ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มองเป็นเห็นธรรม : อย่าคิดว่าตนเก่ง  (อ่าน 2527 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
มองเป็นเห็นธรรม : อย่าคิดว่าตนเก่ง
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2014, 09:58:07 am »
0

มองเป็นเห็นธรรม : อย่าคิดว่าตนเก่ง

ได้อ่านพบคำกล่าวของ William Henry "Bill" Gates III เจ้าของบริษัทไมโครซอฟท์ ที่ว่า "I failed in some subjects in exam, but my friend passed in all. Now he is an engineer in Microsoft and I am the owner of Microsoft. ผมสอบตกบางวิชาสมัยเรียน แต่เพื่อนผมสอบผ่านหมด ตอนนี้เขาทำงานเป็นวิศวกรให้ไมโครซอฟท์ ส่วนผมเป็นเจ้าของ"
       
       นำให้คิดถึงระบบการศึกษาของรัฐ ที่แต่ละประเทศได้จัดให้แก่ประชาชนของตน ซึ่งทุกระบบมีความเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งคือ การผลิตคนเก่งในหลักสูตรขึ้นมา คนเก่งเหล่านี้ต่างก็ได้รับโอกาสทางการศึกษามากกว่าคนทั่วไป รัฐจะให้การสนับสนุนคนเก่งที่เข้าเกณฑ์มาตรฐานของรัฐ ในบรรดาคนเก่งเหล่านี้มีสักกี่คนที่ประสบความสำเร็จในสาขาที่ตนเก่งมาก


        :96: :96: :96: :96: :96:

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชี้ถึงจุดบกพร่องของคนเก่ง ไว้ในพระราชดำรัส ที่พระราชทานในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของ ๕ สถาบัน ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ดังความตอนหนึ่งว่า
       
       “...การสอนให้คนเก่งนี้ ถ้าดูเฉพาะบางแง่บางมุม อาจเห็นว่าดี ว่าสอดคล้องต้องกับสมัยเร่งพัฒนา แต่ถ้ามองให้ถี่ถ้วนรอบด้านแล้ว จะเห็นว่าการมุ่งสอนคนให้เก่งเป็นเกณฑ์ อาจทำให้เกิดจุดบกพร่องต่างๆ ขึ้นในตัวบุคคลได้ไม่น้อย ที่สำคัญก็มี


        :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

       ข้อหนึ่ง บกพร่องในความคิดพิจารณาที่รอบคอบและกว้างไกล เพราะใจร้อน เร่งจะทำการให้เสร็จโดยเร็ว เป็นเหตุให้การงานผิดพลาด ขัดข้อง และล้มเหลว
       
       ข้อสอง บกพร่องในความนับถือและเกรงใจผู้อื่น เพราะถือว่าตนเป็นเลิศ เป็นเหตุให้เย่อหยิ่ง มองข้ามความสำคัญของบุคคลอื่น และมักก่อความขัดแย้ง ทำลายไมตรีจิต มิตรภาพ ตลอดจนความสามัคคีระหว่างกัน
       
       ข้อสาม บกพร่องในความมัธยัสถ์ พอเหมาะพอดีในการกระทำทั้งปวง เพราะมุ่งหน้าแต่จะทำตัวให้เด่น ให้ก้าวหน้า เป็นเหตุให้เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ
       
       ข้อสี่ บกพร่องในจริยธรรมและความรู้จักผิดชอบชั่วดี เพราะมุ่งแต่จะแสวงหาประโยชน์เฉพาะตัวให้เพิ่มพูนขึ้น เป็นเหตุให้ทำความผิดและความชั่วทุจริตได้ โดยไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือน



       ผู้ที่มีจุดบกพร่องดังกล่าวนี้ เห็นกันอยู่ว่ามักจับเหตุจับผล จับหลักการไม่ถูก ส่วนใหญ่จึงประสบปัญหาและความผิดพลาด ไม่อาจสร้างความเจริญก้าวหน้าที่มั่นคงแท้จริง ให้แก่ตนแก่บ้านเมืองได้ตามเป้าหมาย
       
       ดังนั้น นอกจากจะสอนคนให้เก่งแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอบรมให้ดีพร้อมกันไปด้วย ประเทศของเราจึงจะได้คนที่มีคุณภาพพร้อม คือทั้งเก่งทั้งดี มาเป็นกำลังของบ้านเมือง กล่าวคือ ให้ความเก่งเป็นปัจจัยและพลังสำหรับการสร้างสรรค์ ให้ความดีเป็นปัจจัยและพลังประคับประคองนำความเก่งให้เป็นไปในทางที่ถูก ที่ควร ที่อำนวยผลเป็นประโยชน์อันพึงประสงค์แต่ฝ่ายเดียว...”


        :25: :25: :25: :25: :25:

       เมื่อพิจารณาถึง คำว่า “ดี” ในพระราชดำรัส นำให้คิดถึงพุทธศาสนสุภาษิตที่ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) ทรงนิพนธ์ไว้ว่า “นิมิตตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา” แปลว่า “ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี” ซึ่ง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงอธิบายถึง ความกตัญญูกตเวทิตา : ธรรมที่สร้างคนให้เป็นคนดี ไว้ในหนังสือ “ธรรมเพื่อความสวัสดี” ว่า
       
       “กตัญญูกตเวทิตาธรรม เป็นธรรมเครื่องสร้างคนให้เป็นคนดีจริงๆ เพราะความรู้คุณท่านผู้มีคุณ และความตั้งใจจะตอบแทนพระคุณ คือเครื่องป้องกัน ที่สำคัญที่สุดก็จะกันให้พ้นจากการทำผิดคิดร้ายได้ทั้งหมด โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความไม่ปรารถนาจะทำให้ผู้มีพระคุณเป็นทุกข์เดือดร้อนกายใจ ผู้ใดมีกตัญญูกตเวทีอย่างจริงใจ เป็นเหตุให้ผู้นั้นเป็นคนคิดดี พูดดี ทำดี


        st12 st12 st12 st12 st12

       ทุกคนมีผู้มีพระคุณของตน อย่างน้อยก็มารดาบิดา ครูอาจารย์ เพียงมีกตัญญูรู้คุณท่านเท่าที่กล่าวนี้ ก็เพียงพอจะคุ้มครองตนให้พ้นจากความไม่ดีทั้งปวงได้ ขอให้เป็นเพียงความกตัญญูกตเวทีจริงใจเท่านั้น อย่าให้เป็นเพียงนึกว่า ตนเป็นคนกตัญญู ความจริงกับความนึกเอาแตกต่างกันมาก ผลที่จะได้รับจึงแตกต่างมากด้วย
       
       ผู้มีกตัญญูกตเวทีนั้น จะรู้จักบุญคุณของผู้มีบุญคุณทั้งหมด จะตอบสนองทุกคนเต็มสติปัญญาความสามารถควรแก่ผู้รับ และนี่เองที่จะเป็นเหตุให้คิดดี พูดดี ทำดี เพราะเกรงว่าการคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี จะมีส่วนทำให้ผู้มีบุญคุณเดือดร้อน เช่น บิดามารดาเป็นผู้มีพระคุณ ลูกกตัญญูจะประพฤติตัวเป็นคนดี จะไม่เป็นคนเลวเพราะ เกรงว่ามารดาบิดาจะเสื่อมเสีย นี่เท่ากับคุ้มครองตนเองได้แล้วด้วยความกตัญญูกตเวที”



      คนเราจะสามารถรักษาสำนึกในความกตัญญูกตเวทีไว้ได้ตลอดเวลา ย่อมต้องกอปรด้วยสติปัญญาในศีลธรรมเป็นเบื้องต้น กล่าวคือ เมื่อมาระลึกถึงคุณของพ่อแม่ผู้เป็นบุรพการีของตน ย่อมต้องปรารถนาที่จะตอบแทนคุณที่ท่านได้เลี้ยงดูตนเองจนเติบใหญ่ มีอาชีพการงาน
       
       ดังนั้น จึงต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ เพราะความเป็นผู้มีสติ ย่อมจะยังให้สำนึกในความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ให้เกิดขึ้นเตือนสติของตนเองอยู่เสมอ การคิด การทำ การพูด ย่อมเป็นไปในกรอบของศีลธรรม อันเป็นจิตวิญญาณของประเพณีไทย ที่บรรพชนได้รังสรรค์ขึ้นมา และถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงรุ่นของเรา


        :49: :49: :49: :49: :49:

       เมื่อปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วยสติสัมปชัญญะแล้ว การคิดชั่ว ทำชั่ว พูดชั่ว ก็จะไม่เกิดขึ้น ปิดทางแห่งการเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือชีวิต จิตใจก็มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ด้วยเกรงผลกระทบจะมีถึงบุรพการีของตน นี่ก็เท่ากับทำตนไม่ให้มีข้อบกพร่อง ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึง การทำงานจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในกรอบของแผนการชีวิตที่ตนกำหนดไว้ ความสำเร็จในชีวิตที่ปรารถนาก็ย่อมปรากฏแก่ตนเองได้ในที่สุด
       
       บุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ย่อมเป็นผู้มีสำนึกในความกตัญญูกตเวทีอย่างเด่นชัด อันเป็นเหตุให้เขาต้องระมัดระวังตนเอง ไม่ให้มีข้อบกพร่อง อย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้พระราชทานไว้


        :s_good: :s_good: :s_good: :s_good: :s_good:

       ซึ่งถ้าเราได้อ่านข้อคิดของ บิลล์ เกตส์ ในการบรรยายให้กับนักเรียนมัธยมที่จบการศึกษาฟัง ถึงความสำเร็จของเขา จะพบข้อหนึ่งที่ว่า “If you mess up, it's not your parents' fault, so don't whine about your mistakes, learn from them. ชีวิตที่ยุ่งเหยิงของคุณ ไม่ใช่ความผิดของพ่อแม่ เลิกคร่ำครวญกับสิ่งที่ทำพลาดไปแล้ว แต่จงเรียนรู้จากมันซะ” นี่ก็แสดงถึงสำนึกในความกตัญญูกตเวทีที่เขามีต่อพ่อแม่ของเขา
       
       เหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานแนวทางการจัดการศึกษา ในพระราชหัตถเลขา ที่พระราชทานแก่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ร.ศ.๑๑๗ ความว่า



       “...การสอนศาสนาในโรงเรียน ทั้งในกรุงแลหัวเมือง จะต้องให้มีขึ้น ให้มีความวิตกไปว่า เด็กชั้นหลังจะห่างเหินจากการศาสนา จนเลยเป็นคนไม่มีธรรมในใจมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น จะถือว่าเหมือนอย่างทุกวันนี้ คนที่ไม่รู้อะไรก็มีมากต่อไปภายหน้า
       
       ถ้าเป็นคนที่ได้เล่าเรียนคงจะประพฤติตัวดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่าเรียนนั้นหาถูกไม่ คนที่ไม่มีธรรมเป็นเครื่องดำเนินตาม คงจะหันไปทางทุจริตโดยมาก ถ้ารู้น้อยก็โกงไม่ค่อยคล่อง ฤาโกงไม่สนิท ถ้ารู้มากก็โกงคล่องมากขึ้น และโกงพิสดารมากขึ้น

       
       :welcome: :welcome: :welcome: :welcome:

       การที่หัดให้รู้อ่านอักขรวิธี ไม่เป็นเครื่องฝึกหัดให้คนดีแลคนชั่ว เป็นแต่ได้วิธีที่สำหรับจะเรียนความดีความชั่วได้คล่องขึ้น จึงเห็นว่าถ้ามีหนังสืออ่านสำหรับโรงเรียน ที่บังคับให้โรงเรียนต้องสอนกัน แต่ให้เป็นอย่างใหม่ๆ ที่คนจะเข้าใจง่ายๆ จะเป็นคุณประโยชน์มาก...”
       
       เมื่อได้ตระหนักถึงคุณค่าแห่งความดี ที่เกิดจากความสำนึกในกตัญญูกตเวที ด้วยสติปัญญาของตน พร้อมทั้งปฏิบัติตนเป็นกตัญญูกตเวทีบุคคล ย่อมทำให้ตนเองเป็นคนดี ที่ห่างไกลจากการทำบาป อันจักสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ย่อมจะทำให้เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ เปิดใจกว้างเรียนรู้สิ่งที่เป็นสารประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของตนเอง ด้วยสำเหนียกว่า เรายังไม่เป็นคนเก่งที่พร้อมด้วยคุณธรรม อันจักพาให้ชีวิตของเราไปถึงความสำเร็จที่ปรารถนา เราจึงไม่กล้าที่จะคิดว่าตนเองเป็นคนเก่ง

        :c017: :c017: :c017: :c017: :c017:

       เหตุนี้จึงขอเตือนท่านทั้งหลายว่า “ อย่าคิดว่าตนเองเก่ง” เพราะนั่นคือการสร้างหายนะให้แก่ชีวิตของตนเอง ด้วยการมีข้อบกพร่องในตนเอง ตรงตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานไว้แล

       
จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 167 พฤศจิกายน 2557 โดย พระครูพิศาลสรนาท (พจนารถ ปภาโส) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.
http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9570000126547
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มองเป็นเห็นธรรม : อย่าคิดว่าตนเก่ง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2014, 07:10:21 pm »
0
เพราะสุขมี ทุกข์จึงมี..เพราะสุขห่อทุกข์

           เพราะทุกข์มี ความสุขจึงมี เพราะทุกข์ห่อสุข

                ถึงสุขก็ถึงทุกข์    และถึงทุกข์ก็ถึงสุข
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา