มรรค 4 (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด)
1. โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส)
2. สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง)
3. อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง 5)
4. อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง 10)._______________________
อ้างอิง :- อภิ.วิ. 35/837/453.
ผล 4 (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ)
1. โสดาปัตติผล (ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย)
2. สกทาคามิผล (ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย)
3. อนาคามิผล (ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย)
4. อรหัตตผล (ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย)
ผล 4 นี้ บางทีเรียกว่า สามัญญผล (ผลของความเป็นสมณะ, ผลแห่งการบำเพ็ญสมณธรรม)________________________
อ้างอิง :- อภิ.วิ. 35/837/453.
อริยบุคคล 8 แยกเป็น มรรคสมังคี (ผู้พร้อมด้วยมรรค) 4, ผลสมังคี (ผู้พร้อมด้วยผล) 4.
1. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล)
2. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล (พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค)
3. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล)
4. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค)
5 อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล)
6. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค)
7. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล)
8. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค)
ทั้ง 8 ท่านนี้ ในบาลีที่มาทั้งหลายเรียกว่า ทักขิไณยบุคคล 8_________________________________________________________
อ้างอิง :- ที.ปา. 11/342/267 ; องฺ.อฏฺฐก. 23/149/301 ; อภิ.ปุ. 36/150/233.
ญาณ 16 หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด)
...................
13. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล)
14. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น)
15. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ)
16. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่)___________________________________________
อ้างอิง :- ขุ.ปฏิ. 31/มาติกา/1-2 และ วิสุทธิ. 3/206-328
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://i1045.photobucket.com/
13. โคตรภูญาณ
คำสอนที่เผยแพร่ หากบารมีแก่กล้าก็วืบเดียวอนุโลมญาณ แล้วโคตรภูญาณมัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เกิดสืบต่อกัน
ปริยัติธรรม ญาณครอบโคตรคือความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู้ภาวะอริยบุคคล
ความรู้จากการปฏิบัติ ถึงขั้นนี้ทั้งคำสอนที่เผยแพร่กัน และคำสอนทางปริยัติธรรมเข้าไม่ถึงเสียแล้ว
จึงไม่สามารถจำแนกอธิบายลักษณาการของโคตรภูญาณได้ แล้วเอาคำว่าวืบมาใช้ ความจริงไม่มีคำว่าวืบ หรือวูบ เพราะขณะนั้นสติสัมปชัญญะจะแจ่มใสตลอด โคตรภูญาณเป็นญาณหยั่งรู้ว่า
ขณะนั้นกระแสจิตที่ส่งออกนอกไประลึกรู้อารมณ์จะปล่อยวางอารมณ์แล้วถอยย้อนคืนเข้าหาตัวจิตผู้รู้ มันไม่ได้เกาะเกี่ยวกับอารมณ์จึงไม่อาจจัดเป็นโลกียญาณ และไม่ได้เข้าถึงธาตุรู้อันบริสุทธิ์แท้จริง จึงไม่ใช่โลกุตรญาณแต่เป็นรอยต่อตรงกลางนั่นเอง ในช่วงที่จิตถอยออกจากอารมณ์นั้น เป็นการรวมของจิตคล้ายกับอัปปนาสมาธินั่นเอง
แต่อาจเป็นการผ่านฌานที่ 1 แล้วเข้าถึงจิตผู้รู้เลย หรือผ่านฌานที่ 2 - 8 แล้วจึงเข้าถึงจิตผู้รู้ก็ได้
แล้วแต่กำลังฌานของแต่ละบุคคล (จุดที่ต่างจากอัปปนาสมาธิคือ มันไม่ได้ถอยมาหยุดเฉยอยู่กับจิตผู้รู้อย่างกับอารมณ์ฌาน หากแต่เป็นการถอยเข้ามารวมกำลังของกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้เข้าไว้ด้วยกันที่จิตผู้รู้ เพื่อแหวกมโนวิญญาณที่ปกคลุมธาตุรู้อันบริสุทธิ์ให้แตกกระจายออกไปในขั้นของมัคคญาณ)

14. มัคคญาณ
คำสอนที่เผยแพร่ อธิบายไม่ได้แล้ว
ปริยัติธรรม ญาณหยั่งรู้ในอริยมัคค์ คือความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น
ความรู้จากการปฏิบัติ เมื่อสติซึ่งเคยระลึกรู้อารมณ์ย้อนตามโคตรภูญาณเข้ามาระลึกรู้จิตผู้รู้ ซึ่งตัวจิตผู้รู้เองก็มีสัมปชัญญะอยู่ก่อนแล้ว ทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ ทั้งกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวงที่รวมเรียกว่าโพธิปักขิยธรรม ประชุมรวมลงที่จิตผู้รู้ดวงเดียว ในขณะนั้นมโนวิญญาณที่ห่อหุ้มธาตุรู้ถูกกำลังของมรรคหรือมัคคสมังคีแหวกออก ธาตุรู้ซึ่งถูกห่อหุ้มมานับกัปป์กัลป์ไม่ถ้วนก็ปรากฏตัวขึ้นมา สภาพที่มัคคสมังคีแหวกมโนวิญญาณอันนั้นเกิดในขณะจิตเดียว บางคนตามรู้ได้ บางคนตามรู้ไม่ทันเพราะปัญญาอบรมมาได้ไม่เท่ากัน

15. ผลญาณ
คำสอนที่เผยแพร่ อธิบายไม่ได้แล้ว
ปริยัติธรรม ญาณในอริยผล คือความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ
ความรู้จากการปฏิบัติ เมื่อมโนวิญญาณถูกแหวกออกแล้ว ธาตุรู้อันบริสุทธิ์หรือจิตอันบริสุทธิ์แท้จริงก็ปรากฏขึ้น มันไม่มีรูปร่างตัวตนใดๆทั้งสิ้น ปรากฏเป็นแสงสว่าง ว่างบริสุทธิ์ เป็นตัวของตัวเอง มีอาการเบิกบานร่าเริงโดยปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง

16. ปัจจเวกขณญาณ
คำสอนที่เผยแพร่ บางคนอ่อนก็พูดไม่เป็น บางคนญาณแก่ก็พูดได้ประกาศร้อง ตะโกนว่าเรารู้แล้ว มรรคนี้ถูกต้องแล้ว พิจารณากิเลสที่ละได้ และกิเลสที่ยังเหลืออยู่
ปริยัติธรรม ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผลและกิเลสที่ ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน
ความรู้จากการปฏิบัติ ในขณะที่บังเกิดมรรคผลนั้น ปราศจากความคิดมีแต่ความรู้ เมื่อมัคคญาณยังไม่ถึงขั้นอรหัตมัคค์ ย่อมมีกำลังไม่มากพอที่จะส่งผลให้จิตจริงแท้หลุดพ้นได้ถาวร แต่จะปรากฏเพียงเล็กน้อยก็จะถูกมโนวิญญาณกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมอีก เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะคิดนึกได้และรู้ชัดว่า อ้อพระพุทธเจ้ามีจริง ทรงสอนธรรมเป็นของจริง ปฏิบัติแล้วหลุดพ้นได้จริง
ผู้ปฏิบัติสามารถหลุดพ้นเป็นอริยสาวกตามพระองค์ได้จริง จะรู้ชัดว่าความเป็นตัวตนไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะจะเห็นชัดว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา ความเป็นตัวเราหรือสักกายทิฏฐิเกิดจากสังขารหรือความคิดเข้ามาปรุงแต่งหลอกลวงจิตเท่านั้น จะหมดความลังเลสงสัยในพระศาสนาสิ้นเชิง ไม่มีทางปฏิบัตินอกลู่นอกทางใดๆ ได้อีก
กล่าวโดยย่อ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส เป็นอันหมดไปเด็ดขาด
กิเลสในจิตใจเหลือมากน้อยเพียงใดก็รู้ชัดในใจตนเองจากกระทู้ "ลำดับขั้น...เข้าสู่อริยมรรค"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3409.0ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://i1045.photobucket.com/