ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นิพพานปรมัตถ์ คำตอบของ "จิตปภัสสร"  (อ่าน 6675 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
นิพพานปรมัตถ์ คำตอบของ "จิตปภัสสร"
« เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 02:01:42 pm »
0
นิพพานปรมัตถ์

นิพพานเป็นโลกุตตรธรรม เป็นธรรมที่เหนือโลก เป็นธรรมที่ออกจากตัณหา ที่เป็นเครื่องร้อยรัดสัตว์ทั้งหลายให้วนเวียนเกิดตายอยู่ในสังสารวัฏไม่จบไม่สิ้น
 
นิพพานเมื่อว่าโดยสภาวะลักษณะแล้ว มีอย่างเดียวได้แก่ สันติลักษณะ คือ ความสงบจากกิเลสและขันธ์ทั้งหลาย นอกจากนี้นิพพานยังมีอีกหลายนัย กล่าวคือ

นิพพาน มี ๒ นัยก็มี นิพพานมี ๓ นัยก็มี

นิพพานเมื่อกล่าวโดย ๒ นัย คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน
คือ นิพพานที่ยังมีขันธ์เหลืออยู่ (ได้แก่ พระอรหันต์ที่บรรลุพระนิพพานแล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่)


๒. อนุปาทิเสสนิพพาน
คือ นิพพานที่ไม่มีขันธ์เหลืออยู่ (ได้แก่ พระอรหันต์ที่บรรลุพระ นิพพานแล้ว และดับขันธ์ทั้งหลายหมดสิ้นแล้ว)


นิพพานเมื่อกล่าวโดย ๓ นัย คือ
๑. สุญญตนิพพาน
๒. อนิมิตตนิพพาน
๓. อัปปณิหิตนิพพาน

๑. สุญญตนิพพาน
คือพระนิพพานของบุคคลที่เจริญวิปัสสนาโดยเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนัตตา แล้วมรรคจิตเกิดขึ้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ การเข้าถึงพระนิพพานอย่างนี้ชื่อว่า สุญญตนิพพาน
สุญญตนิพพาน คือ ธรรมที่ว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

๒. อนิมิตตนิพพาน
คือพระนิพพานของบุคคลที่เจริญวิปัสสนาโดยเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง แล้วมรรคจิตเกิดขึ้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ การเข้าถึงพระนิพพานอย่างนี้ชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน อนิมิตตนิพพาน คือ การไม่มีนิมิตเครื่องหมายแห่งกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

๓. อัปปณิหิตนิพพาน
คือพระนิพพานของบุคคลที่เจริญวิปัสสนาโดยเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นทุกข์แล้วมรรคจิตเกิดขึ้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ การเข้าถึงพระนิพพานอย่างนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตนิพพาน
อัปปณิหิตนิพพาน คือ การไม่มีที่ตั้งแห่งกิเลส มี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น



พระนิพพานเป็นปรมัตถสัจจะ
คือ เป็นธรรมชาติที่มีความจริง ส่วนบัญญัติธรรมนั้นเป็นเพียงสมมุติสัจจะเท่านั้น สมมุติว่าเป็นนาย ก. นางสาว ข. สมมุติว่า นก หนู หมู แมว

ซึ่งโดยปรมัตถ์แล้ว สัตว์ บุคคลไม่มี มีเพียงนามธรรม คือ จิตและเจตสิก
มีแต่เพียงรูปธรรม คือ รูป ๒๘ เท่านั้น
ซึ่งทั้งนามและรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแตกดับ ปรวนแปรไป


แต่นิพพานเป็นธรรมที่เที่ยงมั่นคง ไม่แตกดับ นิพพานเป็นที่สิ้นสุดแห่งการเวียนตายเวียนเกิด

ปุถุชนจะรู้จักนิพพานได้อย่างไร ?
กัลยาณปุถุชนจะรู้พระนิพพานได้ก็โดยการอนุมาน หรือ การคาดคะเนเอาตามหลักเหตุผลว่า ปัญญาที่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์สามารถมีอยู่ได้ ปัญญาที่มีบัญญัติธรรมเป็นอารมณ์ก็สามารถมีอยู่ได้ แต่ปัญญาเหล่านั้นที่มีอยู่ยังไม่สามารถตัดกิเลสทั้งหลายให้เด็ดขาดราบคาบได้ (โดยสมุจเฉท)
 
ฉะนั้นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับสังขตธรรมและบัญญัติธรรม อันเป็นอารมณ์แห่งมรรคญาณและผลญาณ ชื่อว่า นิพพานคงมีอยู่

เราเหล่ากัลยาณปุถุชน คงจะรู้จักพระนิพพานได้โดยการอนุมานเอาอย่างนี้ ยังไม่สามารถรู้จักของจริงได้ ต่อเมื่อวิปัสสนาแก่กล้าจนเกิดมรรคและผลแล้วนั้นแหละจึงจะรู้จักพระนิพพานจริงๆ

อ้างอิง
บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๕ ตอนที่ ๒ รูปปรมัตถ์
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
http : // www.buddhism-online.org



พระไตรปิฎกเล่ม ๒๐
พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร


 "ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา"
 "ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา"
                      
อรรถกถา   
ปภสฺสรํ  ได้แก่  ขาวคือ  บริสุทธิ์.
...........
ท่านก็เรียกว่าปภัสสร เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์.
...........   
แม้จิตนี้ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะปราศจากอุปกิเลส 


จากพระสูตรและอรรถกถาข้างต้น ผมขอแสดงความเห็นดังนี้

จิตปภัสสร บริสุทธิ์ ก็จริง แต่ก็เศร้าหมองได้ เพราะมีอุปกิเลสเข้ามา
นั่นหมายถึง ความบริสุทธิ์ ในที่นี้ ไม่ใช่ว่า กิเลสจะย้อมไม่ติด
จิตปภัสสร เป็นจิตที่มีความบริสุทธิ์เพียงชั่วคราวเท่านั้น
และพร้อมที่จะให้กิเลสเข้ามามีอิทธิพลได้ตลอดเวลา


ขอให้พิจารณาพุทธภาษิตสองบทนี้
นิพพานนัง ปรมังสูญญัง แปลว่า "นิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง"
นิพฺพานนัง ปรมังสุขขัง แปลว่า "นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง"


นิพพาน เป็นสิ่งที่ว่าง ถ้ามีอุปกิเลสเข้าไปได้ มันก็จะไม่ว่าง แล้วเราจะเรียกว่า นิพพานได้ไหม
นิพพาน เป็นสุข ถ้ามีอุปกิเลสเข้าไปได้ มันก็จะไม่สุข แล้วเราจะเรียกว่า นิพพานไ้ด้ไหม


ความหมายของนิพพาน ตามที่ได้แสดงไว้ข้างต้น คือ
- ธรรมที่ว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ
- การไม่มีนิมิตเครื่องหมายแห่งกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ
- การไม่มีที่ตั้งแห่งกิเลส มี ราคะ โทสะ โมหะ


พิจารณาความหมายตามพยัญชนะแล้ว สรุปได้ว่า ไม่ว่ากรณีใดๆกิเลสจะไม่มีในนิพพานเลย

ดังนัน จิตที่เศร้าหมองได้ ไม่ใช่จิตนิพพานอย่างแน่นอน
และขอกล่าวว่า "จิตปภัสสร ไม่ใช่ จิตนิพพาน" อย่างที่หลายคนยังลังเลสงสัยอยู่


มีู้ผู้รู้เปรียบเทียบจิตของพระอรหันต์ที่เข้าถึงนิพพานว่า
ให้ดูน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบัว น้ำไม่สามารถทำให้ใบบัวเปียกได้ฉันใด
กิเลสก็ไม่สามารถทำให้จิตพระอรหันต์หวั่นไหวได้ฉันนั้น

น้ำที่กลิ้งไปมาบนใบบัว ไม่อาจทำให้ใบบัวเปียกได้ และที่น้ำกลิ้งไปมาได้นั้น
ก็เพราะ น้ำเกาะใบบัวไม่ติด น้ำจึงเปรียบเสมือนกิเลส
ส่วนใบบัวด้านบนเปรียบเสมือนจิตที่ถึงนิพพานแล้วของพระอรหันตผลนั่นเอง

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: นิพพานปรมัตถ์ คำตอบของ "จิตปภัสสร"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 03:34:00 pm »
0
อ้างถึง
ดังนัน จิตที่เศร้าหมองได้ ไม่ใช่จิตนิพพานอย่างแน่นอน
และขอกล่าวว่า "จิตปภัสสร ไม่ใช่ จิตนิพพาน" อย่างที่หลายคนยังลังเลสงสัยอยู่

อันนี้ นับว่า จขกท. นำความเห็นตรง ๆ ดีครับ เพราะถ้ามิฉะนั้นก็ต้องนั่งถกกันอีกในเรื่องนี้
เห็นด้วยครับว่า จิตปภัสสร น่าจะจัดเป็น นิพพาน ประเภท วิกขัมภนนิพพาน หรือ ตทังคนิพพาน

 แต่ความเป็นจริง ทั้ง สอง นิพพาน นี้ไม่ได้เรียกว่า นิพพาน ตามความหมาย นิพพาน ในพระพุทธศาสนา
เพราะโดยความเป็นจริง ถึงไม่มีพระพุทธเจ้า สอง นิพพาน นี้ก็มีอยู่แล้ว

นิพพานในพระพุทธศาสนา นั้นต่อยอด เพียงเรื่องเดียว คือ สุญญตนิพพาน

 เพราะแม้ นิพพาน ที่เป็น นิพพานอื่น ๆ นั้นก็มีการประกาศโดย เจ้าลัทธิในสมัยครั้งพุทธกาลแล้วเช่นกัน

ผมตามอ่านมาสองวันครับ ก็พอจะเข้าใจได้ ว่า จขกท. ต้องการสื่อเรื่องความสำคัญเรื่องจิต โดยตรงโดยให้
จิตประสานสัมพันธ์ กับหลักธรรมชื่อว่า โพชฌงค์ 7 ประการ

คาดการณ์ว่าผู้ที่โพสต์เรื่องนี้ น่าจะมีความปรารถนาใน สาวกภูมิ ใช่ไหมครับ ?

อนุโมทนาครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: นิพพานปรมัตถ์ คำตอบของ "จิตปภัสสร"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 08:19:47 pm »
0
คุณ samapol เก่งมาก เดาถูกบางเรื่อง ผมปรารถนา "สาวกภูมิ" จริงๆ

ส่วนการนำเสนอเรื่องจิตในแง่มุมต่างๆ  เป็นเรื่องบังเอิญส่วนหนึ่ง

อีกส่วนหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า "กลอนมันพาไป"

แต่ก็ยอมรับอย่างหนึ่ง โดยจริตส่วนตัวผมชอบเรื่องจิตครับ



เรื่องนิพพานวิเคราะห์ไปมากก็ไม่มีประโยชน์ เรายังไปไม่ถึง

ผู้ที่ถึงแล้ว ก็ไม่กล้ามาแสดงความเห็น อยู่เฉยๆดีกว่า เดี๋ยวเจ็บตัว


ืั้
ที่ผมกล่าวมาทั้งหมด ผมเพียงเอาปัญญาทางโลกมาวิเคราะห์ตามพยัญชนะที่ปรากฏ

และเป็นการคุยเ้ป็นเพื่อน ตามหน้าที่รับผิดชอบเ ท่านั้นเอง

ขอบคุณที่ติดตามกระทู้ของผม

ขอให้ธรรมคุ้มครอ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

somchit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 71
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: นิพพานปรมัตถ์ คำตอบของ "จิตปภัสสร"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 10:15:54 pm »
0
อ้างถึง
น้ำที่กลิ้งไปมาบนใบบัว ไม่อาจทำให้ใบบัวเปียกได้ และที่น้ำกลิ้งไปมาได้นั้น
ก็เพราะ น้ำเกาะใบบัวไม่ติด น้ำจึงเปรียบเสมือนกิเลส
ส่วนใบบัวด้านบนเปรียบเสมือนจิตที่ถึงนิพพานแล้วของพระอรหันตผลนั่นเอง

เป็นคำเปรียบอุปมา ของผู้อยู่เหนือโลก ที่พอดีครับ

 :13:
บันทึกการเข้า