ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผลตรวจกรมวิทย์ฯล่าสุด เผย "ส้มตำถาดเคลือบสี" ปนเปื้อนแคดเมี่ยม สาเหตุโรคอิไตอิไต  (อ่าน 1110 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ผลตรวจกรมวิทย์ฯล่าสุด เผย "ส้มตำถาดเคลือบสี" ปนเปื้อนแคดเมี่ยม - สาเหตุโรคอิไตอิไต

วันที่ 4 ก.ย. มีรายงานว่า นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์​ได้เก็บตัวอย่างส้มตำถาดเพื่อพิสูจน์หาสารโลหะหนัก หลังจากมีการทดสอบเบื้องต้นโดยใส่กรดแอซีติก หรือกรดน้ำส้มสายชู และพบว่ามีการปนเปื้อนของสารแคดเมี่ยมเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนนั้น ​

การทดลองเบื้องต้นเป็นการหยดสารโดยตรงลงบนถาด ซึ่งอาจทำให้ได้ค่าที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เก็บส้มตำถาด จำนวน 10 ตัวอย่างเ พื่อนำมาวิเคราะห์ โดยแบ่งการทดสอบเป็นการหยดสารแอซีติก แช่ไว้ตามมาตรฐาน 24 ชั่วโมงในอุณหภูมิ 12 องศา พบว่าสารละลายที่ออกมานั้น มีสารแคดเมียม 2.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ​จากมาตรฐานกำหนดไว้ต้องไม่เกิน 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งการทดสอบดังกล่าวสารแคดเมียมเกินมาตรฐานทั้ง 10 ตัวอย่าง เป็น 10 เท่า ส่วนสารตะกั่วพบเพียง 3 ถาดแต่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด


 :32: :32: :32: :32:

นพ.อภิชัย กล่าวว่า การทดสอบอีกส่วนที่สำคัญ คือ การหาปริมาณสารที่ละลายออกมาปนเปื้อนในส้มตำที่ใส่อยู่ในถาดโดยตรง ซึ่งจะทำให้ทราบคำตอบว่าในการรับประทานจริงๆ จะได้รับการปนเปื้อนด้วยหรือไม่ โดยสุ่มตัวอย่างส้มตำ 10 ตัวอย่าง ทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง 3 ชั่วโมงแล้วนำมาหาการปนเปื้อน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ

1.ส้มตำที่ใส่กับถาดโดยตรงไม่มีอะไรรอง พบว่าจากการทดสอบพบสารแคดเมียมปนเปื้อนในส้มตำ 0.875 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
2.ส้มตำถาดแบบที่มีใบตองรองที่ก้นถาดแบบมิดชิด ไม่พบการปนเปื้อนของแคดเมี่ยม
3.ส้มตำถาดแบบที่มีใบตองรองแต่ไม่มิดชิด พบการปนเปื้อนของสารแคดเมี่ยม 0.127 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ
4.นำส้มตำใส่ถุงพลาสติกวางบนถาด เพื่อนำมาเปรียบเทียบการปนเปื้อนจากอาหารโดยตรงเท่านั้น ทั้งนี้ จากการทดสอบทุกแบบไม่พบการปนเปื้อนของสารตะกั่ว


 ans1 ans1 ans1 ans1

“ผลการตรวจดังกล่าว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน ADI หรือปริมาณที่ไม่ควรบริโภคเกินในแต่ละวันอยู่ที่ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อเดือน ประกอบกับข้อมูลการเก็บตัวเลขการบริโภคอาหารของคนไทย ปริมาณแคดเมี่ยมที่พบในการทดสอบครั้งนี้โดยเฉพาะเมื่อใส่ส้มตำในถาดสีโดยตรง ถือว่าเกินปริมาณที่แนะนำ 1.4 เท่า ซึ่งหากมีการบริโภคอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่จะได้รับสารแคดเมี่ยมเกินมาตรฐาน และสะสมในร่างกายไปเรื่อยๆ ก็มีสูง ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกร้านที่ใช้ภาชนะที่ปลอดภัย”นพ.อภิชัย กล่าว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อว่า สำหรับอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากได้รับสารแคดเมี่ยมนั้น​ พบว่าเป็นสารที่หากได้รับในปริมาณมากหรือสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดพิษต่อไตและกระดูกได้ หากกินต่อเนื่องในระยะยาวจะทำให้เสี่ยงไตวาย เกิดโรคปวดกระดูก หรือโรคอิไตอิไต นอกจากนี้องค์กรด้านมะเร็งยังกำหนดให้แคดเมี่ยมเป็นสารชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย


 :49: :49: :49: :49:

อย่างไรก็ตามการทดสอบครั้งนี้ได้พยายามหาคำตอบที่ประชาชนสงสัยและตอบคำถามเรื่องความปลอดภัยเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับผู้ประกอบการร้านค้านั้นสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยได้โดยดูที่มาตรฐาน มอก. ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานของสีที่ใช้กับภาชนะสำหรับครัวเรือน ซึ่งสารแคดเมี่ยมและตะกั่วเป็นส่วนประกอบสำคัญของสี หากเลือกใช้ภาชนะที่ได้มาตรฐานก็จะปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1409829967
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ