ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ยอมรับความแตกต่าง..เป็นไปได้ยากที่มนุษย์จะมีทิฏฐิเหมือนกัน  (อ่าน 3630 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ยอมรับความแตกต่าง - ธรรมะอินเทรนด์

ยถา  น  สกฺกา  ปฐวี สมายํ
กาตุ  มนุสฺเสน ตถา  มนุสฺสา

เราไม่อาจทำแผ่นดินนี้ให้เรียบเสมอกันได้ ฉันใด
ก็ไม่อาจทำให้มนุษย์ทั้งหลายเหมือนกันได้ทั้งหมด ฉันนั้น

                                                  อมรรตยพจน์ ๒๗/๗๓๑

แผ่นดินนี้ยังมีที่สูงต่ำ  ไม่เรียบร่ำเสมอกันทุกสรรพ์ส่วน
คนทั้งหลายในโลกนี้กี่กระบวน  เธอจะชวนให้เหมือนกันอย่าฝันไป

จงยอมรับความแตกต่างอย่างที่เป็น  อย่าขยายประเด็นให้ยุ่งใหญ่
ความแตกต่างคือความงามความวิไล  คือจิตใจที่เปิดกว้างอย่างรู้ทัน

เพราะโลกมีความแตกต่างระหว่างคน  จึงน่ายลน่าสนุกน่าสุขสันต์
ความแตกต่างช่วยเติมเต็มระหว่างกัน  โลกจึงบรรลุล่วงถึงช่วงชัย

                                                        ว.วชิรเมธี

ขอบคุณบทความและภาพจาก
www.dailynews.co.th/Content/Article/133333/ยอมรับความแตกต่าง+-+ธรรมะอินเทรนด์
http://www.thisismyfuture.org/
http://158.108.70.5/




๖. การันทิยชาดก
ว่าด้วยการทำที่เหลือวิสัย

    [๗๒๗] ท่านผู้เดียวรีบร้อน ยกเอาก้อนหินใหญ่กลิ้งลงไปในซอกภูเขาในป่า
              ดูกรการันทิยะ จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยการทิ้งก้อนหินลงในซอกเขานี้เล่าหนอ.?

     [๗๒๘] ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง
     จักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ซึ่งมีมหาสมุทรสี่เป็นขอบเขตให้ราบเรียบเพียงดังฝ่ามือ
     เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ทิ้งหินลงในซอกเขา.

     [๗๒๙] ดูกรการันทิยะ เราสำคัญว่า
     มนุษย์คนเดียว ย่อมไม่สามารถจะทำแผ่นดินให้ราบเรียบดังฝ่ามือได้
     ท่านพยายามจะทำซอกเขานี้ให้เต็มขึ้น ท่านก็จักละชีวโลกนี้ไปเสียเปล่าเป็นแน่.


     [๗๓๐] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หากว่า
     มนุษย์คนเดียวไม่สามารถจะทำแผ่นดินใหญ่นี้ให้ราบเรียบได้ ฉันใด
     ท่านก็จักนำมนุษย์เหล่านี้ผู้มีทิฏฐิต่างๆ กันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.


     [๗๓๑] ดูกรการันทิยะ ท่านได้บอกความจริงโดยย่อแก่เรา ข้อนั้นเป็นอย่างนี้
     แผ่นดินนี้มนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบเรียบได้ ฉันใด
     เราก็ไม่อาจจะทำให้มนุษย์ทั้งหลายมาอยู่ในอำนาจของเราได้ ฉันนั้น.


     จบ การันทิยชาดกที่ ๖.


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๓๔๕๔ - ๓๔๗๑. หน้าที่ ๑๖๕ - ๑๖๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=3454&Z=3471&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=727
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 13, 2014, 09:45:03 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ลูกศิษย์สอนอาจารย์
(การันทิยชาดก)

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีปรารภพระสารีบุตรผู้ให้ศีลแก่ทุกคนที่ตนพบเห็น แต่ไม่ค่อยมีคนรักษาศีล ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์เมืองพาราณสี มีชื่อว่า การันทิยะ เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มแล้วได้ไปศึกษา ศิลปวิทยาที่เมืองตักกศิลา ได้เป็นหัวหน้าคณะศิษย์อาจารย์ของเขาได้ให้ศีลแก่คนพบเห็นทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาวประมงชาวนา ผู้ไม่ขอศีลเลยว่า "ท่านทั้งหลายจงรับศีล รักษาศีลนะ" ปรากฏว่าคนเหล่านั้นรับศีล เมื่ออาจารย์ทราบเรื่องแล้วก็มักบ่นให้ลูกศิษย์ฟังอยู่เป็นประจำว่า "อ้ายพวกนี้ ไม่รู้จักทำคุณงามความดี รับศีลไปแล้วก็ไม่รู้จักรักษา"

อยู่มาวันหนึ่ง มีชาวบ้านแห่งหนึ่งมาเชิญให้ไปสวดพิธีพราหมณ์ อาจารย์จึงเรียกการรันทิยะมาพบแล้วมอบให้เป็นหัวหน้าคณะไปแทนตน และกล่าวกำชับว่า "การันทิยะ ฉันจะไม่ไปนะ มอบให้เธอเป็นหัวหน้าพากันไป แต่อย่าลืมนำส่วนของฉันมาด้วยละ"


 :welcome: :welcome: :welcome:

เมื่อการันทิยะพาคณะไปแล้วขากลับมาได้พากันนั่งพักผ่อนอยู่ข้างเขาลูกหนึ่งใกล้สำนักเรียน เขาคิดหาวิธีที่จะเตือนสติอาจารย์ให้เลิกให้ศีลคนทั่วไป ให้รู้จักให้ศีลแก่ผู้ที่ขอเท่านั้น เดินไปเห็นซอกเขา ฉุกคิดขึ้นมาได้ จึงจับก้อนหินโยนลงไปที่ซอกเขานั้นพวกศิษย์คนอื่น ๆ ถามว่าทำอะไร ก็ไม่ยอมบอก พวกลูกศิษย์จึงพากันกลับสำนักเรียนไปบอกอาจารย์

      ask1 ask1 ans1 ans1

อาจารย์พอมาถึงก็ถามขึ้นว่า "การันทิยะ จะมีประโยชน์อะไรกับการทิ้งก้อนหินลงไปในซอกเขานี้ เจ้าทำไปทำไม"
การันทิยะตอบว่า "ผมจักทำแผ่นดินให้เรียบเสมอกันดังฝ่ามือครับอาจารย์"
อาจารย์ "ท่านคนเดียวย่อมไม่สามารถถมหุบเหวให้เต็มทำแผ่นดินให้ราบเรียนได้หรอก เกรงว่าท่านตายไปก็ยังทำไม่ได้"
การันทิยะ "ถ้าผมคนเดียวไม่สามารถทำแผ่นดินให้ราบเรียนเสมอกันได้ อาจารย์ก็ไม่สามารถนำมนุษย์ผู้มีทิฏฐิต่าง ๆ กันให้มีศีลธรรมเสมอกันได้เช่นกันนะ ขอรับ"


     :96: :96: :96:

    อาจารย์ได้ฟังแล้วกลับได้สติรู้ว่าตนผิดแล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาว่า
    "การันทิยะ เจ้าได้บอกความจริงแก่เรา ข้อนี้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ แผ่นดินนี้มนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบเรียบได้ ฉันใด เราก็ไม่อาจทำมนุษย์ทั้งหลายให้มาอยู่ในอำนาจของเราได้ฉันนั้น"

    นับตั้งแต่วันนั้น อาจารย์ก็เลิกให้ศีลแก่ผู้ไม่ขอศีล ให้เฉพาะผู้ที่ขอเท่านั้น

    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : คนมีทิฏิฐิต่างกัน พึงเลือกสอนคนที่ควรสอนเท่านั้น เพราะพระพุทธองค์เปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า ๓ พวกแรกสอนได้ พวกหลังสุดปล่อยทิ้งไปเสีย


ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
http://www.dhammathai.org/chadoknt/chadoknt40.php
หมายเหตุ : เรื่องนี้อยู่ใน อรรถกถา การันทิยชาดก ว่าด้วย การทำที่เหลือวิสัย
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=727
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ