ประวัติย่อพระพุทธบาท ๔ รอย พระธาตุเชิงชุม
พระธาตุเชิงชุม ประดิษฐานอยู่บนเนินสูง ในวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ริมหนองหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จจากพระวิหารเชตวัน มาทางดินแดนทางทิศตะวันออก เพื่อโปรดสัตว์ เมื่อเสด็จตามลำแม่น้ำโขง ก็ได้ประทับรอยพระพุทธบาทมาตามลำดับ มีพระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนเพล พระพุทธบาทเวินปลา แล้วมาพักฉันภัตตาหารที่ภูกำพร้า อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม จากนั้นได้เสด็จไปโปรดพระเจ้าสุวรรณภิงคาระ และได้ประทับพระพุทธบาทที่ภูเขาน้ำลอดเชิงชุม รวมกับพระพุทธบาทของ อดีตพระพุทธเจ้าองค์ก่อนอีก ๓ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าพระนามกกุสันธะ พระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมะ และพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ
เมื่อพระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงทราบข่าว จึงได้เสด็จออกต้อนรับ พร้อมทั้งพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี *พระพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์ให้พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น จึงทรงแสดงปาฏิหารย์บันดาลให้มีดวงมณีรัตน์มีรัศมี พวยพุ่งออกจากพระโอษฐ์พร้อมกันสามดวง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ก็บังเกิดศรัทธา เปล่งวาจาสาธุการด้วยความปิติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ณ ที่นี้เป็นสถานที่อันอุดมประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ จะได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้ เพื่อเป็นที่สักการะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย 
พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ บังเกิดความปิติโสมนัสจึงได้ถอดมงกุฎทองคำของพระองค์สวมลงบูชารอยพระพุทธบาท แล้ว ทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้ จึงได้ชื่อว่า พระธาตุเชิงชุม แต่นั้นมาเนื่องจากเป็นที่ชุมนุมของพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์
พระธาตุเชิงชุม เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม สูง ๒๔ เมตรเศษ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์ มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท ข้างในทึบ สร้างด้วยศิลาแลง และหินทรายแดง ส่วนที่เห็นอยู่ปัจจุบันเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ ครอบองค์เดิมไว้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างสมัยใด ประตูด้านทิศตะวันออกที่เชื่อมต่อกับพระวิหาร จะมีซุ้มเป็นคูหาลึกเข้าไป ด้านขวามือมีศิลาแลง จารึกอักษรขอมติดอยู่ตัวอักษรลบเลือนมาก อ่านไม่ออกทางเข้าที่อยู่หลังพระประธานภายในอุโบสถ
ภายในจะเก็บพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า ๔,๐๐๐ ปี และของมีค่าปกติจะไม่เปิดให้เข้า
เมล็ดข้าวเหนียวอายุ ๒,๐๐๐ ปี(ข้าว ๑ เม็ด)
พระบรมสารีริกธาตุที่คนนำมาถวายไว้
พระอุโบสถหลังเดิมหรือสิมเก่า มีลักษณะเป็นสิมแบบโถง โครงสร้างเป็นไม้ก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นกระเบื้องไม้แบบเดิม หันหน้าไปทางทิศใต้ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๐ ครั้งพระธานีเป็นเจ้าเมือง ภายในมีจิตรกรรมเป็นภาพเถาไม้เลื้อยเป็นแนวรอบอาคาร หน้าบันมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดา ดาวประจำยาม มังกรและเถาไม้เลื้อย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ ทั้งที่สร้างด้วยไม้และเป็นปูนปั้น ภายในพระวิหารประดิษยฐาน หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนครงานมนัสการพระธาตุประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๑ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ในวันเริ่มงานจะมีการจุดพลุ ย่ำฆ้องกลองเป็นที่เอิกเริกวันสุดท้ายของงานตอนเช้า จะมีการตักบาตรพระสงฆ์รอบองค์พระธาตุ ตอนบ่ายจะมีการสรงน้ำองค์พระธาตุ กลางคืนมีการประกวดขบวนแห่โคมไฟ จากนั้นก็มีการจุดบั้งไฟและไฟพะเนียงขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.danpranipparn.com/web/pratttas/pratta15mini1.html