« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2013, 11:49:06 am »
0
ลักษณะการบริโภคอาหารบอกจริตได้
๑. ราคจริต ตามธรรมดาย่อมชอบใจอาหารอันละมุนละไม มีรสอร่อยหวานมัน เมื่อทำการบริโภค ก็ทำคำข้าวให้กลมกล่อมพอดีคำ ไม่เล็กเกินไปหรือใหญ่เกินไป เป็นนักชิมรส ชอบลิ้มรสแปลกๆ บริโภคไปด้วยอาการไม่รีบร้อน ได้อาหารที่ถูกปากแม้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ก็รู้สึกมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก
๒. โทสจริต ตามธรรมดาย่อมชอบใจอาหารอันหยาบ ซึ่งมีรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เค็มจัด ขมจัด ฝาดจัด เมื่อทำการบริโภคก็ทำคำข้าวโตจนคับปาก ไม่ใช่เป็นนักชิมรส บริโภคไปด้วยอาการอันรีบร้อน รวดเร็ว ประสบอาหารที่ไม่ถูกปากถึงใจแม้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ก็มีอาการหงุดหงิดขัดเคืองใจ อาจจะพาลโกรธใครต่อใครในขณะนั้นขึ้นมาก็ได้
๓. โมหจริต ตามธรรมดาย่อมมีความชอบใจในรสอาหารไม่แน่นอน เพราะเป็นคนเซ่อเซอะ ไม่เป็นตัวของตัวเอง เมื่อทำการบริโภคก็ทำคำข้าวเล็กๆ ไม่กลมกล่อม บริโภคด้วยอาการมูมมาม เมล็ดข้าวตกเรี่ยราดเกลื่อนกลาดกระจายไป ปากคอเลอะเทอะไม่น่าดู จิตใจฟุ้งซ่าน คือ บริโภคไปอย่างคนใจลอย คนทั้งหลายเห็นเข้าแล้วมักนึกตำหนิในใจ
๔. วิตกจริต เช่นเดียวกับโมหจริต
๕. สัทธาจริต เช่นเดียวกับราคจริต
๖. พุทธิจริต เช่นเดียวกับโทสจริตลักษณะของจริต1. ราคจริต เป็นคนที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ประณีต มีกิริยาท่าทางเรียบร้อย ละมุนละไม น่าดู น่าชม ข้าวของเครื่องใช้สะอาดเรียบร้อย เป็นระเบียบ บ้านเรือนจัดไว้อย่างมีระเบียบ คำพูดคำจา มีความสุภาพอ่อนหวาน ตามปกติราคจริตจะรู้สึกพึงพอใจ ชอบอกชอบใจ ร่าเริงยินดีเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่เกี่ยวกับความสวยงาม ความสุภาพเรียบร้อย จิตจะเกาะเกี่ยวอยู่กับอารมณ์เหล่านี้อย่างไม่รู้สึกเบื่อหน่าย และจะรู้สึกเกลียดชังอารมณ์ที่ตรงกันข้าม คือ เกลียดความสกปรก ไม่ชอบอารมณ์ประเภท เศร้าโศก ความพินาศย่อยยับ การทำลายล้าง เป็นต้น ราคจริตเป็นลักษณะที่รักสวยรักงามเป็นสำคัญ ไม่ได้หมายความว่า ราคจริตเป็นผู้ที่มักมากในกามารมณ์ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
2. โทสจริต บุคคลที่มีจริตนี้จะมีจิตใจที่ตรงกันข้ามกับราคจริต คือ โดยปกติเป็นคนใจร้อน ใจเร็ว กระด้าง มีอารมณ์มักโกรธเป็นเจ้าเรือน อะไรนิดอะไรหน่อยก็โกรธ มีความรีบร้อนอยู่ในใจเป็นปกติ ผู้ที่มีจริตหนักไปทางโทสจริตนี้ แก่เร็ว พูดเร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ ไม่มีความละเอียดถี่ถ้วน ไม่มีความพิถีพิถันในการแต่งตัว
3. โมหจริต เป็นลักษณะของจิตที่มีความเฉื่อยชา ขาดความคล่องแคล่ว มักเป็นผู้ที่อยู่ใน ความรู้สึกมากกว่าความคิด ไม่ค่อยชอบคิด หรือคิดไม่ออก มักมีอคติเกี่ยวกับตัวเอง มองตัวเองว่าไม่ดี ไม่เก่ง ไม่สวย ไม่หล่อ ไม่มีความสามารถ ใบหน้าไม่เบิกบาน ตาเยิ้มแต่เศร้า ถึงเวลาพูดไม่พูด ถึงพูดก็ ไม่มีพลัง ตามธรรมดาจิตของคนทั่วไปจะวิ่งไปหาอารมณ์เอง แต่คนโมหจริตแทนที่จะวิ่งไปหาอารมณ์ กลายเป็นว่าอยู่ในลักษณะสะลึมสะลือครึ่งหลับครึ่งตื่น คอยให้อารมณ์มากระตุ้นเองจึงจะทำงาน
4. วิตกจริต โดยปกติเป็นคนคิดมาก ชอบคิด ชอบแสดงความคิดเห็น มีคำถามมาก เพราะสมองเต็มไปด้วยความคิดฟุ้งซ่าน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด แม้มีเรื่องพิจารณาเพียงเล็กน้อยก็ต้องคิดตรองอยู่ อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยเหตุที่เป็นคนคิดมากพูดมาก ทำให้ต้องใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ทำให้ใบหน้าเต็มไปด้วยริ้วรอยแห่งความเหนื่อย หน้าตาไม่ค่อยสดชื่น ร่างกายแก่เกินวัย หาความสุขสบายใจ ได้ยาก
5. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ ทำตามความเชื่อ เอาความเชื่อ ออกหน้า ความคิดหรือความยึดมั่นมักอยู่เหนือการใช้เหตุผล และมักเชื่อโดยไร้เหตุผล อะไรที่ไม่เป็นไปตามที่ตนเชื่อถือมักไม่ถูกต้อง มีใครแนะนำอะไรก็ตัดสินใจเชื่ออย่างเดียวโดยไม่ได้พิจารณา
6. พุทธจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีไหวพริบปฏิภาณดี คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล ชอบใช้ความรู้และเหตุผลในการพิจารณาตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำสิ่งใด มองปรากฏการณ์ต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง โดยปราศจากการปรุงแต่งหรืออคติส่วนตัวที่มา
http://book.dou.us/doku.php?id=md305:5ขอบคุณภาพจาก
http://www.bloggang.com/ ,
http://www.thaimtb.com/