ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ปั้นเนยบูชา' สักการะพระศพ 'สมเด็จพระสังฆราช'  (อ่าน 1438 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


'ปั้นเนยบูชา' สักการะพระศพ 'สมเด็จพระสังฆราช'

นี่คือครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการจัดพิธี "วัชรยานบูชา" เต็มรูปแบบ ตามโบราณประเพณีของพระลามะ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อบำเพ็ญกุศลพระศพ "สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" โดยรัฐบาลอินเดีย สะท้อนความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาติและศาสนาพุทธทั้ง 2 นิกาย...

"วัชรยานบูชา" คือ พิธีที่พระลามะจากอินเดียจัดถวาย เพื่อบำเพ็ญกุศลพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก





ชิ้นงานเนยปั้น 14 ชิ้น ทำจากเนยประมาณ 3 กิโลกรัม ที่พระลามะใช้เวลา 3 วัน บรรจงปั้นเนยที่ทำจากนมจามรีผสมสีน้ำมันให้มีสีสันต่างๆ ประดิดประดอยเป็นเรื่องราวพุทธชาดก ที่แฝงคุณธรรมเรื่องความสามัคคี ที่สัตว์นานาชนิดอยู่รวมกันได้อย่างสงบสุข เพราะมีความรักใคร่กลมเกลียว และยังสะท้อนถึงความงาม ความเพียร ความตั้งใจของพระจากแดนหิมาลัย ที่มีต่อสมเด็จพระสังฆราช

"ท่านลามะแต่ละรูป กว่าจะได้ศิลปะแต่ละอันมานั้น ได้มาด้วยความยากลำบาก เพราะต้องเข้าเรียนกันเป็นปีๆ" พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ เลขานุการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวถึงความพยายามของพระลามะในการปั้นเครื่องบูชาสักการะเนย




การปั้นเครื่องบูชาสักการะเนย เป็นพุทธศิลป์โบราณทางหิมาลัย เป็นเครื่องบูชาตามประเพณีของพุทธนิกายวัชรยาน ที่ทำขึ้นใช้บูชาแทนดอกไม้ เพราะสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ไม่มีต้นไม้ดอกไม้มากนัก ซึ่งผู้ที่ปั้นเนยได้งดงามจะต้องผ่านการฝึกฝนนับปี และที่สำคัญจะทำในโอกาสพิเศษเท่านั้น

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ กล่าวอีกว่า "ปกติจะหาดูได้ยาก จะทำเฉพาะเทศกาลสำคัญๆ ที่ทำบ่อยที่สุด คือ เทศกาลปีใหม่ หรือไม่ต้องเป็นงานที่ผู้ใหญ่สิ้น หรืองานวันเกิดผู้ใหญ่ ที่ต้องแสดงความเคารพอย่างสูงสุดจริงๆ ฉะนั้น การที่ท่านทั้งหลายทำวันนี้ ไม่ใช่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ"




นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่า เนยที่ผ่านการบูชาแล้วเป็นของศักดิ์สิทธิ์ สามารถนำมาทาบาดแผลให้หาย หรือไปละลายเป็นน้ำมันผสมในยาทานแก้โรคได้ด้วย

G.Balabubramanian อุปทูตอินเดีย บอกว่า "สมด็จพระสังฆราชเสด็จไปอินเดียบ่อยครั้ง ในโอกาสนี้พระลามะจึงมาจัดพิธีน้อมถวายบูชาบำเพ็ญกุศลพระศพด้วยความตั้งใจ"

แม้การจัดพิธีวัชรยานบูชาเต็มรูปแบบนี้ จะจัดเป็นครั้งแรกในประเทศไทย แต่ก็บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ทางศาสนา ที่สมเด็จพระสังฆราชมีต่อพระลามะ ซึ่งเป็นเหมือนสายใจที่เชื่อมโยงผู้คน ศาสนา และวัฒนธรรมของไทยกับอินเดียเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน

พิธีกรรมเสร็จสิ้นลง แต่เครื่องบูชาสักการะเนยที่ถูกปรุงแต่งสี ปั้นขึ้น และจะละลายนั้น ยังคงฝากหลักคิดสะท้อนอนิจจธรรมได้ดีในเรื่อง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของมนุษย์ที่ไม่อาจปฏิเสธได้.




ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/411593
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: 'ปั้นเนยบูชา' สักการะพระศพ 'สมเด็จพระสังฆราช'
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 23, 2014, 11:18:19 am »
0
ธรรมเนียมของลามะ ธิเบต ก็มีการสร้าง มันดารา ด้วยฝุ่น ในช่วงที่สร้าง ลามะทุกองค์ จะขมักเขม้นตั้งใจทำอย่างสวยงาม แต่ เมื่อเสร็จแล้ว เขาจะทำลายด้วยการกวาด ผสมกลมกลืน กลายเป็นผืนทรายไป

  เขาบอกว่า มีปริศนาธรรม อยู่หลายอย่าง

  แต่ส่วนตัว มองไปแล้ว ถึงแม้ปริศนาธรรม จะแสดงเรื่อง สามัญญลักษณะ ก็ตามแต่ถึงคิดได้ ก็ไม่สำเร็จธรรมเพราะแนวคิดนี้ เพราะเป็นการใช้ปัญญาล้วน ๆ ในการทำ ธรรมวิจยะ เหมือนประหนึ่งความตั้งใจ ปั้นแต่ง ก็คือการใส่สังขารธรรม ในขณะนั้น เมื่อจิตประกอบด้วยสังขารธรรม ก็คือไม่ว่าง แม้จะแสดง ข้อความ ปรมัตถ์ แล้วก็ตาม ก็ยังถูกครอบงำด้วยความปรารถนา การปลดปล่อย จึงควรทำลาย สังขตธรรมนั้น ดังนั้นเข้าใจว่า คนที่ทำคนแรก น่าจะได้เห็นธรรม บางอย่าง หรือ เต็ม จึงได้ทำลาย มันดารา นั้น แต่เมื่อเป็นธรรมเนียม ต่อศิษย์มา สิ่งเหล่านี้ จักสื่อความหมาย ต่อคนรุ่นหลังอย่างไร

   ดังนั้น มรรค ที่ปรากฏเป็นข้อความในพระไตรปิฏก จึงน่าจะดีกว่า แบบนี้

   st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ