ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ราชมงคลตะวันออก' ถวายโบสถ์ดินสักการะสมเด็จพระญาณสังวร  (อ่าน 1048 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


'ราชมงคลตะวันออก' ถวายโบสถ์ดินสักการะสมเด็จพระญาณสังวร

เมื่อวันที่ 24 ต.ค.2556 เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์ เนื่องจากการการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต  ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2556 เวลา 19.30 นาฬืกา นั้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย  ขอน้อมส่งเสด็จสมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  และน้อมรำลึกโดยจัดทำโครงการอุเทนอาสาพัฒนาโบสถ์ดินแบบบดอัดถวายสมเด็จพระสังฆราช เนื่องในโอกาสเจริญพระชันษา 100 ปี  ยึดแนวทางตามพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง  สร้างพระอุโบสถจากดิน ถวายวัดทับทิมสยาม อำเภอบ่อไร่  จังหวัดตราด  โดยระดมคณาจารย์  และนักศึกษาอุเทนฯ กว่า 60 ชีวิต เนรมิตรโบสถ์ดิน ในเวลา 26 วัน

โบสถ์ดินเป็นโครงการที่สำนักเลขานุการสมด็จพระสังฆราช ได้จัดทำโครงการสร้างพระอุโบสถ์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่เจ้าประคุณสมเด็จพระญานสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก  ทั้งนี้สำนักเลขานุการฯ ได้นำโครงการดังกล่าวมอบให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก  วิทยาเขตอุเทนถวาย  เนื่องจากเห็นว่ามหาวิทยาลัยฯ เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง    ในสาขาวิชาทางด้านงานก่อสร้าง  และมีความพร้อมทางด้านวิชาการ บุคลากร และมีประสบการณ์ในงานก่อสร้างสามารถก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมได้  จึงได้มอบหมายงานนี้ให้คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์  เป็นเจ้าของโครงการ ฯ


 :96: :96: :96:

คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ อาจารย์ทองพูล ทองสีเพชร ได้กล่าวถึงจุดเริ่มของโครงการอุเทนอาสาพัฒนาโบสถ์ดินแบบบดอัดถวายสมเด็จพระสังฆราชว่า สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้จัดทำโครงการสร้างพระอุโบสถ์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  ตามแนวพระราชดำริ  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และเพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระญานสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก  ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 99 พรรษา  ในครั้งแรกมีโครงการสร้าง  4 โบสถ์ 4 ภาค แล้วจึงได้ขยายเป็น 9 โบสถ์ในเวลาต่อมาว่า  โดยสาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมสถาปัตยกรรมศาสตร์  ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของโครงการ  มีผู้ช่วยศาสตราจารย์วิทวัส  สิทธิกูล เป็นหัวหน้าโครงการการก่อสร้าง การควบคุมงาน ร่วมทั้งหาผู้มีจิตศรัทธาสนับสนุนการก่อสร้างโบสถ์ดิน วิทยาเขต  อุเทนฯ

เริ่มได้โครงการครั้งแรกสร้างโบสถ์ดินถวายวัดบุเจ้าคุณ  จังหวัดนครราชสีมา วัดสันติวรคุณ  จังหวัดสงขลา  วัดตัวอย่าง  จังหวัดสระบุรี  และหลังที่สี่คือสร้างถวายวัดทับทิมสยาม อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด  เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระสังฆราช เนื่องในโอกาสเจริญพระชันษา 100 ปี  สำหรับการก่อสร้างครั้งนี้ใช้แรงงานเป็นนักศึกษาของวิทยาเขตอุเทนฯ  จำนวน 60 คน  ในโครงการออกค่ายอาสาประจำปี 2556  โดยกำหนดช่วงปิดภาคการศึกษา  เริ่มตั้งแต่วันที 1-26  ตุลาคม 2556  และโบสถ์ดินหลังนี้จะใช้เวลาในการก่อสร้างเพียง 26 วันเท่านั้น  ซึ่งวิทยาเขตฯ มีความภาคภูมิใจ ที่ได้ทำงานถวายสมเด็จพระสังฆราชฯ เป็นอย่างมาก

 :25: :25: :25:

สำหรับบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญในโครงการนี้  ที่ต้องกล่าวถึงคือหัวหน้าโครงการ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิทวัส สิทธิกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา  คณะวิศวกรรมสถาปัตยกรรมศาสตร์  ในฐานะผู้เป็นเจ้าของแนวคิดการออกแบบผู้ควบคุมงานก่อสร้าง และนำนักศึกษาไปออกค่ายอาสาฯ สร้างโบสถ์ดิน  หลังที่ 4 ที่สร้างถวายวัดทับทิมสยาม จังหวัดตราด

อาจารย์วิทวัส  สิทธิกูล ได้กล่าวถึงโครงการนี้ว่า  รู้สึกดีใจมากที่ได้รับโอกาสในการสร้างโบสถ์ดินหลังที่ 4 ถวายสมเด็จพระสังฆราช  เป็นความภาคภูมิใจอย่างมากที่ได้นำความรู้ทางด้านวิศวกรรมโยธา มาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างงานให้กับสังคมในการสืบทอดพระพุทธศาสนา  และร่วมฉลอง 100 พรรษาสมเด็จพระสังฆราชของเราชาวไทย  ตนเองเป็นหัวหน้าโครงการนี้  ได้นำความรู้ทางวิชาการที่ได้จากการสอน การทำวิจัย และประสบการณ์  มาสร้าง และออกแบบโครงสร้างโบสถ์ดิน  ร่วมทั้งพิจารณาเลือกวัสดุดินที่จะมาใช้ในการก่อสร้าง

พระอุโบสถ์ดินหลังนี้ออกแบบแตกต่างจาก 3 โบสถ์แรก  เป็นการผสมผสานความคิดจากพระอุโบสถวัดหลวง 3 วัด คือพระอุโบสถ์วัดพระรามเก้า วัดราชาธิวาส นครปฐม และวัดเฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี  โดยการก่อสร้างครั้งนี้มีการนำข้อดี ข้อเสียจากการสร้างโบสถ์ดิน 3 หลังแรกมาปรับปรุงให้ดีขึ้น ใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบใหม่ด้วยเทคนิคก่อสร้างโบสถ์ดินแบบบดอัด (Rammed Earth)  โครงสร้างโดยรวมของพระอุโบสถ์หลังนี้คือยึดสถาปัตยกรรมเน้นความสะดวกตามแบบ Universal Design ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม   ที่จะให้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนาได้อย่างเท่าเทียมกัน


 st11 st11 st11

จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของโบสถ์ดินหลังนี้นอกจากการสร้างจากดินแล้ว คือ มีทางลาดสำหรับรถเข็น (Wheel Chair) ของผู้สูงอายุและคนพิการสามารถขึ้นถึงภายในตัวโบสถ์เพื่อมากราบไหว้พระประธานได้   พื้นโบสถ์เจาะช่องเป็นหลุมๆ  สำหรับหย่อนขาพร้อมเก้าอี้ทรงเตี้ยและพนักพิง อำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ เพื่อมิให้นั่งสูงเกินกว่าพระสงฆ์  แต่ยังคงมีลักษณะเป็นโบสถ์ดินแบบดินอัด ขนาดของพระอุโบสถ์มีขนาดไม่ใหญ่มากเหมือนโบสถ์ทั่วไป แต่ไม่เล็กมากเกินไป เหมาะสำหรับพระสงฆ์ประกอบสังฆกรรมได้  ขนาดความกว้างประมาณ 6.85 เมตร ความยาว 15.35 เมตร  ความสูงจากพื้นดินถึงยอด ประมาณ 11.70 เมตร  ผนังโบสถ์ใช้ระบบดินแบบบดอัดมี ความหนาประมาณ 39 เซนติเมตร  ในส่วนของวัสดุดินที่นำมาก่อสร้างเป็นการผสมปูนซีเมนต์ ดินลูกรัง         

ดินที่นำมาก่อสร้างล้วนเป็นดินในท้องถิ่นนี้  ด้วยอัตราส่วน 1: 7 โดยปริมาตร ซึ่งมีความแข็งแรงเทียบเท่าอิฐบล็อกประสาน (100 KSC ) ใช้ดินลูกรัง ประมาณ 120 ลูกบาศก์เมตร  ส่วนผนังไม่งานการฉาบปูน ทาสี  เพราะมีสีดินธรรมชาติท้องถิ่นที่สวยงามอยู่แล้ว   ในส่วนของประตู และหน้าต่าง ใช้แผ่น VIVA BOARD ใช้เป็นเป็นโครงสร้างกรอบบาน  ผังลงไปขณะก่อสร้างพร้อมการบดอัดผนังโบสถ์   ในส่วนของกรอบบานประตู-หน้าต่าง  ใช้แผ่น VIVA BOARD ใช้เป็นเป็นโครงสร้างกรอบบาน  แต่มีการเสริมโครงไม้ให้แข็งแรงมากขึ้น โครงหลังคาเหล็ก และวัสดุมุงหลังคาด้วยไม้สน Cedar จาก Cannada


 st12 st12 st12

กับคำถามที่ว่าโบสถ์ดินที่สร้างนี้มีความแข็งแรงเพียงไร  อาจารย์วิทวัส  สิทธิกูล กล่าวว่า  คำถามนี้เป็นคำถามที่ถูกถามบ่อย  เมื่อพานักศึกษาออกค่ายอาสาฯ เพราะชาวบ้านต่างมีความสงสัยและคาดหวัง  ต้องการโบสถ์ที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ  มีมาตรฐานสูงกว่าอาคารทั่วๆไป จากการศึกษา  มีอาคารมากมายที่สร้างจากดิน เช่น อาคารในประเทศจีน ตะวันออกกลาง อินเดีย และอีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงใช้งานได้อยู่

จากการนำดินลูกรังมาศึกษาในห้องปฏิบัติการที่อุเทนถวาย  ได้ทำการออกแบบส่วนผสม  ระหว่างซีเมนต์ผสมดินลูกรัง ด้วยอัตราส่วนต่างๆ หลังจากหล่อแท่งตัวอย่าง เมื่ออายุ 28 วัน แล้วนำมาทดสอบกำลังอัด ผลตามสรุปได้ว่า ถ้านำสูตรส่วนผสมนี้ไปสร้างอาคารดินแบบบดอัด  โครงสร้างอาคารมีความแข็งแรงดีอย่างเพียงพอ ซึ่งมีค่าความแข็งแรงมากกว่าอิฐที่ใช้ในงานก่อสร้างทั่วๆไป เช่น อิฐมอญ อิฐบล็อก อิฐมวลเบา และ อิฐบล็อกประสาน

 :49: :49: :49:

อาจารย์วิทวัส ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การก่อสร้างครั้งนี้ดีใจที่สุดที่แรงงานทั้งหมดเป็นนักศึกษาของวิทยาเขตอุเทนถวาย  ที่ร่วมกันมาออกค่ายอาสา จำนวน 60 คน และมีระยะเวลาในการก่อสร้างที่สั้นและรวดเร็วที่สุดเพียง 26 วัน คือเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 26 ตุลาคม 2556  อีกทั้งในวันสุดท้ายที่ถือว่าเสร็จสิ้นโครงการก่อสร่างโบสถ์ดิน  ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จะถือฤกษ์นี้  นำผ้าพระกฐินพระราชทานมาทอดถวายที่วัดทับทิมสยามนี้ด้วย

พระอุโบสถ์ดินหลังนี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมไทยใหม่ที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมพระอุโบสถของไทยที่ก่อสร้างจากดินบนแผ่นดินไทย  อีกทั้งยังเป็นความร่วมมือ ร่วมใจกันอย่างน่าชื่นชมระหว่างมหาวิทยาลัย  อาจารย์  และนักศึกษา  ท่านใดสนใจร่วมบริจาคทุนทรัพย์เพื่อสมทบทุนการก่อสร้าง  หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี  ราชมงคลตะวันออก สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตบางพระ หมายเลขโทรศัพท์ 038 358 201,08 9169 9939


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140302/180054.html#.UxNj2M49S4k
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ