(พักกาย-พักใจ) สมัครเข้ารับการอบรมปฏิบัติธรรม เจริญสติปัฏฐาน ๔ เทศกาลวันมาฆบูชา
เเละ (ร่วมตอกเสาเข็มเอก) -สร้างฐานพระประธาน-(13-19 กุมภาพันธ์ 2557 )เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
ขอเชิญเหล่าพุทธบุตร พุทธบริษัท อุบาสก-อุบาสิกา ผู้ใคร่สนในการปฏิบัติตนให้เข้าถึงพุทธธรรม
อันเป็นทางแห่งความสุข ทุกท่านทั่วสารทิศร่วม เข้าปฏิบัติธรรมภาวนา เจริญสติปัฎฐาน ๔ <เเบบพองหนอ-ยุบหนอ> หลักสูตรเบื้องต้น 3-5 วัน เเละหลักสูตรเข้มข้น 7-9 วัน
ในช่วงเทศกาล วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา (วันมาฆบูชา ) พ.ศ. 2557 นี้ เพื่อใช้เวลาวันหยุด ให้เกิดบุญ- เกิดกุศล – ชำระจิตให้ใส- สะอาด - ปราศจาคสิ่งเศร้าหมอง ด้วยการสมัคร เข้ารับการอบรมปฏิบัติธรรม เจริญสติปัฏฐาน ๔ (3 -5-7-9 วัน ตามความเหมาะสมแก่ตัวเอง) (( เหตุใดที่เราต้องเข้าอบรมปฏิบัติธรรม เจริญสติปัฏฐาน ๔ (บทวิเคราะห์)การปฏิบัติธรรมนั้น เป็นการฝึกฝนตนเอง เพื่อลองนำธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ ในพระไตรปิฏก อันมีเนื้อหามากมาย แต่พอจะน้อมนำมาปฏิบัติตามนั้น ต้องเริ่มจากพื้นฐาน แห่งจิตเสียก่อน กล่าวคือ การปรับตัวเองเพื่อรองรับธรรมนั้นสำคัญมาก เพราะว่าธรรมะนั้นถ้าจะให้เราเข้าไปศึกษานั้นค่อนข้างยากมาก เพราะธรรมะแต่ละข้อนั้น พระพุทธองค์ทรงนำมาตรัสแก่
1. ผู้ที่มีอัธยาศัยเหมาะแก่ธรรมนั้น (จริต)
2. ผู้ที่มีบุญบารมีพร้อมจะฟังธรรมจนสำเร็จ (บารมีเต็ม)
3. ผู้ที่จะรับธรรมต้องมีจิตที่พร้อมจะลองรับธรรมนั้น เสียด้วย (สติ สมาธิ)
ดังนั้น สติปัฏฐาน ๔ จึงเป็นการปรับการดำเนินชีวิต ทั้งการยืน เดิน นั่ง นอน ให้เหมาะแก่การรู้ธรรมด้วยการ ยืน, เดิน,นั่ง,นอน อย่างมีสติ การควบคุมภาวะจิตใจ ด้วย สติในกาย เวทนา จิต อารมณ์ทั้งหลาย เมื่อเราควบคุมสติปัฏฐาน แล้ว สิ่งที่เราจะได้รับคือ สมาธิ อันเป็นความสงบแห่งจิต ที่จะลองรับธรรม คือตัวปัญญา อันจะเกิดขึ้นในขณะเราเจริญสมาธิให้มั่นคง เมื่อเราฝึกคนแค่ระดับง่ายๆ คือระดับเตรียม กาย วาจา ใจ ให้พร้อมเสียก่อนก็เป็นเรื่องยากแล้ว ดังนั้น นี่ก็คือเป็นเหตุให้เรา ต้องเข้ารับการฝึกฝนอบรม ปฏิบัติธรรม ให้เราได้เกิดความชำนาญ อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเจริญปัญญา ให้เข้าในสัจธรรมตามแบบพระพุทธศาสนาต่อไปปัญหาสำคัญอย่างไร ?
คำถามนี้หลายคนสงสัย ปัญญาคือตัวแก้ปัญหา (สองคำนี้จะอยู่ตรงข้ามกันเสมอ) ถ้าเรามีปัญหา ปัญญาจะไม่เกิด ถ้าเรามีปัญญาปัญหาจะไม่เกิด เหมือถ้ากลางวันมีแสงสว่างกลางคืนจะมืด เช่าเดียวกัน เมื่อมีสุขก็ย่อมไม่มีทุกข์ สีขามย้อมตรงข้ามสีดำบุญย่อมตรงข้ามกับบาป ดังนั้น ในการดำเนินชีวิตของเรา หลายๆคนประสพกับคำว่าปัญหาอย่างมาก
ในยุคปัจจุบัน ซึ่งหลายคนต้องดิ้นรนแสวงหาปัจจัย เครื่องเลี้ยงชีวิต(ปัจจัย๔) มีอาหาร,ยารักษาโรค,ที่อยู่อาศัย,เครื่องนุ่งห่ม และยังมีเทคโนโลยี ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้เราอีกมากมาย ทีวี ตู้เย็น พัดลม โทรศัพท์ รถยนต์ และอื่นๆอีกมากมาย เมื่อทุกคนแสวงหาปัจจัยเครื่องเลี้ยงชีวิตเพื่อตอบสนองความต้องการของเรา ยิ่งมากกว่า 4 อย่าง ซึ่งเป็นปัจจัยหลังแล้ว ยิ่งมากขึ้น ยิ่งต้องแสวงหามาก ยิ่งทุกข์มาก เพราะการแสวงหามีอุปสรรค ต้องแข่งกับคนอื่น แข่งต่อเวลา สถานที่ บุคคล ต่อสิ่งๆ คำว่าไม่สำเร็จจะเกิดกับปัญหาซึ่งจะตามมาพร้อมทุกข์ ทั้งทุกใจ ทุกข์กาย ภาวะทั้งสองอย่างรวมกัน ทำให้บางคนขนาด ป่วยทั้งกายและป่วยใจ (เกิดปัญหาทางจิตใจ) อันเป็นปัญหาที่จะแก้ได้ก็ต่อเมื่อเข้ามาบำบัด
บางคนบอกว่าถึงกายป่วยใจอย่าป่วย (พระพุทธองค์ตรัสบอกว่า จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว กล่าวคือ ทุกอย่างสำเส็จได้ด้วยใจ ใจเป็นนาย ใจเป็นหัวหน้า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ) ถ้าใจหรือจิตไม่คิด กายจะทำหรือ ถึงขนาดนำการวิเคราะห์นี้มาใช้ในการจับผิดทางการสอบสอนของตำรวจและศาล ว่ามีเจตนาตั้งใจทำผิดไหม จะลงโทษหรือตรวจว่าทำผิดไหม่ ก็จะวิเคราะห์ถึงการกระทำโดยตั้งใจไหม?มีเจตนาไหม? ทำผิดไหม? ทุกองค์กรณ์ก็ใช้การจับผิดทางภาวะจิตใจทั้งนั้น ให้เราได้เห็นว่า ปัญญานั้นสำคัญอย่างมาก พระพุทธศาสนามีแสงสว่างหรือทางออกให้แล้ว
(พระพุทธเจ้าตรัสว่า ...ปัญญา โลกสมิง ปัญโชโต : ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก)อีกทั้งจะลองยกปัญหาในปัจจุบันที่หลายๆท่านกำลังหาทางออกอยู่ อาทิ ปัญหาครอบครัว, ปัญหาอาชีพการทำงานไม่สำเร็จ,ปัญหาการเรียนไม่เก่ง,ปัญหาโรคภัย, ปัญหาเรื่องความรัก ชีวิตต้องมีอุปสรรค์หรือปัญหามากมายนับไม่ถ้วนในแต่ละวัน เพราะต้นเหตุมาจากภาวะทางจิตนั้นเองสำคัญที่สุด เมื่อเรามีแต่ปัญหาผลก็คือความทุกข์ นั้นเองรุมเร้าทุกวัน จนทำให้เกิดโรคปวดหัว ความดัน หน้ามืด โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และอื่นๆมากมายยิ่งเราศึกษาทางโลกยิ่งไม่มีวันจบสิ้นปัญหา ยิ่งนานวันมีแต่ปัญหาจะมากขึ้น เพราะว่าทุกคน หลีกหนีแต่ธรรมะ ไม่เอาธรรมะ ไม่เอาพระพุทธศาสนาเมื่อไม่เอาธรรม ก็ไม่ทำให้เราเข้าใจธรรม ไม่ถึงธรรม ไม่บรรลุธรรม ไม่พ้นทุกข์ ไม่เกิดความสุข ตามพระพุทธศาสนา
ทุกคนอย่างได้ของง่ายๆ ก็เลยจะแนะนำของง่าย (ใครทำงานก็ได้ง่าย) ชื่อก็บอกง่าย แต่ทุกคนคิดยากไป
เพียงแค่เราหยุด หยุดอะไร ?
....ผู้ใดที่หยุด ทางโลกก็จะเห็นทางธรรม ผู้ใดน้อมนำธรรม มาปฏิบิติ..........
....ผู้นั้นก็จะขจัด ตัวปัญหา ผู้ใดหมดตัวปัญหา ก็จะพาสุขเอย.....
(พระพุทธเจ้าตรัสว่า..พระองค์หยุดแล้ว แต่องคุลีมารยังไม่หยุด..)หลายท่านไม่ยอมหยุด บอกว่างานเยาะมาก,ไม่ว่างบ้าง,ไม่มีเวลาบ้าง, ไม่ถึงวัยบ้าง, พลัดวันไปเรื่อยๆ แต่อายุเราไม่หยุดน่ะมากขึ้นทุกวัน ความแข็งแรงน้อยลงไปทุกวัน ความจำน้อยลง แต่เราไหนเราไม่มีวันหยุดให้ตัวเองเลย บางคนต้องรอให้มีงานบวช, งานแต่ง, งานวันเกิด, งานประท้วง ,วันสำคัญของชาติ หรือแม้กระทั่ง มีวันที่เพื่อนหรือญาติมิตรต้องเสียชีวิต ถึงจะหยุดได้ หรือต้องรอให้เราตายก่อนถึงจะมีวันหยุดได้ อย่าเลย
----หยุดมองตัวเองสักนิด ท่านจะเห็น ความสุข หรือทุกข์ภายในใจ----ท่านจะรับสุขหรือทุกข์ก็อยู่ที่เรา จะนำสิ่งใดออกหรือเก็บไว้(จงพิจารณา)
มุ่งหน้า แสวงหาธรรม กันเถอะ (เพราะ ธรรมเท่านั้นถึงจะทำให้เราสุขได้ -ธรรมเท่านั้นถึงจะลิขิตชีวิตให้เราดีได้ –ธรรมเท่านั้นจะคลองโลกให้เกิดสันติสุขได้-ธรรมเท่านั้นจะทำให้เราไปสู่ความสำเร็จได้ ธรรมเท่านั้นจะชนะอาธรรม (ความชั่วร้ายได้) ถ้าไม่เอาธรรมก็ต้องรับอาธรรมเข้าไป เพราะจิตของเราจะปรุงแต่งได้ทีละหนึ่งอย่างถ้าไม่เอาธรรม(ความดีงาม) ก็จะรับอาธรรม (ความชั่วร้าย) / คนที่มีความดีประจำชีวิต หรือธรรม ประจำชีวิต
ผู้นั้นจะทำอะไรก็ดี งานดี มิตรดี เพื่อนดี แฟนดี เงินดี อารมณ์ดี ทุกอย่างดีหมด เพราะเราเป็นคนดี คนดีย่อมทำแต่ดี เพราะวันๆคิดถึงแต่ความดี เมื่อใจคิดกายก็ทำตามคิด เมื่อทำตามที่คิด งานก็สำเร็จตามความดีของตัวเอง/ เห็นหรือยังว่าความดีหรือธรรม นั้นยิ่งใหญ่แค่ไหน (อย่างคิดเลยว่าธรรมไม่สำคัญ) ถ้าไม่สำคัญก็จองอย่างคิดจะได้ดีเพราะความดีนั้นหร่ะคือธรรม
ดังพุทธวจนะของพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า (ธรรมคุ้มคลองโลก 2 อย่าง คือ สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว)รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ทำดี(ธรรม) หรือทำบาป (อาธรรม) ทุกคนอย่างทำดี เพราะอานิสงส์ของความดีคือสุข อานิสงส์ของบาปคือความทุกข์
(มนุษย์ทั้งโลกปรารถณาความสุขหมดทุกคน ตลอดถึงสัพสัตว์น้อยใหญ่ก็ยังปรารถนาความสุขด้วยเช่นกัน)
----ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นคือผู้เห็นซึ่งสัจธรรม ผู้ใดเห็นสัจธรรม ผู้นั้นย่อมเข้าสู่ความสุขที่แท้จริง คือพระนิพพาน----
(คำปรารถเบื้องต้น ก่อนตรัสสินใจปฏิบัติธรรม)
ภูริญาโณ ภิกขุ..(ธรรมบุตร....ที่สุดคือธรรมะ)ที่มา
http://www.dhammathai.org/meditationguide//dbview.php?No=488ภาพจาก
https://www.facebook.com/lamphongdhamma/media_set?set=a.247277945364735.57207.100002475932455&type=1