ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กลับหลังหันวัด..ภาระอันยิ่งใหญ่ ของ 'พระครูโอ๋'  (อ่าน 1333 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29355
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 

กลับหลังหันวัด..ภาระอันยิ่งใหญ่ ของ 'พระครูโอ๋'
เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

ในอดีตการคมนาคมหลักของประเทศ คือ แม่น้ำ ลำคลอง ด้วยเหตุนี้ บ้านเรือน สถานที่ราชการ ตลาด รวมทั้งวัดจะตั้งอยู่ริมคลอง แต่เมื่อมีการตัดถนนผ่าน แม่น้ำ และลำคลองเริ่มหมดความสำคัญ ผู้คนเริ่มย้ายถิ่นฐานไปสร้างบ้านอยู่ริมถนน รวมทั้งสถานที่ราชการ ห้างร้าน ตลาดก็จะย้ายไปหาที่ตั้งอันเป็นทำเลทอง คือ ต้องมีถนนตัดผ่านเท่านั้น แต่สถานที่หนึ่งย้ายไม่ได้ คือ วัด ที่ร้ายไปกว่านั้น คือ ถนนส่วนใหญ่จะตัดผ่านหลังวัด การกลับหลังหันวัด ปรับปรุงภูมิทัศน์จึงเป็นเรื่องใหญ่ เช่น กรณีของวัดแค ตั้งอยู่บ้านค่ายเก่า หมู่ ๑ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีพระครูไพศาลธรรมวงศ์ (สมศักดิ์ กตวฑฺฒโน) หรือ "พระครูโอ๋" เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๓

พระครูโอ๋ บอกว่า เดิมทีหน้าวัดอยู่ริ่มแม่น้ำ เมื่อถนนตัดผ่านด้านหลังทำให้ทุกวันนี้ด้านหลังกลายเป็นด้านหน้าส่วนด้านหน้าเป็นด้านหลัง ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะปรับปรุงภูมิทัศน์โดยเฉพาะเรื่องปัจจัย ที่ผ่านมาค่อยๆ ทำทีละเรื่อง สร้างที่ละอย่าง ภูมิทัศน์ของวัดเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่เป็นสัดเป็นส่วน ทุกครั้งที่รับกิจนิมนต์วัดหลวง รวมทั้งวัดที่สวยงาม จึงนำมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาวัด


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

เมื่อครั้งที่เป็นเจ้าวาสใหม่ๆ คิดว่ารักษาและบูรณะของเก่าให้คงสภาพเดิมก็พอแล้ว แต่เมื่อทำไปได้ระยะหนึ่งก็คิดได้ว่าหากไม่ทำให้สมบูรณ์แบบหรือโดยมีการวางแผนก็จะเกิดปัญหาสร้างแล้วรื้อ รื้อแล้วสร้างใหม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงมีโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์วัดใหม่ทั้งหมด โครงการหนึ่งที่กำลังเนินการคือสร้างหอธรรมสำหรับสวดมนต์ ซึ่งต้องใช้งบประมาณเกือบ ๕๐ ล้านบาท เมื่อสร้างเสร็จก็จะทยอยรื้อกุฏิ รวมทั้งย้ายหอระฆัง ซึ่งน่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ๕ ปี

"วิธีการดึงคนเข้าวัดนั้นมีหลายวิธี บางวัดใช้มรหรสพ บางวัดใช้พิธีกรรม ในขณะที่หลายวัดใช้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งศาสนสถานโบราณที่มีอยู่คู่วัดมาตั้งแต่ต้น แต่เหนือสิ่งอื่นใดนั้น ความสะดวกของที่จอดรถ ความสะอาดของบริเวณวัดโดยเฉพาะห้องน้ำ ที่สำคัญ คือ ตู้รับเงินทำบุญนั้นต้องไม่มากจนเกินไปจนกลายเป็นว่าบังคับญาติโยมให้ทำบุญ" พระครูโอ๋กล่าว



อย่างไรก็ตามในการพัฒนาวัดแคนั้น ต้องอนุโมทนาบุญอย่างยิ่งกับ อ.ลักษณ์ เรขานิเทศ หรือเจ้าของฉายา "โหรฟันธง" เลขาธิการสถาบันพยากรณ์ศาสตร์ ได้เป็นประธานจัดร่วมกับพุทธศาสนิกชน และชาวบ้านวัดแค ร่วมกันดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแคมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักในการพัฒนาวัด คือ สะอาด ทำให้ร่มรื่น บูรณะแบบเชิงอนุรักษ์ เพื่อให้โครงสร้างสอดคล้องกันทั้งวัด สมกับเป็นวัดท่องเที่ยว ปัจจัยที่ญาติโยมถวายทำบุญต้องใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อ ๒ ปี ก่อนได้ย้ายและบูรณะศาลาการเปรียญ ที่มีอายุเกือบ ๑๐๐ ปี ใช้งบประมาณ ๒๓ ล้านบาท

ส่วนโบราณวัตถุที่ทรงค่าเป็นอย่างยิ่งของวัดแคพระครูโอ๋ บอกว่า ตู้หนังสือไม้สัก ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ พระราชทานแก่พระภิกษุคง รอยพระพุทธบาทสี่รอยเนื้อสัมฤทธิ์ ศิลปะยุคต้นรัตนโกสินทร์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย จีวรลายดอกพิกุล สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ระฆังทองเหลือง หม้อต้มกรักเนื้อสัมฤทธิ์ รวมทั้งต้นพระพุทธรูปใต้ต้นอชปาลนิโครธ ต้นไม้ในพุทธประวัติ ซึ่งเป็นต้นเดิมจากอินเดีย ที่พระปลัดสมัย พระจากวัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ปลูกถวายไว้เมื่อปี ๒๕๐๘ ทุกวันนี้ต้นไม้แผ่กิ่งก้านใหญ่โต สร้างความร่มเงาให้วัดเป็นอย่างยิ่ง


 :49: :49: :49: :49: :49:

"ปัญหาหนึ่งของการเผยแผ่พุทธศาสนา คือ ทำอย่างไรให้คนเข้าวัด และเมื่อคนเข้าวัดแล้วพระต้องคิดต่อว่าทำอย่างไรจึงจะได้ข้อคิดสาระธรรมเล็กๆ น้อยๆ ติดตัวกลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน ที่วัดแคมีคติธรรมและข้อคิดเล็กๆ น้อยๆ เขียนไว้ตามต้นไม้ทุกต้น คนมาเที่ยววัดแคเพียงอ่านและจำได้ข้อความเดียวแล้วไปทำตาม อาตมาถือว่าประสบผลในการเผยแผ่ธรรมแล้ว การหวังให้คนบรรลุธรรมจากการมาเที่ยววัดนั้นสูงเกินไป" พระครูโอ๋กล่าวทิ้งท้าย



จัดงานเด็กเพื่อดึงเด็กเข้าวัด
 
"๓๐๐ คัน" เป็นจำนวนจักรยานที่พระครูโอ๋จัดเตรียมไว้ให้เด็กๆ ใน จ.สุพรรณบุรี จับสลากในงานวันเด็กแห่งชาติ ทั้งนี้ พระครูโอ๋เริ่มจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓ เป็นงานเล็กๆ แจกจักรยานประมาณ ๕๐ คัน เนื่องจากเป็นปีแรกมีเด็กมาร่วมงานในหลักร้อยคนเท่านั้น เมื่อเข้าสูปีที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๔ จำนวนจักรยานเพิ่มเป็น ๑๐๐ คัน พร้อมกับแจกทุนการศึกษา ๒ แสนบาท ปรากฏว่ามีเด็กมาร่วมงานประมาณ ๑,๒๐๐ คน แม้ในปีน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.๒๕๕๖ วัดจะถูกน้ำท่วมแต่วัดก็ยังคงจัดงานวันเด็ก และในวันเด็ก พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งเป็นปีที่ ๖ แล้ว

พระครูโอ๋บอกว่า ครั้งแรกเตรียมของขวัญไว้ให้เด็ก ๕๐๐ ชิ้น เช่น จักรยาน ๕๐ คัน ตุ๊กตาแบบต่างๆ ประมาณ ๑๐๐ ตัว พัดลม ๕๐ ตัว รวมทั้งขนมขบเคี้ยวต่างๆ แต่เมื่อถึงวันงานจริงๆ ปรากฏว่า มีเด็กมาร่วมงานเกือบ ๑,๐๐๐ คน จึงต้องเพิ่มของขวัญอีก แม้ว่าไม่ได้ตามจำนวนเด็กที่มาร่วมงาน แต่ก็เชื่อว่าอย่างน้อยก็สร้างรอยยิ้มและความสุขให้เด็กๆ และผู้ปกครองได้ไม่น้อย


 :25: :25: :25: :25: :25:

สำหรับแรงบันดาลใจในการจัดงานวันเด็กของพระครูโอ๋เกิดขึ้นเมื่อ ๓๐ ปีก่อน พระครูโอ๋ บอกว่า ถึงวันเด็กคราวใดทำให้นึกถึงเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ทุกแห่งที่จัดงานจะมีรางวัลใหญ่เป็นรถจักรยาน ๒-๓ คันเท่านั้น แต่มีเด็กไปร่วมงานนับร้อยนับพันคน เมื่อรู้ว่าที่ไหนแจกจักรยานก็จะไปเข้าคิวรับสลากแต่เช้า รอถึงเย็นไม่เคยได้จักรยานเลยสักครั้ง เมื่อมีโอกาสจัดงานวันเด็กจึงเน้นแจกจักรยานเป็นหลัก ส่วนที่มาของปัจจัยนั้น มาจากงานบุญบำเพ็ญกุศลอุทิศดวงวิญญาณทารกที่เสียชีวิตจากการคลอดก่อนกำหนด ที่วัดจัดขึ้นทุกๆ ปี



พระขุนพลายแก้ว

"โครงการบูรณะหอสวดมนต์" เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของพระครูโอ๋ โดยจะบูรณะเชิงอนุรักษ์เช่นเดียวกับศาลาการเปรียญที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยไปเมื่อปีก่อนด้วยงบประมาณกว่า ๒๕ ล้านบาท แต่เนื่องด้วยการบูรณะหอสวดมนต์ซึ่งมีอายุเกือบ๑๐๐ ปี ซึ่งชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ต้องใช้งบประมาณกว่า ๒๐ ล้านบาท และเมื่อบูรณะไปแล้วในระยะ ๑๐ ปี ต้องบูรณะใหม่ ด้วยเหตุนี้พระครูโอ๋จึงประชุมกับคณะกรรมการวัดมีมติให้รื้อทิ้งและสร้างหอธรรมขึ้นใหม่

ขณะนี้วัดมีทุนประมาณ ๑ ล้านบาท และเพื่อให้การบูรณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทางวัดได้จัดสร้างหลวงพ่อคูณ รุ่น เศรษฐีไพศาล ประกอบดวย พระกริ่งชินบัญชรปริสุทโธ เหรียญหล่อเศรษฐีทวีคูณ เหรียญหล่อทานบารมี และเหรียญปั๊มมหาเศรษฐี ทั้งนี้ จะมีพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดบ้านไร่ อธิษฐานจิตโดยหลวงพ่อคูณ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗ และพิธีสมโภชมหาพุทธาภิเษก ณ วัดแค เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคมที่ผ่านมา


 :96: :96: :96: :96: :96:

วัดแคมีชื่ออยู่ในวรรณคดีขุนช้างขุนแผน กล่าวถึงวัดแคอยู่หลายตอน ด้วยเป็นวัดที่ขุนแผนได้มาเรียนวิชา เสกใบมะขามเป็นตัวต่อ ตัวแตน กับสมภารคง เพราะที่วัดแคมีต้นมะขามยักษ์ ขนาด ๙ คนโอบ อายุนับร้อยปี เชื่อกันว่าเป็นต้นเดียวกันกับที่สมภารคงได้ใช้สอนวิชาเสกใบมะขามเป็นตัวต่อ ตัวแตนให้สามเณรแก้ว หรือขุนแผน เมื่อครั้งมาจำพรรษาอยู่ที่วัด

อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระครูโอ๋จึงจัดสร้างพระขุนพลายแก้ว ทั้งนี้จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก พระขุนพลายแก้ว ในวันจันทร์ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๕.๐๐ น. เป็นต้นไป โดยผู้ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่วัด หลังเสร็จพิธีแจกฟรีพระขุนพลายแก้วลองพิมพ์ สีเขียว ให้แก่ผู้โชคดี และลูกอมเนื้อก้นครก (เนื้อเหลือจากการปั๊มพระ) ให้แก่คนที่อยู่ในงานเท่านั้น ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.๐๘-๔๗๖๘-๑๒๒๒ และ ๐๘-๕๔๒๗-๑๓๓๓


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20141219/197952.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลับหลังหันวัด..ภาระอันยิ่งใหญ่ ของ 'พระครูโอ๋'
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2014, 10:30:51 pm »
0
พระท่านนี้ก็ถือว่ามีบารมีในเรื่อง  สร้าง 

      ขอสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา