ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ออกพรรษา พาตะลอน 'ออนซอนเด'  (อ่าน 1482 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ออกพรรษา พาตะลอน 'ออนซอนเด'
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 09:41:44 am »
0


ออกพรรษา พาตะลอน ออนซอนเด
คอลัมน์ท่องไปกับใจตน : โดย...เรื่องและภาพ...ธีรภาพ โลหิตกุล

อีกไม่กี่วัน เทศกาลออกพรรษาจะเวียนมาถึงอีกครั้ง พร้อมลมหนาวพัดโชยมาเตือน ว่าเหมันต์ฤดูกำลังมาเยือนแล้ว เมื่อดวงไฟคล้ายดวงแก้วผุดพุ่งขึ้นเหนือโขงนที ในค่ำคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ดั่งสัญญาณนัดหมายให้ปริศนาคาใจว่าด้วย “บั้งไฟพญานาค” กลับมาเป็นประเด็นร้อนในวงถกเถียง ณ สภากาแฟบ้านหนองหมาว้อ...ครั้งแล้วครั้งเล่า ปีแล้ว ปีเล่า

แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร? ใครเป็นผู้นฤมิตลูกไฟสีชมพู? ที่แน่ ๆ ถึงวันนี้ ท่านใดที่ปรารถนาจะไปชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นจุดที่มีบั้งไฟขึ้นมากที่สุดในแต่ละปี แล้วยังไม่ได้วางแผนการเดินทาง ยังไม่ได้จองที่พัก ก็ใคร่ขอร้องให้เปลี่ยนแผนไปที่อื่น หรือไม่ก็เลื่อนไปชมปีหน้าจะดีกว่า มิฉะนั้น คุณจะต้องวุ่นวายใจหรือไม่ก็เซ็งระเบิด กับปัญหารถติดยาวเป็นกิโลๆ จนที่สุดก็ไม่ได้เห็นบั้งไฟสักลูก แถมยังไปทำให้คนที่วางแผนเดินทางมาอย่างดี พลอยเดือดร้อนไปด้วย





ยกเว้นว่าจะลองเปลี่ยนบรรยากาศ ไปชมบั้งไฟพญานาคจากริมน้ำโขงฝั่งลาวดูบ้าง เพราะต้องไม่ลืมว่า ด่านชายแดนไทย-ลาว ที่อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ข้ามไป เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ นั้น แม้ต้องลงเรือข้ามเพราะยังไม่มีสะพานมิตรภาพ แต่ด่านนี้เป็น “จุดผ่านแดนถาวร” คือพลเมืองไทย-ลาวถือหนังสือเดินทาง (Passport) ผ่านด่านได้ฉลุย ไม่ต้องเสียเวลาทำบัตรผ่านแดน ข้ามไปเมืองปากซันแล้ว หารถราและที่พักได้ไม่ยาก

จุดที่จะชมก็มีที่ริมโขง ตรงบริเวณแม่น้ำซันไหลมาบรรจบแม่น้ำโขง เรียกกันว่า “ปากซัน” อันเป็นที่มาของเพลง “กุหลาบปากซัน” ที่ลือลั่น เพราะท่าน สุลิวัด ลัดตะนะสะหวัน ผู้ประพันธ์เพลงนี้ ก็มานั่งชมสาวปากซันลงอาบน้ำยามตะวันรอน จนเกิดแรงบันดาลใจไปแต่งเพลง ซึ่งปัจจุบัน มีร้านอาหารผุดขึ้นหลายร้าน ให้เราเลือกนั่งชมบั้งไฟกับชาวลาว...ม่วนซื่นไปอีกแบบ





อีกจุดหนึ่งคือที่ วัดโพนสันนาคานิมิต เมืองท่าพะบาด ห่างจากตัวเมืองปากซัน ซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงบอลิคำไซ ไปไม่ไกลนัก วัดนี้ตั้งอยู่ริมโขง ฝั่งตรงข้ามวัดอาฮงศิลาวาส จังหวัดบึงกาฬ ชาวลาวเชื่อว่าแม่น้ำโขงบริเวณที่ไหลผ่านวัดโพนสัน เป็นวังพญานาคสองตน สอดคล้องกับความเชื่อของชาวบึงกาฬ ที่ว่าแม่น้ำโขงบริเวณ แก่งอาฮง ใกล้ วัดอาฮงศิลาวาส เป็นจุดที่ลึกที่สุด เรียกกันว่า “สะดือโขง” ร่ำลือว่าเคยมีคนวัดความลึกโดยใช้เชือกผูกกับก้อนหินหย่อนลงไป วัดได้ถึง 98 วา โดยคุ้งน้ำนี้จะมีกระแสน้ำไหลเชี่ยววนเป็นหลุมรูปกรวยกินบริเวณกว้าง จึงเป็นจุดที่ลึกที่สุดของแม่น้ำโขง

 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ความเชื่อดังกล่าว สอดคล้องกับ “ตำนานอุรังคธาตุ” ตอนที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้า เสด็จเลียบฝั่งโขง มาโปรดสัตว์บริเวณปากน้ำซัน มีพญานาคสองตนอาราธนาให้ทรงพักฉันภัตตาหารเพลที่นี่ โดยนาคตนหนึ่ง แสดงปาฏิหาริย์ขยายลำตัวจนยาว 500 วา มีพลังดั่งช้างสาร แล้วกวาดเอาดินทรายพูนขึ้นเป็นโพนหรือเนินดิน ถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่งฉันเพล ทั้งยังขดตัวล้อมเนินดินไว้พร้อมแผ่พังพานออกเป็นนาค 7 เศียร บังแดดบังลมให้พระพุทธองค์ ขณะนั้น มีกาขาวส่งเสียงร้องขึ้น

จึงทรงมีพุทธทำนายว่าภายภาคหน้า ดินแดนนี้จะรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนา ผู้คนร่มเย็นเป็นสุข บริบูรณ์ทั้งข้าว ปลา อาหาร แก้วแหวนเงินทอง แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดจนพระยานาคทั้งสองเลื่อมใสศรัทธา น้อมนำเอาพระพุทธเป็นสรณะ





ตำนานนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับชื่อวัด “โพนสัน” เพราะเสียงและตัวอักษรลาว ไม่มี ช.ช้าง กับ ฉ.ฉิ่ง ดังนั้น วัดโพนสัน ก็คือวัดที่พญานาคพูนดินขึ้นเป็น “โพน” ให้พระพุทธเจ้า “สัน” หรือฉันเพลนั่นเอง วัดนี้มีพญานาคสองตนที่ราวบันได ซึ่งแทนที่จะมีหัวเป็นนาคกลับมีหัวเป็นช้าง อย่างที่น่าจะเรียกว่า “คชนาค” ตรงตามที่ “ตำนานอุรังคธาตุ” เล่าไว้ว่า

 :25: :25: :25:

หลังจากพญานาคสองตนฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้เนรมิตตนให้มีเศียรเป็นช้างเผือก แล้วทูนขอรอยพระบาทไว้กราบไหว้บูชา ซึ่งที่วัดอาฮงศิลาวาส ฝั่งตรงกันข้าม ก็มีราวบันได “คชนาค” เช่นกัน ยืนยันว่าเรื่องสะดือโขงและวังพญานาค เป็นความเชื่อของชาวสองฝั่งโขงบริเวณนี้มานานแล้ว ทำให้ชาวบ้านทั้งลาวและไทย นิยมมาชมปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค” กันที่นี่ ตามตำนานว่าเป็นลูกไฟที่พญานาคส่งขึ้นมาถวายการต้อนรับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าช่วงเทศกาลออกพรรษา

จนถึงกับร่ำลือกันว่า แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดบึงกาฬ และแขวงบอลิคำไซ มีบั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นมากที่สุดในลำน้ำโขงทีเดียว คำถามที่ตามมาคือจริงอย่างนั้นหรือ ? เรื่องแบบนี้คงยากที่จะมีใครบันทึกไว้เป็นสถิติโลกแบบ “กินเนสส์บุ๊ก” มีทางเดียวคือต้องไปพิสูจน์ อีกคำถามคือ ถ้าอย่างนั้นก็คงมีคนไปเฝ้าดูกันมากมายนะสิ ผมว่ามากแค่ไหน ก็คงไม่ได้ครึ่งของคลื่นคนที่โพนพิสัยครับ


 :49: :49: :49:

อีกงานหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ เทศกาลไหลเรือไฟ ที่ นครพนม ผมว่าควรค่าที่จะได้ไปเห็นสักครึ่งหนึ่งในชีวิต เพราะเรือไฟที่นี่อลังการจริง โดยเฉพาะปีนี้ ทราบว่าในคืนวันที่ 19 ตุลาคม วันออกพรรษา ทางจังหวัดนครพนมได้ขยายเวลาปิด-เปิดสะพานมิตรภาพข้ามโขงแห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) ไปจนถึงเที่ยงคืน หรือ 24 นาฬิกา เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวชมไหลเรือไฟ แล้วอาจข้ามไปแอ่วดินแดนเพื่อนบ้านอาเซียน ที่เมืองท่าแขก เมืองเอกของแขวงคำม่วน ได้อย่างสบายใจ เป็นการไปเรียนรู้เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ “ประชาคมอาเซียน” ที่ดีกว่าแย่งกันซื้อธงประเทศอาเซียนมาประดับจนเกร่อ แต่ไม่รู้จักจิตใจและตัวตนที่แท้จริงของเพื่อนบ้านเลย

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20131013/170333.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ