ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สะพานศิลป์สู่ถิ่นนิพพาน  (อ่าน 1218 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สะพานศิลป์สู่ถิ่นนิพพาน
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2013, 07:01:08 am »
0


สะพานศิลป์สู่ถิ่นนิพพาน

ปณิธาน ๓ ประการของท่านพุทธทาสภิกขุ ได้แก่ การเข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา การทำความเข้าใจกันระหว่างศาสนิกชนของศาสนาต่าง ๆ และการออกมาเสียจากอำนาจวัตถุนิยม เป็นหัวใจหลักในการดำเนินงานของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อสืบสานงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านศาสนธรรมอันรื่นรมย์ (Spiritual Fitness and Edutainment Center) ที่ให้บริการแก่สาธารณชนในวงกว้าง โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา

เพื่อสนองอุดมการณ์และเจตนารมณ์ของท่านพุทธทาสภิกขุ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ได้เริ่มต้นโครงการเผยแผ่ธรรมภาคภาษาอังกฤษ (BIA International Program) ตั้งแต่พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จวบจนปัจจุบัน เพื่อจัดกิจกรรมและเผยแผ่พระธรรมของพระพุทธเจ้า ท่านพุทธทาสภิกขุและของครูบาอาจารย์หลากหลายท่าน ให้แก่ผู้สนใจชาวต่างชาติและชาวไทย อันเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือและการเชื่อมร้อยความสัมพันธ์กับเพื่อนธรรมภาคีและศาสนิกชน
ต่างประเทศทั่วโลก


 ans1 ans1 ans1

“สะพานศิลป์สู่ถิ่นนิพพาน” เป็นโครงการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะแฝงธรรมแก่สาธารณชน ริเริ่มขึ้นโดยเพื่อนธรรมภาคีชาวต่างประเทศ ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมภาคภาษาอังกฤษที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ คุณมิเนตต์ ลี มางงาฮาส ศิลปินชาวอเมริกัน ผู้ได้รับทุนฟุลไบรท์ จากมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (Thailand–United States Educational Foundation : TUSEF) เพื่อมาทำโครงการศึกษาวิจัยด้านศิลปะในประเทศไทย

โครงการจัดแสดงนิทรรศการนี้ เป็นโครงการความร่วมมือพหุภาคี ระหว่าง หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ, วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และศิลปิน คุณมิเนตต์ ลี มางงาฮาส ได้รับแรงบันดาลใจจาก บทเพลงกล่อมเด็กพื้นบ้านในภาคใต้ของประเทศไทย “มะพร้าวนาฬิเกร์” ซึ่งได้กล่าวถึงการก้าวข้าม “ทะเลขี้ผึ้ง” ไปยังต้น “มะพร้าวนาฬิเกร์” ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว อันเป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการบรรลุธรรมเข้าถึงพระนิพพาน โดยศิลปินผู้จัดสร้าง ได้ถ่ายทอดความหมายอันลึกซึ้งของบทเพลงพื้นบ้าน ในรูปแบบสมัยใหม่ที่ดึงดูดความสนใจและการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านสะพานธง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมานสามัคคีและสันติภาพ



นิทรรศการ “สะพานศิลป์สู่ถิ่นนิพพาน” จัดแสดงตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน – ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในศุภวโรกาสเฉลิมฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี ในวันคล้ายวันประสูติวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเฉลิมฉลองการก่อตั้งโครงการเผยแผ่ธรรมภาคภาษาอังกฤษ ครบรอบปีในโอกาสเดียวกันนี้

เรื่องมะพร้าวนาฬิเกร์ คือบทกล่อมลูกแบบภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ไปจนถึง จ.นครศรีธรรมราช ในบทเห่กล่อมลูกคนในอดีตนั้นสอดแทรกเรื่องธรรมะลงไป แล้วมีทำนองเฉพาะ เล่าเป็นเรื่องเป็นราว


 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ท่านพุทธทาสเล่าเรื่องมะพร้าวนาฬิเกร์ไว้ว่า ในบทกล่อมลูกประมาณ ๕–๖ ร้อยบทนั้น มีบทธรรมะสูงสุด ในทำนองโลกุตตระนั้นอยู่หลายบท แล้วก็มีบทที่เป็นเพียงศีลธรรมธรรมดาอยู่หลายสิบบท นอกนั้นก็มีประเภทเล่าเรื่อง เช่น เรื่องพระนางพิมพา นางเมรี เรื่องพระสังข์ อะไรก็ตาม เป็นทำนองบรรยายเรื่องก็มีมาก และมากที่สุดก็เป็นบทล้อเลียนเกี้ยวเลี้ยวระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ทั้งหมดเป็นบทสำหรับกล่อมเด็กให้นอน แม่กล่อมลูก พี่กล่อมน้อง ไกวเปลให้นอน

บทมะพร้าวนาฬิเกร์ บทมะม่วงพิมพานต์ บทส้มซ่า หมายถึง ความคิดที่ออกไปนอกโลก บทมะพร้าวนาฬิเกร์นี้ มีมีว่า มะพร้าวนาฬิเกร์ ถ้าร้องเต็มที่ก็ว่า “คือน้องเอย คือน้อง คือมะพร้าวนาฬิเกร์หรือ น้องเอยมะพร้าวนาฬิเกร์ ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง กลางทะเลขี้ผึ้ง ต้นเดียวเปลี่ยวลิงโลดเอย” บทท้ายนี้ว่า “ต้นเดียวเปลี่ยวลิงโลดเอย” ก็มี “ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญ” ก็มี “คงจะถึงสักวันหนึ่งเอย” ก็มี



เมื่อคืนวันที่มีการแสดงให้ดู มีร้องเรื่องมะพร้าวนาฬิเกร์ นี่คิดดูแล้วปู่ย่าตายายนั้นไม่ใช่เล็กน้อย เป็นคนสนใจอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าเนื้อความที่จะร้องนี้ มันลึก มันไม่ใช่จะเดาส่งเดชไปได้ มันต้องมีผู้รู้, มีความรู้ แล้วประดิษฐ์ขึ้นมาให้ชาวบ้านเอาไปร้อง.

มะพร้าวนาฬิเกร์ นี้หมายถึงมะพร้าว. นาฬิเกร์ ก็แปลว่า มะพร้าว, ต้นเดี่ยวโนเน ก็หมายความว่า ต้นเดี่ยว ไม่มีคู่เปรียบ. อยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง หรืออยู่นอกทะเลขี้ผึ้ง ภาษาเมืองนี้ถ้าเขาว่าไปทะเล เขาว่าไปนอกเล ไปนอกเล ก็หมายความว่า ไปที่ทะเล อยู่นอกเลขี้ผึ้ง ก็หมายความว่าอยู่ที่ทะเลขี้ผึ้งนั่นเอง หรืออยู่กลางทะเลขี้ผึ้งนี้ก็ยิ่งชัดใหญ่ เป็นมะพร้าวที่อยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง


 :96: :96: :96:

ลองคิดดูซิว่า ทะเลขี้ผึ้งมันเป็นอย่างไร ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง หมายความว่า ที่นั่นไม่มีอะไรกระทำได้ ไม่มีอะไรเอฟเฟกต์ได้ ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง กลางทะเลขี้ผึ้งนั้นปู่ย่าตายาย เขาไม่มีอะไรพิเศษเหมือนพวกเรา แต่เขามีอย่างนี้ เขานึกถึงแต่สิ่งสิ่งหนึ่งซึ่งดีที่สุด ซึ่งเลิศที่สุดอยู่เสมอ มันจึงออกมาในรูปนี้ แล้วแสดงความสูงในทางจิตใจ นี่เรียกว่าเรื่องฝ่ายธรรมะนั้นสูง เรื่องสอนศีลธรรมทั่ว ๆ ไปนั้นก็มีมาก จำไม่ค่อยได้ และไม่ค่อยได้จำด้วย

ทีนี้ พูดถึงบทล้อเลียนก็แยบคายมาก มีว่า “พี่ชาย น้องแก่เหมือนจะตาย พี่ชายก็เพิ่งจะมาขอ กระบอกยนต์ยังมิได้สร้าง ผ้าขาวห่อร่างยังมิได้ทอ พี่ชายก็ริจะมาขอ รอให้น้องหล่อบอกยนต์ก่อนเอย” บอกยนต์นั่นคือตะบันหมาก คนแก่ ๆ มาติดพันเด็กผู้หญิงรุ่นสาว เด็กหญิงเขาบอกว่า ยังไม่ได้หล่อตะบัน ยังไม่ได้ทอผ้าห่อศพ ฉะนั้น รอให้หล่อตะบันเสียก่อน จึงค่อยมาขอ นี้เป็นบทล้อเลียนก็คมคายมากเหมือนกัน



ในบทกล่อมลูก มีอะไรที่น่าสนใจอยู่อีกมาก เกี่ยวกับทะเลขี้ผึ้งนี้มีตั้ง ๒ บท อีกบทหนึ่งว่า “ดอกมะลิ บานเหมือนจะผลิอยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง” อย่างนี้ก็มี นี่เรียกว่าคิดถึงทะเลขี้ผึ้ง พวกเรานี้เรียนนักธรรมโท หรือเปรียญ ๙ ประโยค เมื่อคนแก่ ๆ พูดอย่างนี้ก็ตีความไม่ถูก เคยถามพวกเปรียญ ๙ ประโยค หรือนักธรรมเอกให้อธิบาย ก็ไม่ทราบ ไม่รู้ว่าอะไร ทะเลขี้ผึ้ง

นิพพานคือต้นมะพร้าวไปอยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง กลางทะเลขี้ผึ้งนี้คือวัฏฏสงสาร เรามันสอนกันมาผิด ผิดจากที่ว่านี้ เราไปสอนกันว่า นิพพานอยู่ฝ่ายหนึ่ง วัฏฏสงสารอยู่ฝ่ายหนึ่ง ตรงกันข้ามเลย โลกิยะกับโลกกุตตระต้องแยกกันอยู่คนละทิศละทางเหมือนฟ้ากับดิน สอนกันอยู่แต่อย่างนี้ในโรงเรียนเดี๋ยวนี้ เรื่องโลกกับโลกุตตระแยกออกไปจากกันเลย ไปอยู่ตรงกันข้ามคนละข้างคนละฝ่ายเสียด้วย


 st12 st12 st12

แต่คำสอนโน้นว่า อยู่ที่กลางทะเลขี้ผึ้งนั่นเอง เหมือนกับพวกเซ็นพูดว่า “จุดเย็นที่สุดนั้น อยู่กลางเตาหลอม” อย่างนั้นแหละ ข้อนี้พากันลืมเสีย ตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า มีทุกข์ที่ไหน ต้องดับทุกข์ที่นั่น มีความทุกข์งอกขึ้นมาที่ตรงไหน ต้องดับความทุกข์ที่ตรงนั้น ฉะนั้น นิพพาน คือ ดับทุกข์ที่สุด มันก็ต้องอยู่ที่กลาง ที่มีทุกข์ที่สุดนั้นแหละ อยู่ที่ตรงจุดที่มีทุกข์ที่สุดนั่นแหละ คือ ทะเลขี้ผึ้ง.


ขอบคุณรูปมะพร้าวนาฬิเกร์จากเว็บไซต์ http://www.bloggang.com
http://www.dailynews.co.th/article/630/236983
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สะพานศิลป์สู่ถิ่นนิพพาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2013, 07:32:00 am »
0
สรุป แล้ว ก็คือ กำลังตีความหมาย เพลงกล่อมเด็ก ทับ พระสูตรพระไตรปิฏก

  อธิบาย ว่า ทะเลขี้ผึ้ง คือ วัฏฏะสงสาร
              มะพร้าว  คือ นิพพาน

  อาจจะผิดก็ได้ ลองฟัง พระอาจารย์ ทางรายการมาครั้งหนึ่ง ความหมายอาจจะผิด นะจ๊ะ
 :49:
 
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ