ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นิด้าโพล เผยคนไม่เห็นด้วยพระใช้ของหรูหรา  (อ่าน 1196 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29355
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


นิด้าโพล เผยคนไม่เห็นด้วยพระใช้ของหรูหรา

นิด้าโพล ชี้ ประชาชน ไม่เห็นด้วยพระสงฆ์สมณเพศใช้ของสินค้าหรูหรา จี้ ควรออกกฎข้อบังคับเพื่อจำกัดการครอบครองหรือใช้วัตถุให้หมู่ภิกษุ...


วันนี้ (26 มิ.ย.56) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “พระสงฆ์กับวัตถุนิยม” จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,249 หน่วยตัวอย่าง เฉพาะพุทธศาสนิกชน (ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ) กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ จากกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับพระภิกษุบางรูป มียานพาหนะ เครื่องใช้ส่วนตัว มีทรัพย์สินมีค่าที่ดูเกินความจำเป็น เช่น รถหรูราคาแพง การใช้กระเป๋าแบรนด์เนม จนเป็นกระแสในสังคมถึงความเหมาะสมในสมณรูป

 :49: :49: :49:

จากการสำรวจถึงความเหมาะสมของพระสงฆ์ ที่มีพฤติกรรมในการครอบครองรถหรู ใช้ของแบรนด์ เนม เดินทางด้วยยานพาหนะที่เลิศหรู มีทรัพย์สินส่วนตัว มูลค่าเกินแก่ฐานะ พบว่า
    ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.39 ระบุว่า ไม่เหมาะสม เพราะพระสงฆ์อยู่ในสมณเพศ ควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างแก่พุทธศาสนิกชน ควรละซึ่งกิเลสทางโลก เช่น ความโลภ ความหลงใหลในวัตถุนิยมต่างๆ
    มีเพียง ร้อยละ 5.68 ที่ระบุว่าเหมาะสม เพราะถือเป็นสิทธิของพระสงฆ์ และย่อมเป็นไปตามกาลเวลาและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใช้สิ่งของเหล่านี้ และสิ่งของบางอย่างพระสงฆ์ไม่ได้ซื้อเอง แต่มีลูกศิษย์ซื้อมาถวายให้ใช้


 :happybirthday3: :happybirthday3: :happybirthday3:

     เมื่อถามถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พระสงฆ์มีพฤติกรรมวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยมมากที่สุด พบว่า
     ร้อยละ 37.79 ระบุว่า เกิดจากพระสงฆ์ตัดไม่ขาดจากทางโลก ยังหลงใหลในวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม
     รองลงมา ร้อยละ 30.82 เกิดจากพระสงฆ์หลงในวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม และญาติโยม/ลูกศิษย์ก็ตอบสนอง
     ร้อยละ 20.02 เกิดจากญาติโยม/ลูกศิษย์ถวายวัตถุสิ่งของโดยขาดการยั้งคิดว่าเหมาะสมหรือไม่
     ร้อยละ 6.49 เกิดจากองค์กรที่ดูแลศาสนาอ่อนแอขาดประสิทธิภาพในการตรวจสอบป้องกัน และ
     ร้อยละ 0.80 เกิดจากสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนไป


 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

    สำหรับการกระทำหรือลักษณะของวัด/สำนักสงฆ์ ที่ทำให้พุทธศาสนิกชนไม่อยากเข้าไปทำบุญมากที่สุดนั้น พบว่า
     ร้อยละ 46.84 ระบุว่า เป็นวัดที่มีข่าวฉาวของพระสงฆ์ เช่น เสพยาบ้า ดื่มสุรา ยุ่งสีกา
     รองลงมา ร้อยละ 30.50 เป็นวัดที่มีความเป็นพุทธพาณิชย์/เน้นวัตถุนิยมมากเกินไป บังคับให้ทำบุญ
     ร้อยละ 6.65 เป็นวัดที่เน้นพิธีกรรมทางไสยศาสตร์มากกว่าคำสอนทางพุทธศาสนา
     ร้อยละ 4.16 พระในวัดยุ่งการเมือง/เลือกข้าง
     ร้อยละ 4.08 วัดมีคำสอนที่บิดเบือนรวมถึงการโฆษณาอภินิหารเกินความจริง (อวดอุตริมนุสธรรม)
     ร้อยละ 2.00 อื่นๆ เช่น วัดที่แบ่งชั้นวรรณะ วัดที่เลือกเฉพาะคนรวย พระที่พูดจาไม่สุภาพ
     มีเพียง ร้อยละ 0.24 ระบุว่า สามารถทำบุญได้ทุกวัด โดยไม่ได้คำนึงว่าวัดนั้นหรือพระสงฆ์จะดีหรือไม่ดี คิดเสียว่าเป็นการทำบุญเพื่อตนเอง


 :67: :67: :67:

     ท้ายสุดเมื่อถามถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ที่มีพฤติกรรมหลงในวัตถุนิยม/บริโภคนิยมมากเกินพอดี
     ร้อยละ 68.05 ระบุว่า ควรออกกฎข้อบังคับเพื่อจำกัดการครอบครองหรือใช้วัตถุของพระสงฆ์
     รองลงมา ร้อยละ 8.81 ให้มีการเก็บภาษีพระสงฆ์จากเงินบริจาค/สิ่งของที่มาบริจาค
     ร้อยละ 2.32 แก้ไขที่พระสงฆ์และญาติโยมให้มีความพอดี ทั้งผู้รับและผู้ถวาย
     ร้อยละ 1.84 มีหน่วยงานกลางช่วยกันตรวจสอบ และประชาชนช่วยกันเป็นหูเป็นตา
     ร้อยละ 0.72 เห็นว่า แก้ไขได้ยากจนถึงแก้ไขไม่ได้เลย และ
     ร้อยละ 2.40 อื่นๆ เช่น ดูเจตนาของการกระทำ ให้ลงโทษทางวินัย ตรวจสอบประวัติในเบื้องต้นของผู้ที่จะเข้ามาบวช



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/region/353656
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ