ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดห้องสมุด 4G ที่ทันสมัย กระตุ้นการอ่านให้เมืองหนังสือโลก  (อ่าน 1745 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เปิดห้องสมุด 4G ที่ทันสมัย กระตุ้นการอ่านให้เมืองหนังสือโลก

ครูต้องฝึกให้นักเรียนอยากรู้ อยากเห็น เกิดความสงสัย สนุกกับการเรียนซุกซนกับความรู้และให้ความสำคัญกับนักเรียน ที่มีแนวคิด แตกต่างกล้าหาญแหวกแนว

เป็นพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่โรงเรียนจินดาบำรุง เขตคันนายาว นำมาใช้ในการขับเคลื่อน ห้องสมุด 4G ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในโอกาสเฉลิมฉลองในโอกาสที่กรุงเทพมหานคร ได้รับเลือกจาก ยูเนสโก (UNESCO) เป็นเมืองหนังสือโลกในปี 2556

เนื่องจากภารกิจการตอบสนองต่อการเป็นเมืองหนังสือโลกทำให้ กทม.ได้จัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมสนับสนุนนิสัยรักการอ่านให้เด็ก เยาวชน และประชาชนอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมานอกจากการจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้อ่านหนังสือแล้ว กทม.ยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านรูปแบบอื่น ๆ ด้วย อาทิ โต้วาที มัคคุเทศน์น้อย หุ่นละครเล็กโจหลุยส์ ซึ่งโรงเรียนต่าง ๆ สามารถนำกิจกรรมเหล่านี้ไปขยายผล ต่อยอด หรือคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ได้ ไม่จำกัดรูปแบบ

รวมถึงการส่งเสริมการอ่านที่เริ่มต้นจากห้องสมุด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการอ่าน โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน เนื่องจากทุกโรงเรียนจะมีห้องสมุดเพื่อใช้ในการค้นคว้าหาความรู้อยู่แล้ว รวมถึงโรงเรียนจินดาบำรุง เขตคันนายาว ของ กทม.แห่งนี้ด้วย


 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

โดย นายเมธีธนัช ปะเสระกัง ผู้อำนวยการโรงเรียนจินดาบำรุง ได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาห้องสมุดให้ตอบสนองความต้องการของเด็ก ๆ ให้ได้มากที่สุดจากโจทย์ที่ว่า “ห้องสมุดโรงเรียนที่สนองการเรียนรู้และกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเข้าห้องสมุดควรมีลักษณะอย่างไร” คำตอบคือจะต้องสอดคล้องกับบทสรุปที่สอดคล้องต่อที่ประชุมสมัชชารณรงค์ให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งการอ่านและพบว่าการสร้างวัฒนธรรมการอ่านและการอ่านในวัยเด็ก 0-12 ขวบ ซึ่งเป็นวัยเรียนในระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก
 
โรงเรียนจินดาบำรุง จึงได้พัฒนาห้องสมุด ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ปฐมภูมิในโรงเรียน โดยทำการพัฒนาและปรับปรุงมาจากห้องสมุด (สามมิติ) 3D ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นห้องสมุด 4G ขึ้นเพื่อตอบสนองแนวคิดและรองรับภารกิจการส่งเสริมการอ่านให้ได้ผลดีที่สุด ห้องสมุด 4G เป็นห้องสมุดที่มีความแตกต่างกับห้องสมุดอื่น เนื่องจากมีองค์ประกอบดังนี้





G1–Good librarian ครูน่ารักเป็นครูบรรณารักษ์ทุกคน เจ้าหน้าที่ในห้องสมุดเป็นครูบรรณารักษ์ที่มีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวกับห้องสมุดโดยตรง ที่สามารถช่วยเหลือการใช้บริการได้อย่างเต็มที่และส่งเสริมการใช้ห้องสมุดและการอ่านหนังสือที่ถูกต้องแทนการดูแลโดยรวมหรือการยืมคืนหนังสือเท่านั้น
 
G2-Good Book หนังสือทุกเล่มถูกเปิดอ่านทุกหน้า ห้องสมุดแห่งนี้เน้นการส่งเสริมให้นักเรียนอ่านหนังสือในหลายรูปแบบให้ทั่วถึงทุกเล่ม โดยครูบรรณารักษ์จะเป็นผู้แนะนำหนังสือที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้หลาย ๆ ด้าน
 
G3-Good Environment บรรยากาศใสสะอาดเรียนรู้ได้ทุกอิริยาบถและความต้องการ บรรยากาศของห้องสมุดร่มรื่น สดใส และตกแต่งเหมาะสมกับเด็ก ๆ ที่กำลังต้องการความสวยงามสมวัย เน้นให้สร้างความรู้สึกสนุกสนานคล้ายรูปแบบของภาคเอกชนมากขึ้นกระตุ้นอยากให้เด็ก ๆ ต้องการเข้าห้องสมุดมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากห้องสมุดในโรงเรียนทั่ว ๆ ไป
 
G4- Good tool Technology เครื่องมือสืบค้นทันสมัยรวดเร็วทันในก้าวข้ามกาลเวลา ซึ่งเป็นเครื่องมือสืบค้นจากโปรแกรมที่มีการพัฒนาขึ้นมาเฉพาะตัว การค้นหาหนังสือจะรู้ทั้งข้อมูลสถานที่อยู่ของรูปปกหนังสือ รายละเอียดต่าง ๆ ที่เข้าถึงหนังสือได้สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งมีเทคโนโลยีที่สะดวกสบายในการช่วยการเรียนการสอน อีกมากมาย ทั้งคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อระบบโปรเจคเตอร์ขนาดใหญ่สามารถสอนหนังสือหรือเล่นเกมเพื่อพัฒนาทักษะร่วมกันได้หลาย ๆ คนในครั้งเดียวกัน รวมถึงห้องชมภาพยนตร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนหรือความบันเทิงเป็นต้น






และที่พิเศษที่สุดของห้องสมุดแห่งนี้คือการได้จัดทำหนังสือวรรณกรรมร่วมเขียนของเด็กนักเรียนในชื่อ “วรรณกรรมเด็กร่วมเขียน ครั้งแรกของโลก” ซึ่งเป็นผลงานของเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.3-ป.6 จำนวนกว่า 600 คน ร่วมกันเขียนและวาดภาพสะท้อนมุมมองของตนเองจากการอ่านและศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของกรุงเทพมหานคร ภายใต้คำขวัญของ กทม.ที่มีการจัดประกวดขึ้นมาและเริ่มใช้ได้ไม่นาน คือ “กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย”

โดยมีครูคอยดูแลและให้คำปรึกษาพร้อมทั้งมีผู้ปกครองให้การสนับสนุน จนเกิดเป็นหนังสือวรรณกรรมเด็กร่วมเขียนฯ ขึ้น โดยหนังสือวรรณกรรมร่วมเขียนจะถูกรวบรวมไว้ใน ไจแอนท์บุ๊กหรือหนังสือขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้ที่มาเข้าชมหรือมาใช้บริการห้องสมุดได้อ่านและเห็นถึงมุมมองของเยาวชน

ห้องสมุดแห่งนี้เปิดเป็นทางการไปเมื่อต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา และเป็นที่สนใจต่อเด็กในโรงเรียนจินดาบำรุงมาก ทำให้ กทม.จะมีการขยายผลให้เกิดห้องสมุด 4G หรือห้องสมุดที่มีความทันสมัยเพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ที่มีศักยภาพสูงให้ครอบคลุมโรงเรียนอื่น ๆ ทั่วพื้นที่ต่อไป

การกระตุ้นให้มีการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการเพิ่มความรู้ที่ทุกคนไม่สามารถออกไปหาได้เองในทุก ๆ ที่ และแม้ต่อไปจากนี้ กรุงเทพฯ จะไม่ได้เป็นเมืองหนังสือโลกอีกแล้วก็ตาม แต่ก็มั่นใจได้ว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่งเสริมให้ทุกคน โดยเฉพาะเยาวชนอ่านหนังสือกันมากขึ้น และการอ่านก็เป็นหนทางที่จะถึงความรู้ เกิดกระบวนการความคิดไปในทิศทางที่ดี เพื่อพัฒนาประเทศชาติ ในอนาคตต่อไป.

บานเย็น แม่นปืน / รายงาน

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.dailynews.co.th/bkk/214123
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ