ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'คำไทย' ในโซเชียลหยาบคาย ภาษาดอกไม้แบบไหนเหมาะ.?  (อ่าน 1617 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


'คำไทย' ในโซเชียลหยาบคาย ภาษาดอกไม้แบบไหนเหมาะ.?

เนื่องในวันที่ 29 ก.ค. 57 ถูกกำหนดให้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ซึ่งภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติที่คนไทยใช้กันในชีวิตประจำวันอย่างคุ้นเคย ซึ่งกลายเป็นสาเหตุของการละเลยความสำคัญของภาษาไทยที่เราใช้ในการสื่อสารไปในบางครา

โลกการสื่อสารที่เปิดกว้าง และเทคโนโลยีที่เข้ามาทำลายกำแพงพรมแดนของเวลาและสถานที่สำหรับคนรุ่นใหม่ วัยรุ่นที่มีเครื่องมือสื่อสาร และโลกโซเชียลเป็นเพื่อนสนิทข้างกายทุกที่ ทุกเวลา 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์นั้น การใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่สุภาพ หรือรุนแรงเกินกว่าเหตุในพื้นที่โซเชียลมีเดียนั้น มีให้พบเห็นกันอย่างมากมาย หลายฝ่ายออกมาแสดงความเป็นห่วงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ความคุ้นชินในความรุนแรง ทะเลอารมณ์ คำหยาบ ทั้งหลาย จะฝังรากเข้าไปในสำนึกความคิดของคนรุ่นใหม่ได้โดยไม่รู้ตัว

อาจารย์แม่ สุนีย์ สินธุเดชะ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย เปิดเผยถึงประเด็นนี้กับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า การพูดหยาบคาย สนุกสนานกับเพื่อนฝูง ในบางเวลาไม่ได้ว่าอะไรกัน คำสรรพนามแทนตัวมีมากมาย สนิทก็อย่างหนึ่ง ไม่สนิทก็อย่างหนึ่ง ใช้กันถูกแล้ว แล้วยิ่งมาแชตหากันด้วยคำหยาบคาย มีคำพูดที่เปลี่ยนแปลงไปตามนวัตกรรม ใช้เป็นทางผ่านที่จะมาสร้างความไม่เข้าท่า มาเป็นการทำลายล้างวัฒนธรรมไทย เนื่องจากวัฒนธรรมของเรามีคำว่า กุลบุตร กุลธิดา เดี๋ยวนี้กุลธิดาพูดจาหยาบคาย เรียกกันมึง กู อีนั่น อีนี่ ไม่ทราบทำไมถึงเป็นเช่นนั้น คิดกันได้อย่างไร

อาจารย์แม่ได้ฝากถึงนักเรียน นักศึกษาสมัยใหม่ว่า "ถึงลูกรักทั้งหลาย มากไปนะลูกนะ"


 :96: :96: :96:

ถ้าเราจะพูดถึงเรื่องความเป็นเด็กไทย ความเป็นอัตลักษณ์ไทย ความเป็นผู้ดีมีสกุล มีพ่อมีแม่ คนเราจะต้องประพฤติปฏิบัติในทางที่ชอบ รู้เองได้เอง แล้วการพูดจะไปมีผลต่อการแสดงออกของกิริยา พูดดี กิริยาจะดี ขึ้นอี ขึ้นมึง ขึ้นกูกัน กิริยาจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง

"ลูกไม่คิดหรือว่า นี่คือการทำลายอย่างหนึ่ง จริงๆ แล้วเป็นการทำลายมากโดยไม่รู้ตัว เป็นการทำลายที่ร้ายกาจอย่างยิ่ง ขอให้ยุติกันเถอะ เพื่อสันติสุขและรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของไทยเรา ไม่แพ้ชาติใดในโลก จะทำอะไรคิดเยอะๆ คิดมากๆ แล้วก็ทำให้เหมาะสม เพื่อชาติ เพื่อปู่ย่า ตายาย นอกจากนี้ ลูกๆ ยังแสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณ แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ฝากลูกทุกคน"



อาจารย์แม่สุนีย์ สินธุเดชะ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย

วันภาษาไทยแห่งชาติ เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญอัตลักษณ์ของชาติ...

อาจารย์แม่สุนีย์ยังได้ฝากถึงความสำคัญของ "วันภาษาไทยแห่งชาติ" ว่า มีวันนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงความสำคัญของภาษาไทย เป็นแก่นของการเรียนรู้ ถ้าเราเก่งภาษา เราจะเรียนรู้อะไรได้ดี ถ้าเราอ่านหนังสือเก่ง เราจะมีสติปัญญา เด็กรุ่นใหม่ที่เถียงว่าอ่านในออนไลน์ กูเกิล สิ่งเหล่านั้นดูแล้วได้คำตอบเลย แล้วอธิบายเสร็จ แต่อ่านหนังสือ เราจะได้วินิจฉัย พิจารณา ความที่ท่านผู้เขียน เขียนออกมา ท่านได้อะไร สิ่งนี้นำมาซึ่งสติปัญญา เพราะฉะนั้นวันภาษาไทยขอให้ทุกคนจงสร้างนิสัยการอ่านของตนเอง ผู้ปกครองก็ช่วยสนับสนุนให้บุตรรักการอ่าน

นอกจากนี้ ยังมีทัศนะจากประเด็น การใช้คำพูดสื่อสารกันด้วยคำหยาบมากขึ้น โดย อาจารย์จักรกฤต โยมพยอม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้สุนทรภู่ รายการแฟนพันธุ์แท้ เปิดเผยเรื่องนี้กับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า จริงๆ แล้วคำหยาบหรือไม่หยาบ ไม่ใช่แค่คำและความหมายของคำนั้นครับ เราต้องดูบริบทด้วยครับว่าอยู่ในสถานการณ์ใด พูดกับใคร เรื่องอะไร เพราะคำที่ถูกมองว่าหยาบ เมื่อคุยกับเพื่อนสนิทเป็นปกติวิสัยอยู่แล้ว ความรุนแรงของถ้อยคำนั้นก็จะลดระดับลงมา แต่ถ้าพูดคำหยาบกับคนที่ไม่สนิทสนม คำนั้นก็อาจจะถูกมองว่าหยาบมากกว่าปกติก็เป็นได้


 :49: :49: :49:

ที่คนเราสมัยนี้ใช้คำหยาบในสังคมออนไลน์มากกว่าแต่ก่อน ก็ถือเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของภาษาครับ คือภาษาต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่นในแต่ละภาษาจะมีการคำเพิ่มเข้ามา มีบางคำหายไป บางคำอาจจะออกเสียงต่างจากในอดีต หรือบางคำก็มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่นเดียวกันครับ บางคำที่ในอดีตไม่ใช่คำหยาบ แต่ปัจจุบันกลับถูกมองว่าเป็นคำหยาบ เช่นคำว่า “เย็ด” ในสังคมไทยสมัยก่อนแปลว่า “ทำ” เทียบเท่ากับคำว่า “เฮ็ด” ในภาษาอีสาน แต่เมื่อเรานำคำว่า “เย็ด” มาใช้เรียกกระทำ “อย่างว่า” คำว่า “เย็ด” ก็กลายเป็นคำหยาบในที่สุด (อ้างอิงจากแบบเรียนวิชาภาษาทัศนา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คำในอดีตที่ถูกมองว่าหยาบอาจจะหยาบน้อยลงในมุมมองของผู้ใช้ภาษายุคปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ว่าตามโลกออนไลน์ต่างๆ มีผู้ใช้คำที่ไม่สุภาพกันมากขึ้น เช่น คำว่า มึง กู ไอ้ อี สัตว์ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม การใช้คำหยาบเหล่านี้ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ถ้าจะพิมพ์ข้อความลงตามสื่อสาธารณะต่างๆ ผู้ใช้ภาษาก็ต้องตัดสินใจให้ดีทุกครั้งก่อนจะกดโพสต์ เพราะพันธกิจ (หน้าที่) อย่างหนึ่งของภาษาคือเครื่องแสดงตัวตน บางคนอาจจะคิดว่าการใช้คำที่ถูกมองว่าหยาบคายเช่นนี้เป็นการแสดงธรรมชาติ หรือเพื่อแสดงความเป็นตัวตน แม้ว่าจริงๆ แล้วจิตใจอาจจะไม่ใช่คนก้าวร้าวก็ตาม แต่อย่าลืมว่ายังมีคนหลายคนมองว่าการใช้ภาษาเช่นนี้เป็นเรื่องไม่สมควร และคนเหล่านั้นอาจจะตัดสินเราไปแล้วก็ได้ว่าเป็นคนหยาบคาย



สิ่งที่น่าห่วงที่สุดเรื่องการใช้ภาษาของคนปัจจุบัน คือการที่คนไทยหลายคนสะกดคำศัพท์บางคำไม่เป็น รวมไปถึงขาดทักษะด้านการอ่านจับใจความ ดังจะเห็นได้ว่าประเด็นปัญหาหลายประการที่เห็นตามแหล่งต่างๆ มักเกิดจากการอ่านเนื้อหาไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง สักแต่ว่าจะแสดงความเห็น โดยไม่สนใจว่าข้อเท็จจริงต้นเรื่องนั้นเป็นอย่างไร

ฝากถึงทุกคน ภาษาไทยเป็นสิ่งสำคัญ ตราบใดที่เรายังอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ยังติดต่อกับคนไทย เราก็ต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะสม รู้กาลเทศะ และอย่าไปคิดว่าคนที่เข้มงวดกับภาษาไทยเป็นคนหัวโบราณ ไม่ทันสมัย เพราะการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเหมาะสมนั้น เป็นเรื่องดีกว่าการใช้ภาษาไทยผิดๆ อยู่แล้ว.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/439534
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ