ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "เป็นที่พึ่งของคนอื่น (แต่) ไม่สามารถเป็นที่พึ่งของตนได้" อุทาหรณ์ของพระเถระ  (อ่าน 2363 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


การบรรลุธรรมของพระเถระ ผู้มีนามว่า มหาสิวะ

    ต่อไปนี้ เป็นนัยในเรื่องโทมนัสนั้น คือ
    ในกรณีนี้ ภิกษุถือเอาธรรมที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง และธรรมที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรอง อันเป็นธรรมที่มีโทมนัสเป็นปัจจัย และธรรมคือมรรคและผลที่เกิดขึ้นมีโทมนัสเป็นปัจจัยนั่นเอง ว่าเป็นโทมนัสเพราะอำนาจเห็นการปฏิบัติของภิกษุเหล่าอื่นแล้วก็มาคิดว่า เมื่อไรหนอแล เราจึงจักเริ่มตั้งวิปัสสนาในโทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรองได้เสียที เมื่อไร เราจึงเริ่มตั้งวิปัสสนาในโทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองได้เสียที และคิดอีกว่า เมื่อไรหนอแล เราจึงจักให้ผลสมาบัติในโทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรองเกิดได้เสียที เมื่อไรเราจึงจักให้ผลสมาบัติในโทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองเกิดได้เสียที

     แล้วก็ถือข้อปฏิบัติตลอดสามเดือน หกเดือน หรือเก้าเดือน เมื่อถือข้อปฏิบัติตลอดสามเดือน ในเดือนแรกเดินเสียหนึ่งยาม สองยามทำโอกาสแก่การหลับ ในเดือนกลางเดินเสียสองยาม ทำโอกาสแก่การหลับหนึ่งยาม ในเดือนสุดท้ายให้ร่างกายเป็นไปด้วยการเดินจงกรมและการนั่งเท่านั้นเอง ถ้าแบบนี้ บรรลุพระอรหัตนั้นก็ดีไป.

     ถ้าไม่บรรลุ เธอก็ถือข้อปฏิบัติประเภท ๖ เดือน ให้วิเศษ (ขึ้นไปอีก) แม้ในข้อปฏิบัติประเภท ๖ เดือนนั้น ทุกสองเดือนๆ ก็ปฏิบัติตามนัยที่กล่าวแล้ว เมื่อไม่สามารถสำเร็จพระอรหัตได้ ก็ยึดหลักปฏิบัติชนิดเก้าเดือนให้วิเศษ (ยิ่งขึ้นไปอีก) แม้ในหลักปฏิบัติชนิดเก้าเดือนนั้น ทุกสามเดือนๆ ก็ปฏิบัติอย่างนั้นแหละ เมื่อไม่สามารถบรรลุความเป็นพระอรหันต์ได้ (และ) เมื่อพิจารณาว่า โอ้หนอ! เราไม่ได้ปวารณาแบบวิสุทธิปวารณา พร้อมกับพวกเพื่อนพรหมจรรย์เสียแล้ว ความโทมนัสก็ย่อมเกิดขึ้น. สายน้ำตาก็ไหลพรู เหมือนสายน้ำตาของพระมหาสิวเถระผู้อยู่ที่เงื้อมเขาท้ายหมู่บ้าน.

      ans1 ans1 ans1

     พระเถระเป็นที่พึ่งของคนอื่น (แต่) ไม่สามารถเป็นที่พึ่งของตนได้
     เล่ากันว่า พระเถระสอนหมู่ใหญ่ ๑๘ หมู่ พวกภิกษุสามหมื่นรูปตั้งอยู่ในโอวาทของท่านบรรลุอรหัตแล้ว.
     ต่อมา มีภิกษุรูปหนึ่งมารำพึงว่า ภายในตัวเราก่อน มีคุณประมาณไม่ได้ คุณของอาจารย์เราเป็นอย่างไรหนอแล กำลังรำพึงอยู่ก็เห็นความเป็นปุถุชน จึงคิดว่า อาจารย์พวกเราเป็นที่พึ่งของคนเหล่าอื่น (แต่) ไม่สามารถเพื่อจะเป็นที่พึ่งของตนได้ เราจะให้โอวาทแก่ท่าน แล้วก็เหาะมาลงใกล้วัด เข้าไปหาอาจารย์ผู้นั่งในที่พักกลางวัน แสดงวัตรแล้ว ก็นั่งในที่ควรส่วนหนึ่ง.

     พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร คุณมาเพราะเหตุไร.
     ภิกษุ.    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นผู้มาแล้ว ด้วยคิดว่า จักเอาอนุโมทนาสักบทหนึ่ง.
     เถระ.    คงจะไม่มีโอกาสหรอกคุณ
     ภิกษุ.    ท่านขอรับ กระผมจะเรียนถามในเวลายืนที่โรงตรึก
     เถระ.    ในที่นั้น พวกคนอื่นก็จะถาม.
     ภิกษุ.    ในทางเที่ยวบิณฑบาตล่ะ ขอรับ.
     เถระ.    แม้ในทางนั้น พวกคนอื่นก็จะถาม.
     ภิกษุ.    ในที่นุ่งผ้าสองชั้น ในที่ห่มสังฆาฏิ ในที่นำเอาบาตรออกในเวลาเที่ยวไปในหมู่บ้าน แล้วดื่มข้าวต้มในโรงฉันล่ะขอรับ.
     เถระ.    ในที่นั้นๆ ก็จะมีพวกเถระทางอรรถกถาบรรเทาความสงสัยของตน.
     ภิกษุ.    กระผมจะเรียนถามในเวลาออกจากภายในหมู่บ้าน ขอรับ.
     เถระ.    แม้ในที่นั้น ก็จะมีคนพวกอื่นถาม คุณ.
     ภิกษุ.    ท่านขอรับ ในระหว่างทาง ท่านขอรับ ในเวลาเสร็จการฉันในโรงอาหาร ท่านขอรับ ในเวลาล้างเท้า ในเวลาล้างหน้า ในที่พักกลางวัน.
     เถระ.    ตั้งแต่นั้นไปจนถึงสว่าง ก็จะมีพวกอื่นอีกถาม คุณ.
     ภิกษุ.    ในเวลาเอาไม้สีฟันแล้วไปสู่ที่ล้างหน้า ขอรับ.
     เถระ.    ตอนนั้น พวกอื่นก็จะถาม.
     ภิกษุ.    ในเวลาล้างหน้าแล้วมาล่ะ ขอรับ.
     เถระ.    แม้ในตอนนั้น พวกอื่นก็จะถาม.
     ภิกษุ.    ในเวลาเข้าเสนาสนะแล้วนั่งล่ะ ขอรับ.
     เถระ.    แม้ในตอนนั้น พวกอื่นก็จะถาม.
     ภิกษุ.    ท่านขอรับ มันน่าจะเป็นโอกาสและเวลาของพวกผู้ที่ล้างหน้า เสร็จแล้วเข้าสู่เสนาสนะ ให้สามสี่บัลลังก์ได้รับความอบอุ่นแล้ว ทำงานด้วยความเอาใจใส่อย่างมีเหตุผลมิใช่หรือ
     ท่านขอรับ ท่านจะไม่ได้แม้แต่ขณะแห่งความตาย ท่านจงเป็นเหมือนแผ่นกระดานเถิด ขอรับ
     ท่านจงเป็นที่พึ่งของคนอื่นเถิด ขอรับ ท่านไม่อาจเพื่อจะเป็นที่พึ่งของตน กระผมไม่มีความต้องการ ด้วยการอนุโมทนาของท่าน ว่าแล้วก็ได้เหาะไปในอากาศ.



    พระเถระหลีกเร้นออกไปปฏิบัติกัมมัฏฐาน
    พระเถระทราบว่า งานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนของภิกษุรูปนี้ไม่มี แต่เธอมาด้วยคิดว่า จะเป็นผู้สั่งสอนเรา แล้วคิดว่า บัดนี้จะไม่มีโอกาส เวลาใกล้รุ่งเราจะไป แล้วก็เก็บบาตรจีวรไว้ใกล้ๆ สอนธรรมตลอดยามต้น และยามกลางคืนยังรุ่ง ขณะที่พระเถระรูปหนึ่งเรียนอุทเทศแล้วจะออกไปในยามสุดท้าย ก็ถือบาตรจีวรออกไปด้วยกันกับพระเถระนั้นนั่นเอง พวกศิษย์ (อันเตวาสิก) ที่นั่งเข้าใจว่า อาจารย์ออกไปด้วยธุระบางอย่างนานแล้ว. พระเถระที่ออกไปก็ทำความเข้าใจว่า เป็นภิกษุที่ร่วมอาจารย์กันบางรูปนั่นเอง.

    ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า ชื่อว่าความเป็นพระอรหันต์สำหรับคนชั้นเรา จะอะไรหนักหนาเล่า แค่สองสามวันเท่านั้นแหละ ก็จะสำเร็จแล้วจึงจะกลับมา ดังนี้ จึงไม่บอกพวกลูกศิษย์เลย ในวันขึ้นสิบสามค่ำเดือนแปดไปสู่เงื้อมเขาท้ายหมู่บ้าน เมื่อขึ้นสู่ที่จงกรมแล้ว เอาใจใส่กัมมัฏฐาน ในวันนั้นยังถือเอาพระอรหัตตผลไม่ได้

     :sign0144: :sign0144: :sign0144:

    สามเดือนไม่บรรลุร้องไห้
    เมื่อถึงวันอุโบสถ ก็คิดว่า เรามาแล้วด้วยคิดว่า โดยสองสามวัน เราจะเอาพระอรหัตตผลให้ได้ ก็ยังเอาไม่ได้ สามเดือนก็เหมือนสามวันนั่นแหละ คอยถึงวันมหาปวารณาก่อนจะรู้ ถึงเข้าพรรษาแล้วก็ยังเอาไม่ได้   
    ในวันปวารณา ท่านคิดว่า เรามาแล้วด้วยคิดว่า โดยสองสามวัน เราจะเอาพระอรหัตตผลให้ได้ นี่ก็ตั้งสามแล้ว ก็ยังไม่สามารถจะเอาได้ ส่วนพวกเพื่อนพรหมจรรย์จะปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณากัน เมื่อท่านคิดอย่างนั้น สายน้ำตาก็หลั่งไหล.


     :41: :41: :41:

    ผ่านไป ๒๙ พรรษาก็ยังไม่บรรลุ
    จากนั้น ท่านคิดว่า มรรคผลจะไม่เกิดขึ้นเพราะอิริยาบถ ๔ ของเราบนเตียง ถ้าเดี๋ยวนี้ยังไม่บรรลุพระอรหัตตผล เราจะไม่ยอมเหยียดหลังบนเตียงอย่างเด็ดขาด จะไม่ยอมล้างเท้า แล้วก็ให้ยกเอาเตียงไปเก็บไว้ภายใน พรรษาก็ถึงอีก. ท่านก็ยังเอาพระอรหัตตผลไม่ได้ตามเคย สายน้ำตาก็หลั่งไหล ในวันปวารณายี่สิบเก้าครั้ง.

    พวกเด็กในหมู่บ้านพากันเอาหนามมากลัดที่ที่แตกในเท้าทั้งสองข้างของพระเถระ.
    แม้เมื่อจะพากันเล่น ก็เล่นเอาว่า ขอให้เท้าทั้งสองข้างจงเป็นเหมือนเท้าของพระคุณเจ้ามหาสิวเถระเถิด.
    ในวันมหาปวารณาปี (ที่) สามสิบ พระเถระยืนยึดแผ่นกระดานสำหรับพิง คิดว่า เมื่อเราทำสมณธรรมมาตั้งสามสิบปีเข้านี้แล้ว เราก็ไม่สามารถสำเร็จพระอรหัตตผลได้ ในอัตภาพของเรานี้ มรรคหรือผลย่อมไม่มีเป็นแน่ เราไม่ได้ปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณากับเพื่อนพรหมจรรย์แล้ว. และก็เมื่อท่านคิดอยู่อย่างนั้น ก็เกิดโทมนัสขึ้นมา สายน้ำตาก็หลั่งไหล.



    เทพธิดามาเยาะเย้ย พระเถระได้สติบรรลุอรหัต
     ขณะนั้น ในที่ใกล้ๆ มีเทพธิดาองค์หนึ่ง กำลังยืนร้องไห้อยู่.
     เถระ.    ใครร้องไห้ที่นี้.
     เทพธิดา.    ดิฉัน นางเทพธิดา เจ้าค่ะ.
     เถระ.    ร้องไห้ทำไม.
     เทพธิดา.    เมื่อมรรคผลกำลังเกิด เพราะการร้องไห้ ดิฉันคิดว่า แม้เราก็จะให้เกิดมรรคผลหนึ่ง (หรือ) สอง จึงร้องไห้เจ้าค่ะ.
     จากนั้น พระเถระก็คิดว่า นี่แน่ะ มหาสิวะ แม้แต่เทพธิดาก็ยังมาเยาะเย้ยเธอได้ นี่มันควรแก่เธอหรือหนอ
    แล้วก็เจริญวิปัสสนา ได้ถือเอาความเป็นพระอรหันต์พร้อมกับปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว.


      :25: :25: :25:

     ลูกศิษย์ ๓๐,๐๐๐ รูปเหาะมา ขอล้างเท้าพระเถระ
     ท่านคิดว่า บัดนี้ เราจะนอน แล้วก็จัดแจงเสนาสนะ ปูลาดเตียง ตั้งน้ำในที่น้ำ คิดว่า เราจะล้างเท้าทั้งสองข้าง แล้วก็นั่งลงที่ขั้นบันได.

     แม้พวกศิษย์ของท่าน ก็พากันคิดอยู่ว่า เมื่ออาจารย์ของเราไปทำสมณธรรมตั้งสามสิบปี ท่านอาจทำคุณวิเศษให้เกิดได้หรือไม่อาจ เห็นว่าท่านสำเร็จพระอรหัตแล้ว นั่งลงเพื่อล้างเท้า จึงต่างก็คิดว่า อาจารย์พวกเรา เมื่อพวกศิษย์เช่นพวกเรายังอยู่ คิดว่า จะล้างเท้าด้วยตนเองนี้ไม่ใช่ฐานะ เราจะล้าง เราจะล้าง
     แล้วทั้ง ๓๐,๐๐๐ รูปต่างก็เหาะมาไหว้ แล้วกราบเรียนว่า กระผมจะล้างเท้าถวาย ขอรับ.
     ท่านห้ามว่า คุณ ฉันไม่ได้ล้างเท้ามาตั้งสามสิบปีเข้านี่แล้ว พวกคุณไม่ต้องฉันจะล้างเอง.


     st11 st11 st11

    ท้าวสักกะมาล้างเท้าให้พระเถระ
     แม้ท้าวสักกะก็ทรงพิจารณาว่า พระคุณเจ้ามหาสิวะเถระของเรา สำเร็จพระอรหัตแล้ว เมื่อพวกศิษย์สามหมื่นรูปมาแล้วด้วยคิดว่า พวกเราจะล้างเท้าทั้งหลายถวาย ก็ไม่ให้ล้างเท้าให้ ก็เมื่ออุปัฏฐากเช่นเรายังมีอยู่ พระคุณเจ้าคิดว่าจะล้างเท้าเองนี่เป็นไปไม่ได้ แล้วทรงตัดสินพระทัยว่า เราจะล้างถวายจึงพร้อมด้วยสุชาดาเทวีได้ทรงปรากฏในสำนักของหมู่ภิกษุ.

     ท้าวเธอทรงส่งนางสุชาดาผู้เป็นอสุรกัญญาล่วงหน้าไปก่อน ให้เปิดโอกาสว่า ท่านเจ้าขา พวกท่านจงหลีกไป โปรดให้โอกาสผู้หญิง แล้วทรงเข้าไปหาพระเถระ ไหว้แล้วนั่งกระหย่งต่อหน้าตรัสว่า ท่านขอรับ กระผมจะล้างเท้าถวาย.
     พระเถระตอบว่า โกสีย์ อาตมภาพไม่เคยล้างเท้ามาตั้งสามสิบปีเข้านี่แล้ว และแม้โดยปกติชื่อว่ากลิ่นตัวคนเป็นของน่าเกลียดสำหรับพวกเทพ แม้อยู่ไกลตั้งร้อยโยชน์ เหมือนเอาซากศพมาแขวนคอ อาตมภาพจะล้างเอง.


     st12 st12 st12

    กลิ่นศีลไปไกลถึงภวัคคพรหม
    ตรัสตอบว่า ท่านขอรับ ชื่อว่ากลิ่นอย่างนี้ไม่ปรากฏ เพราะว่ากลิ่นศีลของท่านเลยเทวโลกหกชั้นไปตั้งอยู่สูงถึงชั้นภวัคคพรหมในเบื้องบน ไม่มีกลิ่นอื่นที่ยิ่งไปกว่ากลิ่นศีล
    ท่านขอรับ กระผมมาเพราะกลิ่นศีลของท่าน แล้วก็ทรงเอาพระหัตถ์ซ้ายจับข้อต่อตาตุ่ม แล้วเอาพระหัตถ์ขวาลูบฝ่าเท้า. เท้าของท่านก็เป็นเหมือนกับเท้าของเด็กหนุ่มขึ้นมาทันที.
    ครั้นท้าวสักกะทรงล้างเท้าถวายเสร็จแล้วก็ทรงไหว้ แล้วเสด็จไปสู่เทวโลกตามเดิม.


อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค สักกปัญหสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=247&p=2
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=5727&Z=6256
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ