ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: โลกวิทู...ผู้รู้แจ้งซึ่ง สังขารโลก ธาตุโลก สัตว์โลก (จบ)  (อ่าน 2569 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


โลวิทู(จบ) : ธรรมะ-จิตใจ

การที่รู้จักโลก คือ ตัวของเรานี้ มีประโยชน์มากมาย

สังขารโลกคือตัวของเราเป็นของปิดบังลี้ลับ ไม่ให้เรารู้เห็นของจริงได้ ปิดบังของจริงไว้ ยากที่บุคคลจะเห็นได้ นักปราชญ์อาจารย์ตลอดถึงตัวผู้เทศนาเองในชั้นแรกก็เป็นเช่นนั้น ทีแรกก็ไม่รู้อะไรดอก รู้แต่ตามที่ท่านสอนว่า ธาตุดินมีลักษณะอันข้นแข็ง ธาตุน้ำมีลักษณะอันซึมซาบเอิบอาบ ธาตุไฟมีลักษณะอบอุ่น ธาตุลมมีลักษณะพัดไปพัดมา 4 อย่างนี้ท่านสอนว่าให้เรียกธาตุ 4 เราก็จำเอาไว้อย่างแน่นอนว่า อ้อ! ตัวเรามีธาตุ 4 อย่างนี้เอง

ทีนี้ท่านสอนให้รู้จักขันธ์อีก คือ ให้รู้จักรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เราก็จำได้อีกว่าตัวของเรามีขันธ์ทั้ง 5 อย่างนี้เอง แล้วท่านสอนเราอีกว่าให้รู้จักอายตนะ คือ ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่าอายตนะภายใน แลท่านสอนอีกว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ เรียกว่าอายตนะภายนอกเราก็จำไว้ๆ และเข้าใจว่าเรารู้จักอายตนะแล้ว


 :41: :41: :41:

แท้ที่จริง ก็เปล่าไม่ถูกทั้งนั้น ถูกแต่เปลือกๆ เท่านั้น

ที่เป็นอายตนะแท้นั้น เขาประสงค์ที่ต่อกัน อาการที่ต่อกันนั้น เรียกว่าอายตนะ ถ้าหากไม่พร้อมกันทั้งสองอย่างไม่เรียกว่า อายตนะ ถ้าหากไม่พร้อมกันทั้งสองอย่างไม่เรียกว่า อายตนะ ก็ตกลงว่าอายตนะนั้นอยู่ในระหว่างกลาง ไม่ใช่ตาไม่ใช่รูปทีเดียว ในระหว่างตาและรูปกระทบกันเรียกว่าอายตนะ ถ้าแต่ลำพังตาและรูปเป็นต้นเท่านั้น ไม่ได้กระทบกันเขาก็เรียกไปตามอาการนั้น คือ เรียกว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เขาหาเรียกว่าอายตนะไม่ ก็เมื่อเรารู้จัก รูป นาม ธาตุ ขันธ์ อายตนะ เช่นนี้แล้วก็ยังหาเป็นการรู้จักของจริงไม่ถ้าเราถือเอาสังขารโลกเป็นของจริงแล้วก็ติดตายทีเดียว

พระท่านสอนเรื่องโลกให้รู้จักโลกแล้ว ท่านก็สอนให้ถอนอีก เพราะสังขารโลกเป็นของไม่ยั่งยืนแน่นอน ดังที่มาว่า “สพฺเพ สงฺขาราอนิจฺจา” สังขารทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง“สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา”สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้นตัวตนของเราจึงเป็นของสูญเปล่าเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ทั้งนั้น


 :96: :96: :96:

ในชั้นสังขารไม่มีอะไรเป็นของจริงของจัง ถึงจะเป็นของจริงก็จริงเพียงชั้นสังขารเท่านั้น ส่วนที่เป็นของจริงนั้นไม่ใช่รูป นาม ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ที่เรารู้อย่างแต่ก่อนนี้ ของจริงนั้นท่านเรียกว่าสภาวธรรม ตัวของเราที่เรียกว่าตน ตัว หัว ขา เหล่านี้เป็นต้น ท่านเรียกว่าสภาวธรรม ที่จะรู้จักสภาวธรรมได้ก็ต้องเพิกรูป นาม ธาตุ ขันธ์ อายตนะ เหล่านี้ออกให้หมด ให้ยังเหลืออยู่แต่ของจริง คือของที่เป็นเองเรียกว่าสภาวธรรม

ลองเพิกอาการเหล่านี้ออกให้หมดดูทีหรือ ตัวของเราจะเป็นอย่างไร ตัวของเราก็มีบริบูรณ์อยู่อย่างนั้น ไม่มีอะไรขาดตกบกพร่อง เมื่อเราเพิกอาการเหล่านั้นออกหมดแล้ว ก็ยังเหลืออยู่แต่ของจริงที่เป็นเองเท่านั้น เช่น เป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นสาว แก่ เฒ่า เป็นศีรษะมือเท้าเหล่านี้เขาก็เป็นเองทั้งนั้น





เมื่อเราเอา รูป นาม ธาตุ ขันธ์ อายตนะ เป็นต้นทิ้งสิ้นแล้ว ตัวของเราก็เป็นอนัตตาคือเป็นวิสังขารธรรม ตัวของเราก็เป็นก้อนธรรมทีเดียว

เมื่อตัวของเราเป็นก้อนธรรมแล้ว สิ่งอื่นก็เป็นไปด้วยกันหมด ที่เรียกว่าธาตุก็เป็นธรรมไปหมด ไม่มีอะไรที่จะเป็นของไม่จริง ความโลภ ความโกรธ ความหลงก็เป็นธรรมไปหมด ให้พึงเข้าใจว่าการดับนั้น โลภโกรธหลงไม่หายไม่สูญไปไหน ยังอยู่บริบูรณ์ทั้งนั้น เป็นแต่ว่าผู้มีปัญญาแล้วให้เลือกดู เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่ไม่ดีก็เว้นหลีกเสีย สิ่งใดดีก็ประพฤติปฏิบัติตาม เช่นนี้ต่างหาก


 :25: :25: :25:

เมื่อเราเพิกอาการเหล่านี้เสียได้แล้วก็เกิดความสบายเท่านั้น แต่เราทั้งหลายที่เป็นอยู่ในเวลานี้ไม่เป็นเช่นนั้น พากันถือมั่นยึดมั่นว่าเป็นเขาเป็นเราเสียจริงๆ จังๆ เช่นอย่างเพชรพลอยเป็นต้น ที่เขาสมมติเรียกกัน เราก็มาถือมั่นว่าเป็นเพชรพลอยจริงๆจังๆ การที่ถือมั่นอย่างนี้เรียกว่าติดสมมติ ชั้นแต่หินในภูเขาเอามาสมมติให้เป็นเพชรเป็นพลอยเข้าแล้ว ก็พากันหลงไปตามจนลืมตัว เมื่อมันหายไปแล้ว ก็พากันอาลัยเสียใจร้องไห้ร่ำไรตาเปียกตาแฉะไปทีเดียว

ที่เราเพิกสมมติได้เช่นนี้ เป็นความสุขความสำราญอย่างยิ่ง แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็เพิกเสียซึ่งสังขารได้แล้ว เห็นแต่ของจริงอันตั้งอยู่ตามสภาพ เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตายใครๆ ก็เหมือนกันทั้งนั้น เมื่อเกิดมาแล้วก็แก่ แก่แล้วก็เจ็บ เจ็บแล้วก็ตาย ยืนตัวอยู่อย่างนี้


 st12 st12 st12

สิ่งที่ยืนอยู่นั้นเรียกว่าวิสังขารธรรมเป็นตัวธรรมฐิติ ผู้ที่หลงไปตามสมมตินั้นคือผู้ที่ไม่รู้จักโลก เมื่อเราอยากรู้จักโลก คืออยากเป็นโลกวิทูเหมือนอย่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต้องให้เพิกโลกออกจากตัวของเรา เมื่อเรารู้เห็นแล้ว โลกนั้นก็เพิกออกไปเอง ไม่ต้องไปปลดไปเปลื้องอะไรหรอก

เมื่อเราเพิกสมมติเสียได้แล้ว เรียกว่าวิมุตติ ความรู้ชั้นนี้ก็ยังเป็นชั้นปัญญาวิมุตติ ยังไม่เป็นชั้นเจโตวิมุตติ ที่เราติดสมมตินั้นก็คือเขาให้เป็นอะไรก็เป็นเอาเสียจริงๆ จังๆ เช่น เขาให้เป็นผู้หญิง ก็นึกว่าเราเป็นผู้หญิงจริงๆ เขาให้เป็นผู้ชายก็นึกว่าเราเป็นผู้ชายจริงๆ เขาให้เป็นพระเป็นเณรก็พากันเป็นเอาเสียจริงๆ แต่ผู้ที่รู้เท่าสังขารโลกแล้ว ก็ต้องให้รู้อยู่อย่างนั้น

 ans1 ans1 ans1

ผู้ที่ไม่รู้ก็เกิดความเดือดร้อน ถ้าผู้รู้แล้วก็ไม่เดือดร้อน ให้รู้ว่า สังขารโลก ธาตุโลก สัตวโลก มีอยู่ในตัวเราทั้งนั้น

เมื่อรู้โลกแล้วก็ได้ชื่อว่ารู้ธรรม เพราะโลกกับธรรมมีอยู่ด้วยกัน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลก จึงทรงพระนามว่า โลกวิทู ผู้รู้แจ้งซึ่งโลก ผู้ที่จะรู้โลกตามพระองค์นั้น ต้องให้รู้จักโลกทั้ง 3 ที่มีอยู่ในตัวของเราแล้ว ให้รู้จักสังขารและวิสังขาร เมื่อเรารู้แล้วประพฤติปฏิบัติตาม ก็จักเป็นบุญเป็นกุศลเกิดความดีความงามแก่ตน ด้วยประการฉะนี้


ขอบคุณบทความจาก
www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใจ/305050/โลวิทู-จบ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12

 ดูแต่คำกลอน ภาพประกอบ ก็ซึ้งแล้วคะ

  :49:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ