ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'กษัตริย์' ผู้บรรลุโสดาบัน : ธรรมะยู-เทิร์น  (อ่าน 2497 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


'กษัตริย์' ผู้บรรลุโสดาบัน : ธรรมะยู-เทิร์น โดย อิทธิโชโต

แม้ว่าพระเจ้าพิมพิสารสิ้นพระชนม์อย่างทุกข์ทรมานในคุก ในวังของตนเอง จากพระเจ้าอชาตศัตรู ที่กระทำปิตุฆาตกับพระบิดาก็ตาม แต่นั่นก็เป็นเพียงการทุกข์ทรมานทางกาย ส่วนทางใจนั้น พระองค์ปฏิบัติธรรมกับพระพุทธเจ้าจนเข้ากระแสพระนิพพานเบื้องต้น บรรลุพระโสดาบันแล้ว จึงปิดอบายภูมิได้อย่างสิ้นเชิง
   
คุณสมบัติของพระโสดาบันนี่เอง คือสิ่งที่พุทธมามกะควรใส่ใจ ดังเช่นประชาชนสมัยพุทธกาลที่ได้พบพระพุทธเจ้า และได้ฟังธรรมจากพระองค์ก็ตั้งใจขัดเกลาตนบนหนทางอริยมรรคานี้เช่นกัน
   
ในหนังสือ 'พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)' โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) อธิบายสิกขาที่บำเพ็ญของโสดาบันนั้น มีศีลบริบูรณ์ ศีลก็หมายถึงศีล ๕ หากเราน้อมมาปฏิบัติ สังคมก็สงบเย็น เป็นแผ่นดินที่ปลอดภัยแก่ทุกชีวิต เมื่อศีลครบสมาธิและปัญญาก็เกิดขึ้นพอประมาณ สามารถละสังโยชน์ได้ ๓ ประการเบื้องต้น
   
 ans1 ans1 ans1

สังโยชน์ คือ เครื่องผูก กิเลสที่ผูกใจสัตว์หรืออกุศลกรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏ เหมือนผูกเทียมสัตว์ไว้กับรถ มี ๑๐ อย่าง ในที่นี้ขอกล่าวเพียงเบื้องต้น ๓ อย่างที่โสดาบันละได้แล้ว คือ
   
      ๑.สักกายทิฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพตามความเป็นจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง
   
      ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุผล ในการที่จะเดินหน้าแนวดิ่ง ไปในอริยมรรคา
   
    ๓.สีลัพพตปรามาส การถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่าจะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่การยึดถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แค่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหา และทิฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมายและความมุ่งหมายที่แท้จริง ของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ทำให้ไม่เข้าสู่อริยมรรค
   
     :25: :25: :25:

พระเจ้าพิมพิสารก็ไม่ต่างจากเราท่านทั้งหลาย ที่มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ให้ผล และมีกรรมเป็นผู้ติดตาม การที่จะตัดกระแสแห่งกรรมได้มีหนทางเดียว คือ เดินอยู่บนอริยมรรคา ๘ ประการนี้ อันเริ่มต้นด้วย 'สัมมาทิฐิ' เป็นบาทฐาน


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140605/185936.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1076
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: 'กษัตริย์' ผู้บรรลุโสดาบัน : ธรรมะยู-เทิร์น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 12:27:58 am »
0
 thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ