มีเขียงรองเท้าสองข้าง มีรางน้ำปัสสาวะยื่นออกไปนอกฝา มีไม้ซีกเล็กๆ มัดรวมกันวางไว้ข้างๆ สำหรับเช็ดเมื่อเสร็จกิจ ในถิ่นที่หาน้ำได้ง่ายก็ชำระด้วยน้ำที่ใส่ภาชนะเช่นตุ่มเล็กๆ เตรียมไว้แล้ว


    สำหรับพระสงฆ์แล้วในพระธรรมวินัยกำหนดไว้ว่าจะต้องมีสถานที่ขับถ่ายโดยเฉพาะเช่นกัน
    เรียกว่า เวจ, เวจกุฎี (อ่านว่า เว็ด-จะ-กุ-ดี) หรือ วัจกุฎี (อ่านว่า วัด-จะ-กุ-ดี)
    โดยมีลักษณะเป็นหลุมถ่ายก่ออิฐ หรือหิน หรือไม้กรุเพื่อไม่ให้ขอบหลุมพัง มีเขียงแผ่นหินหรือแผ่นไม้รอง ปิดทับหลุม เจาะรูตรงกลางสำหรับถ่ายอุจจาระ หรืออาจมีฝาทำจากไม้ อิฐ หรือหิน ในบางแห่งมีล้อมเป็นผนังให้มิดชิด

     ส่วนคำว่า "เวจกุฎี" เจ้าคุณ "ทองดี" ได้ให้ความหมายไว้ว่า สมัยโบราณเรียกว่า ถาน นิยมสร้างไว้ริมรั้ววัด ซึ่งห่างจากที่พำนักอาศัยของภิกษุสามเณรในวัด เพื่อไม่ให้กลิ่นรบกวน สมัยปัจจุบันไม่นิยมเรียกชื่อนี้ แม้คำว่าถานก็ไม่นิยมเรียก แต่เรียกว่า ส้วมบ้าง ห้องน้ำบ้าง ห้องสุขาบ้าง ตามแบบชาวบ้าน


 :25: :25: :25:

เวจกุฎี ในพระธรรมวินัยกำหนดธรรมเนียมการใช้ไว้หลายอย่าง เช่น ห้ามเหลือน้ำที่ชำระไว้ในภาชนะ เช่น กระบอก ขันตักน้ำ ไม่ต้องนับพรรษา คือ ไม่ต้องเรียงลำดับว่า ผู้มีพรรษามากกว่าต้องใช้ก่อน ไม่ต้องทำสามีจิกรรม คือ ไม่ต้องไหว้ ขณะเข้าไปทำกิจ เป็นต้น

ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130621/161530/ถานเวจกุฏีส้วม:คำวัดโดยพระธรรมกิตติวงศ์.html#.UcY9R9j0YXF
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ