ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นอมตะของ "พระเจ้ากรุงธนบุรี"  (อ่าน 4655 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ความเป็นอมตะของ "พระเจ้ากรุงธนบุรี"
« เมื่อ: มกราคม 04, 2015, 01:04:32 pm »
0

ความเป็นอมตะของ "พระเจ้ากรุงธนบุรี"

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอาจารย์ปรามินทร์ เครือทอง วิทยากรผู้นำทัวร์ "จลาจลกรุงธนบุรี ปริศนาพระเจ้าตาก" ของสำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ที่ได้ให้ความรู้และเฉลยข้อสงสัยที่ค้างคาอยู่ในใจเกี่ยวกับพระเจ้ากรุงธนบุรี และ คุณเอก อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ แห่งสำนักพิมพ์มติชนที่ได้มอบหนังสือ "การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี" ของ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ มาให้อ่านเพิ่มเติม

ในบทนำของ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้เขียนไว้ว่า "จากการค้นคว้าและครุ่นคิดเกี่ยวกับพระเจ้ากรุงธนบุรีอยู่ประมาณ 5 ปี ทำให้ทัศนคติที่มีต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นเป็นไปในทางที่ลึกซึ้งขึ้น จนมองเห็น (หรือคิดว่ามองเห็น) ทั้งความอ่อนแอและความเข้มแข็งของพระองค์ มีความสามารถที่จะชื่นชมพระองค์ในฐานะมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่ทวยเทพที่จุติมาดับยุคเข็ญแก่มวลมนุษย์"


 :96: :96: :96: :96: :96:

ประเด็นที่สำคัญอยู่ตรงนี้นี่เอง คือการมองเห็นพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นมนุษย์มิใช่สมมติเทพ

การบรรยายของอาจารย์ปรามินทร์ก็ทำให้เราได้สัมผัสความเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรีในแบบเดียวกันพระเจ้ากรุงธนบุรีผู้เป็นทั้งวีรบุรุษผู้ช่ำชองการสงครามแต่ไม่ช่ำชองการเมือง และผู้มีทั้งความกล้าหาญและอ่อนแอ

พระเจ้ากรุงธนบุรีผู้ทำให้เรามองเห็นการมีอยู่ของระบบชนชั้นที่ฝังรากลึกในสังคมไทยจากสมัยโบราณจนถึงยุคปัจจุบันที่ยากจะบอกได้ว่าเมื่อใดจะมีระบบระบอบอื่นขึ้นมาเข้มแข็งกว่า



อาจารย์ปรามินทร์พาเราไปปะติดปะต่อเรื่องราวของการปฏิวัติกรุงธนบุรีโดยผ่านสถานที่ที่มีความเกี่ยวพันกับชีวิตของท่านเริ่มจากพระราชวังเดิมซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีและบัดนี้เป็นกองบัญชาการกองทัพเรือตั้งอยู่ติดกับวัดอรุณราชวรารามและหันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับบริเวณท่าเตียน

เชื่อกันว่าที่นี่คือที่ๆพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกประหารชีวิตณ บริเวณป้อมวิไชยประสิทธิ์ สาเหตุตามปรากฏในพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า ระหว่างที่มีการจลาจลที่เขมรและพระเจ้าตากสินให้พระยาจักรีไปปราบนั้น ในกรุงธนบุรีเองมีความสับสนวุ่นวายเพราะพระเจ้าอยู่หัวนั่งกรรมฐานเสียพระสติ สำคัญตนผิดว่าบรรลุโสดาบัน และปลดพระสังฆราชทำโทษให้ไปขนอาจม สิ่งนี้ประชาชนไม่พอใจ เป็นเหตุให้ประชาชน เสนาบดี สนับสนุนให้พระยาจักรีซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเดินทัพเข้ามาจัดการให้ยุคเข็ญสงบ และประหารชีวิตพระเจ้าตาก


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

วิสัยนักประวัติศาสตร์ อ่านพงศาวดารแล้วก็ต้องมีการหาหลักฐานอื่นๆ มาเทียบเคียงแล้ววิเคราะห์กันอีกที อาจารย์ปรามินทร์ได้วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามวันเวลาอะไรเกิดก่อนเกิดหลังแล้วก็พบความคลาดเคลื่อนของเหตุและผลของสิ่งที่เกิดขึ้น

สิ่งที่อาจารย์วิเคราะห์ก็เป็นสิ่งที่ผู้ร่วมทัวร์จำนวนไม่กี่คนมีอภิสิทธิ์ที่จะได้รับรู้และได้รับคำตอบต่อสิ่งที่เคยสงสัย

ไม่ใช่เรื่องราวของพระเอกผู้ร้ายที่ต้องตัดสินลงไปแต่เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นตามสถานการณ์ณ ห้วงเวลานั้นๆ ของบ้านเมืองและการเปลี่ยนแผ่นดินที่มีความคล้ายคลึงเกือบจะเรียกว่าเป็นสูตรสำเร็จตายตัวไม่ว่าจะยุคใดหรือประเทศไหน

สำหรับนักประวัติศาสตร์แล้วก็แทบจะหลับตามองเห็น การสังหารหมู่ การสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้ก้าวเข้ามาชิงอำนาจ และสร้างความไม่ชอบธรรมให้กับคนที่กำลังสูญเสียอำนาจ การสร้างวาทกรรมต่างๆ สนับสนุนความชอบธรรม ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ในวิถีทางการเมือง และเป็นเช่นนี้มาแต่ดึกดำบรรพ์



ในพระราชวังเดิมมีพิพิธภัณฑ์สองหลังมีลักษณะเป็นเก๋งจีนที่นี่แสดงผลงานของพระเจ้ากรุงธนบุรีโดยย่อ แบบเข้าใจง่าย เก๋งจีนทั้งสองหลังสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี กษัตริย์ในราชวงศ์จักรีได้เข้ามาประทับอยู่ในพระราชวังเดิมแห่งนี้หลายรัชกาล

ในปัจจุบันพระราชวังเดิมเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือและผู้บริหารพิพิธภัณฑ์คือมูลนิธิสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีซึ่งมีการบริหารจัดการที่ทันสมัย เช่นมีของที่ระลึกจำหน่ายตามแบบพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ทั่วไป ตัวพระราชวังเดิมมีความร่มรื่น ได้รับการดูแลภูมิทัศน์อย่างดี เป็นอีกแห่งที่น่าเข้าเยี่ยมชม


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

อาจารย์ปรามินทร์เล่าว่า ปัจจุบันหน่วยราชการต่างๆ ใช้งบประมาณในการทำพิพิธภัณฑ์กันอย่างแพร่หลาย ทำกันถึงระดับท้องถิ่น บางแห่งทำเสร็จก็ปิดประตูล็อกกุญแจ ไม่มีชีวิต

ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่าพิพิธภัณฑ์ใดจะได้รับการดูแลที่ดีขึ้นอยู่กับหน่วยราชการที่สังกัดซึ่งมีงบประมาณและบุคลากรเพียงพอคอยดูแลอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแห่งนี้ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ หรือวังจิตรลดาในบริเวณวังปารุสกวันซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ถือโอกาสประชาสัมพันธ์ในที่นี้ว่า วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม ในวันอื่นๆ หากต้องการเข้าชมต้องทำจดหมายเป็นหมู่คณะถึงกองทัพเรือ



ผู้ที่เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและอ่านข้อมูลต่างๆจะค่อยๆซึมซับคุณูปการของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีต่อชาติไทยทุกวันนี้ การทำศึกตลอดระยะเวลายาวนาน 15 ปีเพื่อรักษาและขยายอาณาเขตของไทยเพื่อส่งต่อให้กับราชวงศ์จักรี

ในสมัยของพระองค์อาณาเขตของประเทศไทยทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนาทิศใต้จรดเมืองไทรบุรี ทิศตะวันออกจรดญวณใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเวียงจันท์ หัวเมืองพวน และหลวงพระบาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดเมืองพุทไธมาศ ทิศตะวันตกจรดมะริดและตะนาวศรี ออกมหาสมุทรอินเดีย

จุดเด่นของพระเจ้ากรุงธนบุรีคือความเป็นนักรบ แต่จุดด้อยคือความเป็นนักปกครอง และจุดอ่อนอีกประการหนึ่งคือชาติกำเนิดซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จุดด้อยและจุดอ่อนสองประการหลังนั้นได้พาท่านไปสู่จุดจบของแผ่นดิน


 :25: :25: :25: :25: :25:

ความเป็นนักรบความกล้าหาญและความเสียสละของท่านทำให้พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นวีรบุรุษในดวงใจของคนไทย แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่น่าสรรเสริญยิ่งคือการรู้จักเวลาของตนเอง

ในพงศาวดารหลายๆ ฉบับเล่าถึงการยอมจำนนของท่าน เมื่อพระยาสรรค์ยึดกรุงธนบุรี ด้วยคำพูดกับแม่ทัพผู้จงรักภักดีว่า "สิ้นบุญพ่อแล้ว อย่าให้ยากแก่ไพร่เลย" เป็นสัญญาณให้ยอมแพ้นั่นเอง


ในหนังสือ "ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี" ของ อาจารย์ปรามินทร์ เครือทอง ได้กล่าวอ้าง "พงษาวดารกรุงกัมพูชา" (กัมพูชาขณะนั้นขึ้นอยู่กับกรุงธนบุรี) ถึงพระราชดำรัสอันเป็นปัจฉิมก่อนการสละราชบัลลังก์ ซึ่งไม่มีการยืนยันว่าใกล้เคียงความเป็นจริงแค่ไหน

แต่สิ่งที่อาจารย์ปรามินทร์ชี้ให้เห็นคือ การที่ขณะนั้นพระองค์ไม่น่าจะมีพระสติฟั่นเฟือนหรือคลุ้มคลั่งแต่ประการใดกลับรู้ด้วยซ้ำว่า พระองค์ถูกหาว่าเป็นบ้า

"กูวิตกแต่ศัตรูมาแต่ประเทศเมืองไกล แต่เดี๋ยวนี้ไซ้ลูกหลานของกูเอง ว่ากูคิดผิดเปนบ้าเปนบอแล้วดังนี้ จะให้พ่อบวชก็ดี ฤๅจะใส่ตารางพ่อก็ดี พ่อจะยอมรับทำตามใจลูกบังคับทั้งสิ้น"


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

ทั้งหมดนี้สะท้อนตัวตนของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่รู้จักพระองค์และที่สำคัญที่สุดคือรู้เวลาของพระองค์เป็นการรับรู้ที่ทำให้พระองค์เป็นTragic Hero ในภาษาการละคร เช่นเดียวกับมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายที่ยอมรับชะตากรรมโดยดุษฎี ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงเป็นที่จดจำของคนไทยทั้งๆที่ความจริงเกี่ยวกับพระองค์ไม่เป็นที่รู้กันมากนัก

อาจารย์นิธิ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ใน "การเมืองสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี" ว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์เดียวที่มีรูปเคารพ อนุสาวรีย์ไม่ว่าเล็กใหญ่ ศาลเพียงตา หรือสิ่งแทนพระองค์ที่ทำให้รำลึกถึงพระองค์มากกว่ากษัตริย์พระองค์อื่นๆ



พูดง่ายๆ ก็คือพระองค์มี "แฟนคลับ" หรือชมรมคนรักพระเจ้าตากนั้นมีอยู่ไม่น้อย มีแบบเงียบๆ แต่เหนียวแน่น

สิ่งที่ตรงข้ามกับแฟนคลับอันมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศคือการที่เราไม่พบว่ามีตระกูลใดในปัจจุบันที่เป็นเชื้อสายพระเจ้าตากซึ่งเป็นเรื่องที่น่าหยุดคิดและหาข้อมูลมาศึกษา

เรื่องราวของประวัติศาสตร์คือการสืบค้นเรื่องราวความเป็นจริงที่ทำให้เรารู้จักตัวเองและบรรพบุรุษของเรามิใช่นำมันมาเป็นเรื่องเจ็บร้อนอาฆาตแค้น หรือแม้แต่นำมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง

แต่คือการยกย่องในความเสียสละและความดี รวมทั้งเข้าใจในความผิดพลาดและความจำเป็นของทุกๆ ฝ่ายที่ต้องทำเพื่อรักษาชาติบ้านเมืองในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์

คอลัมน์ : โลกหมุนเร็ว
เพ็ญศรี เผ่าเหลืองทอง: ความเป็นอมตะของพระเจ้ากรุงธนบุรี
มติชนสุดสัปดาห์ 28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2557
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1417543386&grpid=03&catid=&subcatid=
ขอบคุณภาพจาก
http://www.matichon.co.th/
http://www.upyim.com/
http://buddhasattha.com/
http://www.weddinghitz.com/
http://paramate.files.wordpress.com/
http://123.242.165.136/photo_gallery/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ชมภาพมุมสูง พระราชวังกรุงธนบุรี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 04, 2015, 01:37:44 pm »
0












ชมภาพมุมสูง พระราชวังกรุงธนบุรี
ประชาชนจำนวนมากเข้าถวายสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายในพระราชวังกรุงธนบุรีหรือพระราชวังเดิม พร้อมเที่ยวชมโบราณสถานภายในพระราชวังฯ บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ริมแม่น้ำเเจ้าพระยา เนื่องในวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 28 ธันวาคม/ ภาพ กฤษณ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร


ที่มา www.posttoday.com/รูปภาพ/ภาพข่าว/338135/ชมภาพมุมสูง-พระราชวังกรุงธนบุรี
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเป็นอมตะของ "พระเจ้ากรุงธนบุรี"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 04, 2015, 01:52:28 pm »
0
 thk56 thk56 thk56

  ส่วนตัว คิดว่า เรื่อง ของพระเจ้า ตาก เป็นเรื่อง ที่ คิด และ ติดตามได้ยาก คะ มีตำนาน เล่าแตกต่างกันไป จนไม่รู้ว่า จะเชื่อ แบบไหน กันแล้ว เหมือนดูหนัง เรื่อง มหานเรศวร เช่นกัน ประวัติศาสตร์ กับ ภาพยนต์ มันไม่ตรงกัน เป็นจำนวนมาก เลยไม่รู้ว่า จะเชื่อแบบไหน ดี

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเป็นอมตะของ "พระเจ้ากรุงธนบุรี"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 05, 2015, 09:07:40 am »
0
นับว่าท่านเป็นกษัตริย์ที่มีเมตตาสูงมาก และบารมีธรรมนั้นก็น่าเคารพนับถือยิ่ง

    เรื่องจิตใจ ที่เด็ดเดี่ยว สมกับวีรบุษของชาติทั้งเป็นมหาราชแห่งชาติสยามประเทศนี้

  เรื่องเกียรติยศนั้นอธิบายพระองค์ท่านได้ไม่หมดจริงๆ

           จะกระทําการสิ่งใดในโลกที่มีอุปสรรคให้มีผลสําเร็จ   ผู้คนมักจะไปบนบาลศาลกล่าวกับพระองค์ท่าน มากพอสมควรทีเดียว


              สาธุ  สาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา