ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนปัตตานี นิสิตสันติศึกษา รับทุนศึกษา ทุนพระ ว.วชิรเมธี  (อ่าน 1458 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29354
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


คนปัตตานี นิสิตสันติศึกษา รับทุนศึกษา ทุนพระ ว.วชิรเมธี
'มจร'โชว์วิทยานิพนธ์ดีเด่นชี้ทางออกสังคมไทย คนปัตตานีนิสิตสันติศึกษารับทุนศึกษาทุน'ท่านว.วชิรเมธี'

17ส.ค.2557 พระพรหมบัณฑิต อธิการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2557 ที่สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย มจร จัดขึ้นที่อาคาร มวก. ๔๘ พรรษา มจร ตำบลลำไทร  อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ภายในงานมีการมอบโล่รางวัลให้กับนักวิจัยดีเด่น และผู้ทำวิทยานิพนธ์ดีเด่นระดับปริญญาโทและปริญญาเอก นอกจากนี้มีการ มอบทุนการศึกษาของทุนท่าน ว.วชิรเมธีจำนวน 3 แสนทุน  ทุนธรรมพัฒน์  และทุนจงกล ฌานวัฒน์ บุญพิทักษ์ ทุนเพ็ญพิชชา – กานติมา จรรย์โกมล และทุน ผศ.ดร.ศศิธร  เขมาภิรัตน์


 st12 st12 st12 st12

สำหรับทุนท่าน ว.วชิรเมธีมีน.ส.ณัฐสุรีย์ ด่านลำมะจาก เจ้าหน้าที่ธุรการ มจร ปัตตานี ในฐานะนิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร ร่วมอยู่ด้วย โดย น.ส.ณัฐสุรีย์นั้นต้องเดินทางมาจาก มจร ปัตตานี มาที่ มจร อ.วังน้อย เพื่อเรียนหลักสูตรสันติศึกษา มจร ทุกวันเสาร์โดยส่วนใหญ่แล้วจะเดินทางด้วยเครื่องบินซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมาก

น.ส.ณัฐสุรีย์กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องการเข้ามาเรียนหลักสูตรสันติศึกษามจรว่าก็เพื่อที่จะทราบเทคนิควิธีในการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยในพื้นที่ พร้อมกันนี้ต้องการที่จะมีส่วนร่วมสนการสร้างสันติภาพและแก้ปัญหาความขัดแย้งของคน 2 กลุ่มในพื้นที่ด้วย


 st11 st11 st11 st11

นอกจากนี้ภายในงานมีการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ทำวิทยานิพนธ์อย่างไรให้สำเร็จ” และ เรื่อง “เคล็ดลับการทำวิทยานิพนธ์” โดยวิทยากรประกอบด้วย ดร.สานุ มหัทธนาดุล ดร.ขันทอง วัฒนะประเสริฐ พระชลญาณมุนี  (ปริญญาโท) พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร. หัวหน้าหลักสูตรสันติศึกษา

และการนำเสนอบทความวิจัยเช่นเรื่องการศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในการพัฒนาองค์กรธุรกิจ รูปแบบและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเชิงพุทธบูรณาการ :  กรณีศึกษาผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน  ศึกษากระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมขององค์กรชุมชนในจังหวัดอุบลราธานี คุณค่าและอิทธิพลของกลุ่มปราสาทขอมที่มีต่อวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ และการศึกษาวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธในมุมมองของนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยเป็นต้น



ดร.ขันทอง ผู้ทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก เรื่อง “กระบวนการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติตามหลักศีล 5 สำหรับผู้นำ”  และได้รับเลือกเป็นวิทยานิพนธ์ระดับดี โดยเล็งเห็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำไม่ควรมองข้าม สังคมและประเทศชาติจะเข้มแข็ง หากผู้นำมีศีล 5 จึงนับเป็นวาระสำคัญอีกประการหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ซึ่งการพัฒนาบุคลากรในองค์กรปัจจุบันที่ใช้กิเสสใช้รางวัลมาเป็นแรงจูงใจให้บรรลุเป้าหมาย แต่ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้พัฒนาผู้นำจากการสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินชีวิต ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยคือ

การที่จะทำให้คนสนใจรักษาศีล 5 นั้น ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ ดำเนินตามแนวทางของอริยมรรคมีองค์ 8 ตามแบบจำลอง “K A M” ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพราะการรักษาศีล 5 มิใช่เพียงแค่การพูดว่าจะรักษาศีล แต่ต้องตั้งเป้าหมายของชีวิตด้วยนำศีล 5 มาเป็นพื้นฐาน และเมื่อผู้นำปฏิบัติได้ ก็จะเกิดแรงผลักดันให้มีผู้ปฏิบัติตามมากขึ้น จนเกิดเป็นเครือข่ายสังคมศีล 5 ขยายออกไป ทำให้การดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม หากสามารถขยายเครือข่ายสังคมศีล 5 ออกไปในทุกชุมชน ทุกองค์กร สังคมจะสงบสุขและประเทศชาติก็จะพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น

ผลงานวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกที่ได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลระดับดี ต่อมาคือของนางตวงเพชร สมศรี เรื่อง “วิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจเชิงพุทธบูรณาการ” เป็นประเด็นที่สังคมกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงตำรวจที่ดี และมุมมองของตำรวจต่อข้อบกพร่องและพร้อมจะนำหลักพุทธธรรมเข้ามาแก้ไข  ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า วิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจ  มี 8 วิธี  ทั้งนี้ในทุกวิธีการได้พบปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การพัฒนาไม่ประสบผลสำเร็จ จึงเสนอให้นำหลักพุทธธรรมมาใช้บูรณาการวิธีการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการตำรวจ และองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยนี้ คือ “ PTTFCTTD = GOOD POLICE MODEL”

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

ผลงานวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกที่น่าสนใจของ น.ส.สรณีย์ แสงศร ในหัวข้อเรื่อง “กระบวนการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสา” เพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนในสังคมมีการเสียสละมากขึ้น เพราะรัฐไม่อาจให้การดูแลช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสหรือผู้ประสบภัยได้อย่างทั่วถึง จิตอาสาจึงมีบทบาทเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม เติมเต็มในสิ่งที่ขาด แต่การทำงานจิตอาสานั้นก็เผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย ซึ่งวิทยานิพนธ์นี้ได้องค์ความรู้ที่เรียกว่าโมเดล “หลักการทำงานจิตอาสาแนวพุทธเชิงบูรณาการ”

ที่เน้นสร้างความเข้าใจหรือสร้างคุณสมบัติภายในจิตใจให้เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานที่ต้องเสียสละเพื่อผู้อื่นโดยอาศัยการประยุกต์หลักการทางพระพุทธศาสนา พระพุทธจริยา และพุทธธรรม ควบคู่ไปกับการสร้างการเตรียมความพร้อมภายนอกในการลงภาคสนามของการทำงานจิตอาสาจะช่วยให้การทำงานจิตอาสา มีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อค้นพบสำคัญที่ได้จากการวิจัยคือ การพัฒนาตน โดยใช้หลักสติปัญญา ควบคู่ไปกับเมตตากรุณา และพึงระลึกรู้ตัวอยู่เสมอว่าการทำงานคือการปฏิบัติธรรม มิใช่เป็นเพียงผู้ช่วยเหลือ แต่การเป็นจิตอาสานั้นเป็นแบบฝึกหัดที่ดีในการพัฒนาตนตนเอง ซึ่งจะช่วยพัฒนางานจิตอาสาให้สุขทั้งผู้ให้และผู้รับตลอดจนสร้างแรงจูงใจให้เกิดจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคมในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น



นอกจากนั้นยังมีวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเรื่อง “พุทธวิธีในการอบรมสั่งสอนบุตรธิดาที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท” ซึ่งพระมหาจันทราวุฒิ วชิรเมธี (อรรถโยโค) ได้ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงที่ปรากฏในสังคมที่บุตรกระทำรุนแรงกับบิดามารดาถึงขั้นมาตาปิติฆาต ตลอดจนปัญหาสังคมต่างๆ ล้วนเริ่มต้นจากครอบครัว การเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนบุตรธิดาเป็นจึงสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ข้อค้นพบจากการวิจัยคือ พระพุทธเจ้าได้ทรงกล่าวไว้ตั้งแต่ในพุทธกาล

ตั้งแต่ครั้งก่อนทรงผนวชว่าต้องอบรมบุตรธิดาอย่างไร ตลอดจนสิ่งที่ทรงสั่งสอนแก่ปัจวัคคีย์ คำสอนนั้นยังใช้ได้จวบจนปัจจุบัน คือ การสอนให้บุตรมีความพร้อมในการดำรงชีวิต เชื่อมั่นในตนเอง รู้จักใช้ปัญญาและประสบการณ์ในการแก้ปัญหา สิ่งสำคัญยิ่งกว่าการสั่งสอนนั้นคือการเป็นแบบอย่างที่ดี การรู้จัก “หน้าที่” พ่อ แม่ รู้จักหน้าที่ของพ่อแม่ รู้จักหน้าที่ที่สามีพึงกระทำต่อภรรยา และพึงกระทำต่อบุตรธิดา ตลอดจนสอนให้รู้จัก “ทาน” หากสังคมในหน่วยที่เล็กที่สุดมีความสุข ก็จะลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมและประเทศชาติได้


 :25: :25: :25: :25:

วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งที่เป็นที่สนใจในสังคมปัจจุบัน คืองานของคุณจงจิต พานิชกุล เรื่อง “การทำศัลยกรรมความงามในมุมมองของพระพุทธศาสนา” ซึ่งการทำศัลยกรรมความงามเป็นที่ยอมรับในสังคม งานวิจัยนี้ชี้ให้ที่ชี้ให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของชีวิต และผลข้างเคียงจากการทำศัลยกรรม เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจก่อนทำศัลยกรรม แม้รูปกายภายนอกที่สามารถปรุงแต่งได้ แต่ก็ต้องร่วงโรยตามการเวลา

การทำศัลยกรรมความงามเป็นการสนองตัณหาเพียงชั่วคราว ท้ายที่สุดแล้ว ทุกอย่างย่อมเปลี่ยนไปตามกฎของไตรลักษณ์โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จากข้อค้นพบผู้วิจัยได้ข้อสรุปจากองค์ความรู้ที่ศึกษาว่า หากมีความเข้าใจในหลักธรรม และสลัดทิ้งค่านิยมการมองที่รูปกายภายนอก เสริมคุณค่าความงามและคุณธรรมภายในก็จะเป็นประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตตนเองและการพัฒนาประเทศชาติ


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140817/190299.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ