ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 5 ศาสนิก รวมพลังศาสนา สู่ความปรองดอง  (อ่าน 1163 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29355
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
5 ศาสนิก รวมพลังศาสนา สู่ความปรองดอง
« เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2014, 11:38:33 am »
0


ชี้แจงแสดงธรรมะละหมาดขอพร 5ศาสนิกรวมพลังศาสนาสู่ความปรองดอง
ผกามาศ ใจฉลาด รายงาน

     “เจตนารมณ์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่เห็นว่า พลังศาสนาเป็นพลังสำคัญในสังคม ในการสร้างสันติสุข ไม่ให้สังคมเกิดความแตกแยก และคาดหวังว่าองค์การทางศาสนาจะมีส่วนสำคัญต่อการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว” กฤษศญพงษ์ ศิริ อธิบดีกรมการศาสนา เปิดประเด็นในการประชุมศาสนิกสัมพันธ์ ครั้งที่ 3/2557 เมื่อเร็วๆนี้
      ท่ามกลางผู้แทน องค์กร หน่วยงาน เครือข่ายของศาสนิกทั้ง 5 ศาสนา พุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ฮินดู และซิกข์ ที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางวิถีแห่งศาสนาของตน ภายใต้ศาสนสถาน ศาสนบุคคล ศาสนธรรม ที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามาสร้างความปรองดองสมานฉันท์


     :96: :96: :96:

     เริ่มด้วย เสาวนีย์ ชื่นสำราญ รองเลขาธิการกิตติมศักดิ์องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) บอกว่า เนื่องด้วย พ.ส.ล.นั้นมีสมาชิกชาวพุทธเครือข่ายทั่วโลก ทันทีที่มีพระบรมราชโองการให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช. ทาง พ.ส.ล.ได้มีหนังสือชี้แจงทำความเข้าใจไปยังศูนย์ภาคี 181 ศูนย์ใน 39 ประเทศ รวมถึงคณะกรรมการบริหารของ พ.ส.ล.

      ให้เข้าใจถึงสถานการณ์ของประเทศไทย ไม่ให้ชาวพุทธต่างชาติวิตกเรื่องการทำรัฐประหารมากเกินไป หลายประเทศมีความเข้าใจกันดีและมีหนังสือตอบกลับมา นอกจากนี้ยังได้จัดบรรยายธรรมในสวน หัวข้อ “การสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ รวมทั้งความสามัคคี ของคนในชาติ" เป็นระยะด้วย

   

     ด้าน ไพรัช ผนิศวรนันท์ ผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรี กล่าวว่า สำหรับศาสนาอิสลาม โดยสำนักจุฬาราชมนตรี ได้มีหนังสือประสานไปยังคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อชี้แจงแก่ผู้นำศาสนาในจังหวัดให้เข้าใจการบริหารราชการแผ่นดินของ คสช.   

     นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ยังได้จัดประชุมอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น และกรรมการอิสลามประจำมัสยิด  เพื่อชี้แจงเหตุผลในการเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินของ คสช. และขอให้ 4,500 มัสยิดทั่วประเทศร่วมสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยแสดงธรรมกถาในการละหมาดวันศุกร์ เรื่อง สามัคคีธรรม กู้วิกฤติสังคม รวมถึงปฏิบัติสิ่งที่ดีงามในเดือนรามาฎอนตามหลักศาสนา   

   
      :25: :25: :25:

     ศาสนาจารย์ประคอง โพธิ์ศรีทอง ผู้ประสานงานราชการสัมพันธ์และมิชชันนารี องค์การสหกิจคริสเตียน กล่าวว่า ในส่วนของศาสนาคริสต์ โดยสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย มีหนังสือแจ้งไปยังอธิการโบสถ์ให้นำเสนอเรื่องการสร้างความสมานฉันท์ทุกวันอาทิตย์ จัดกิจกรรม "สวดภาวนาด้วยจิตหนึ่งใจเดียวกันเพื่อความสงบร่มเย็นของชนในชาติ"

     ส่งสารเพื่อความสงบสันติในสังคมไทย ไปยังหน่วยงานและศาสนสถานในสังกัด โดยในส่วนสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือไปยังโบสถ์ในสังกัดทั่วประเทศ จัดเทศนาคำสอนเกี่ยวกับความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ศาสนิกของเราได้เกิดจิตสำนึกสามัคคี ไม่คิดถึงความขัดแย้งในอดีต

   

     สุเทพ สุริยาอมฤทธิ์ ผู้แทนสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา กล่าวว่า ชุมชนซิกข์นั้นไม่มีนโยบายเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง ไม่มี ส.ส., ส.ว. เราจึงไม่มีความขัดแย้งกันในเรื่องของความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม ศาสนาซิกข์  โดย สมาคมศรีคุรุสิงห์สภาซึ่งมีเครือข่าย 17 แห่ง 5 หมื่นคนทั่วประเทศ ได้ทำหนังสือชี้แจงไปยังเครือข่ายร่วมสร้างสมานฉันท์ จัดเทศน์สอนเรื่องการสร้างความสมานฉันท์ ณ วัดซิกข์ เปิดโรงทานเพื่อการอยู่ร่วมกัน ปาฐกถาเรื่องความปรองดองสมานฉันท์
   
     นอกจากนี้ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยสมาคมฮินดูสมาช และสมาคมฮินดูธรรมสภา จัดกิจกรรมนำแพทย์ไปผ่าตัดสายตาแก่ผู้ป่วย ที่ จ.สงขลา สวดขอพรพระผู้เป็นเจ้าให้แก่ศาสนิกที่วัดฮินดูทุกแห่ง สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้แก่นักเรียน นักศึกษา จัดทำแบนเนอร์และโปสเตอร์เพื่อร่วมรณรงค์ในเรื่องความปรองดองสมานฉันท์


     ans1 ans1 ans1

     เมื่อทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีของสังคม ในที่ประชุมศาสนิกสัมพันธ์ ครั้งที่ 3/2557 นี้จึงได้เห็นชอบร่วมกันว่า จะร่วมขับเคลื่อน “โครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เน้นเป็นชุมชนที่ปฏิบัติตามหลักศาสนาตนเอง หลักเศรษฐกิจพอเพียงและดำเนินชีวิตแบบวิถีวัฒนธรรมไทย เริ่มต้นจากชุมชนที่อยู่ในความดูแลของกรมการศาสนา อาทิ โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จำนวน 4,100 แห่ง โครงการลานธรรม ลานวิถีไทย จำนวน 1,000 แห่ง และโครงการศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมประจำมัสยิด จำนวน 916 แห่ง รวม 6,016 แห่ง
   
     นี่คือพลังของ 5 ศาสนิก ผู้นำศาสนสถาน ผู้นำชุมชน การมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน(ชุมชน) วัด(ศาสนสถาน) โรงเรียน หรือเรียกว่า “บวร” ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสลายความขัดแย้งในสังคมไทย โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นแนวทางดำเนินชีวิต ทำให้ประชาชนมีความรู้ ความสุข อยู่ดีกินดี สามารถใช้ชีวิตโดยพึ่งพาตนเองได้

                                                 
ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140702/187445.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ