ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความ "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ"  (อ่าน 3029 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29346
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ความ "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ"
« เมื่อ: มีนาคม 27, 2015, 10:28:56 am »
0

ความ "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ"
โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

"สังคม" คน หรือ "มนุษย์" แม้แต่...สังคมคนดึกดำบรรพ์ เขาว่ากันว่า...
สังคมที่มี "ความถูกต้อง" แต่ไม่ถูกใจ...สังคมนั้นพออยู่ได้
แต่ถ้าสังคมมี "ความถูกใจ" ...แต่ไม่ถูกต้อง...สังคมอยู่ลำบาก
แต่ถ้าสังคมมีทั้ง "ถูกต้องและถูกใจ" ...นั้นดีที่สุดแน่...สังคมอยู่รอดและเป็นที่ปรารถนาของทุกฝ่าย"

คำสองคำ "ถูกต้อง" และ "ถูกใจ" นี้เป็นคำที่มีความหมายอย่างมาก "ถูกต้อง" ภาษาอังกฤษคำกริยาใช้คำว่า Right, Allright หรือ be correct (ถูก, ชอบ, ควร) "ถูกใจ" ภาษาอังกฤษคำกริยา ใช้คำว่า Like (ชอบ ชอบใจ ถูกอกถูกใจ) หากแต่การใช้คำใดคำหนึ่งนั้นมีผลเป็นเชิงบวก (Positive) คือ "ถูกต้อง" และ "ถูกใจ" และเชื่อว่าทุกคนที่เป็นปุถุชนคนธรรมดา แม้แต่ผู้ดี มากยศ มากทรัพย์ หรือแม้แต่ยาจก ไพร่ก็อยากได้อยากมี อยากให้เกิดกับตัวเอง ชุมชน องค์กร และสังคมนั้นอยู่แน่นอน เพราะจะนำมาซึ่งความปกติสุข สงบ และร่มเย็น

เช่นหญิงชายคบกันเป็นแฟนกัน รักกันใหม่ๆ เหมาะสมคบกันได้ พูดจา เห็นตารู้ใจดีไปหมด ก็รู้สึกปิ๊งเบื้องต้น ของอารมณ์แปลว่า "ถูกใจ" ... ในระหว่างคนสองคน คบกันอย่างพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ พอมีความสุข สดชื่น ตามควรแก่อัตภาพ แต่ว่าสองชายหญิงนี้ยังไม่สามารถที่จะก้าวล่วงเลยไปถึงความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกว่าที่ควรจะเป็นต้องทำในสิ่งที่ "ถูกต้อง" เสียก่อนตามวัฒนธรรมไทยๆ มิฉะนั้นจะนำสู่ปัญหาของชีวิตภายหลัง

 ask1 ans1 ask1 ans1

อะไร...คือ "ความถูกต้อง" ล่ะ? ระหว่าง นาย (ก) นางสาว (ข) ก็ต้องรู้ว่า "ความถูกต้อง" เบื้องต้นของชีวิตคู่คืออะไร? ว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีไทยเรา หรือแม้ฝรั่ง แขก จีน...ก็คงจะเหมือนๆกัน ยกเว้นสัตว์...เท่านั้น ทั้งสองฝ่าย นาย(ก) & นางสาว(ข) ต้องพาไปพบคุณพ่อคุณแม่ทั้งสองฝ่ายเบื้องต้นก่อน เพื่อผ่านการเซ็นเซอร์ว่าโอเคไหม

ผู้เขียนเชื่อว่า พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายคงจะต้องดูโหงวเฮ้ง พ่อแม่ฝ่ายหญิงก็ดูว่าที่ "ลูกเขย" ว่าใช้ได้พอจะนำพาลูกสาวไปได้ตลอดรอดฝั่งไหม น่าเชื่อถือไหม ไว้ใจได้ไหม พ่อแม่ฝ่ายชายก็เหมือนกัน ก็คงดูโหงวเฮ้งว่าที่ "ลูกสะใภ้" ว่ามีบุคลิกหน้าตาพิกลพิการไหม สูงต่ำ ดำขาว อย่างไร กิริยามารยาท การพูดจานิ่มนวลไหม พอเป็นกุลสตรี หญิงในฝันของลูกชายเราได้หรือเปล่า ยกเว้นจิตใจ จิตวิญญาณเป็นอย่างไร พ่อแม่สองฝ่ายคงไม่ได้เซ็นเซอร์ด้วย ให้ทั้งคู่ไปดูกันเอาเอง ประมาณว่าคงไปเสี่ยงเอา ถ้าดี ดีมาก ก็ดูเหมือนถูกหวยรางวัล 2 ตัว 3 ตัว ถ้าไม่ดี ใจร้าย เจ้าอารมณ์ ก็ถือว่าซื้อหวยผิดไปไม่ถูกแม้เลข 2 ตัว หรือตัวลอยในงวดนี้ ให้ทั้งคู่คงต้องรับผิดชอบกันเอาเองก็แล้วกัน

เมื่อผ่านการเซ็นเซอร์จากคุณพ่อคุณแม่สองฝ่ายว่าด้วยวัฒนธรรมไทยๆ แล้วก็ต้องเข้าสู่กระบวนการว่าด้วยธรรมเนียมประเพณีและข้อกฎหมายครอบครัวพึงปฏิบัติ หลังจากคบกันไปสักระยะหนึ่ง (6 เดือน 1 ปี 2 ปี...) ตกล่องปล่องชิ้นกัน แล้วก็ฝ่ายชายก็จะส่งผู้ใหญ่หรือคุณพ่อคุณแม่ไปเจรจาสู่ขอหมั้นและขอแต่งงานกันตามเศรษฐานะของแต่ละฝ่ายด้วยสินสอดทองหมั้น (ถูกต้องตามวัฒนธรรมไทย) ฉลองงานแต่งด้วยโต๊ะจีน บุฟเฟต์... จดทะเบียนสมรส (ถูกต้องตามกฎหมาย)... ส่งตัว "เข้าหอ"...อีก 1 ปีถัดไปก็ได้ "เจ้าทารก"... "ทายาท" ไว้สืบสกุลตัวน้อยๆ หญิงก็ได้ชายก็ดี เพื่อจรรโลงตระกูลของเขา...ต่อไป



แต่สองคำนี้เกิดไม่ไปด้วยกัน เช่น ว่ามีคำบุพบท...หรือ คำสันธาน และคำปฏิเสธ เชื่อมกับ เช่น "แต่...ไม่" หรือ "และ...ไม่" เข้ามากั้นกลางที่ใดที่หนึ่ง ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้น เป็น 4 กรณี
     - กรณี A ถูกใจ แต่ไม่ถูกต้อง
     - กรณี B ถูกต้อง แต่ไม่ถูกใจ
     - กรณี C ไม่ถูกใจ และไม่ถูกต้อง
     - กรณี D ไม่ถูกต้อง และไม่ถูกใจ
ซึ่งเรื่องสมมุติระหว่าง นาย (ก) กับนางสาว (ข) ก่อนหน้านี้ "ความถูกใจ" มาก่อนและมา "ถูกต้อง" ทุกอย่าง โอเคหมดเลย หรือหากเริ่มที่มาจาก "ถูกต้อง" มาก่อนแล้วมา "ถูกใจ" ตอนหลังก็ยิ่งโอเคใหญ่เลย

ทั้ง 4 กรณีที่เกิดกรณีหญิงชายคู่นี้ ถ้าเกิดขึ้นแล้วมีปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่ "ตัวบุคคล" ... ถึง "คู่กรณี" ...ถึง "ครอบครัว" (พ่อแม่) เหตุการณ์ดังกล่าวถามว่า...หากเกิดขึ้น...ผลย่อมมีแน่นอน เราลองดูว่าโอกาส...เกิดอะไรได้บ้าง
    ถ้ากรณี A: หญิงชายทั้งคู่มาแบบถูกใจทั้งคู่ แต่ก็ยังคบกันตามครรลองอะไรไม่ทราบเกิดไม่ "ถูกต้อง" ขึ้นมา ทั้งคู่จะแต่งงานอยู่ด้วยกันหรือไม่? ซึ่งเข้ากระบวนการ "ตัดสินใจ" ต่อไป...จะตกลงอย่างไรดี
    ถ้ากรณี B: หญิงชายดำเนินมาตามขั้นตอนทุกขั้นตอนของวัฒนธรรมและกฎหมายพึงปฏิบัติถูกต้อง แต่ทั้งคู่ไม่ถูกใจกันหรือพ่อแม่ไม่ถูกใจขึ้นมา ซึ่งเข้ากระบวนการตัดสินใจ...? ต่อไป...จะลงเอยอย่างไรดี
    ถ้ากรณี C, D: ก็คงชัดเจนในคำตอบเบ็ดเสร็จอยู่นัยว่ามีปัญหาร้อยเปอร์เซ็นต์กับ "ครอบครัว"อย่างแน่นอน ทั้ง 4 ประเด็นที่กล่าวมาคือ ประเด็นที่เราพบเสมอๆ แม้แต่ในชีวิตประจำวันของตัวเรา ครอบครัว ชุมชน องค์กร สังคมไทย แม้กระทั่งระบบการเมืองการปกครองของเราในวันนี้ปัจจุบันนี้ ซึ่งยังไม่มีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ... แม้แต่การเมืองในระดับโลก ภูมิภาค ก็ยังเป็นอยู่ในปัจจุบัน...

    เช่น ข่าวพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ "มติชน" ฉบับวันมาฆบูชา 4 มีนาคม 58 ระบุว่า สนช.ถอย สั่งเครือญาติ รีบไขก๊อก เร่งสลายโฉ่สภาลูกเมีย..." กรณีนี้เช่นกัน ถูกต้อง?...หรือถูกใจ?...


 :25: :25: :25: :25:

ได้อ่านหนังสือ 86 ปี พระธรรมสิงหบุราจารย์ กฎแห่งกรรม...ธรรมปฏิบัติ วันอัมพวัน สิงห์บุรี ได้ระบุว่า... "พ่อแม่" เท่านั้นนะที่ต้องสร้าง "ความดี" ให้กับ "ลูก" ความ "ถูก" ให้กับ "หลาน" อาตมาไม่ตำหนิเด็ก ๆ เลย แต่กำหนดในใจว่าพ่อแม่เขาสอนลูกมา ไม่เคยปลูกสร้างนิสัยลูกเลย จะเสียใจภายหลัง หากถามว่า...

เด็กมากมายในโรงเรียนเป็นเด็กดีทุกคนไหม...ไม่ทุกคนจะตอบอย่างนี้
เพราะเหตุใดจึงไม่ดีทุกคน เพราะ "พ่อแม่" ไม่เหมือนกัน
บางบ้าน "พ่อแม่" เขาดี เขาสอนลูกเขาดี มาโรงเรียนก็ดีเข้าวัดเสมอ บางบ้านพ่อแม่ไม่เอาไหน ลูกจะมาวัดก็ห้าม ลูกจะมาบวชชีพราหมณ์ก็ห้าม อย่ามา

นี่เป็นที่พ่อแม่แน่นอนแล้ว ไม่ใช่เด็ก เด็กไม่รู้เรื่องอะไร ไม่รู้ประสาเหมือนนกอยู่ในกรง โยมรีบสอนนะ สอนไปก่อนเถอะ พอนกมันโตแล้ว มันรู้เอง มันจะมีความเข้าใจต่อภายหลัง"



อีกเรื่องหนึ่ง คือ ไม่ใช่คนมานั่งที่วัดแล้วจะดีเสมอไป บ้างมานั่งหลับหูหลับตา เช่น พอมาบวชพราหมณ์แล้วกลับไปเรียกลูกหลานมานั่งเต็มบ้าน พนมมือเข้าบอกว่า ย่าจะเอาบุญมาฝากลูกหลาน มานั่งแล้วก็สาธุ แล้วก็ได้บุญ ทำอย่างนี้ไม่ได้นำบุญมา หากจะเป็นบุญแท้จะต้องเอาธรรมะที่พระท่านสอนอบรมมาว่าอย่างไร เทศน์อย่างไร สรุปง่ายๆ คือ เอาธรรมะไปสอนลูกหลานต่อ

บางคนไปวัดมา 7 วัน กลับมาก็เรียก "สามี" ลูกหลานมาล้อมวง บอกว่าไปวัดได้บุญมา เอาบุญมาให้ เอาบุญมาฝาก ทุกคนก็สาธุๆ เออได้แล้ว แต่พอตกเย็นสามีแกก็ไปกินเหล้า วันนี้จะไปเล่นไก่สักหน่อย ตีไก่ชนแน่เลย ปรากฏว่าเสียหมดแพ้ วิ่งกลับมาขอยืมตังค์เมียหน่อย ถามว่าบุญอยู่ตรงไหน

หลวงพ่อบอกว่า ต้องเผยแผ่ธรรมให้เขาดู ชี้แจงให้เขาฟัง ให้เขาเข้าใจ เอาตาชั่งขึ้นมาดู เอาตาชูขึ้นมาชั่ง อย่างนี้เรียกว่า "เข้าวัด" ข้อฝากของหลวงพ่อเป็นข้อคิด คนส่วนใหญ่ไปวัด 9 วัด 10 วัด จะชอบซื้อของกินของฝากจากหน้าวัด เช่น มีขนมไปฝากกัน แต่ "ของดี" ที่เป็น ธรรมะ ไม่ค่อยจะมีใครเอาไปฝากกัน...แต่ทุกวันนี้คนตื่นตัวไปวัดกันมาก เช่น ทำบุญ 9 วัด ทำบุญ 10 วัด ทำบุญที่อินเดีย เนปาล ดินแดนแห่งต้นกำเนิด "พุทธศาสนา"... เหตุด้วย เชื่อว่า


 ans1 ans1 ans1 ans1

หนึ่ง เกิดมาทั้งทีมาวัด ให้เกิดประโยชน์กับตน คือมาทำกุศลภาวนา ตอนอยู่บ้านนั้นมักจะใช้เวลาใช้ชีวิตจอมปลอม หลอกลูกๆ หลานๆ มาช้านานก็มาใช้ชีวิตในวัด
สอง ชีวิตจริงคืออะไร คือ มาใช้ชีวิตด้วยความ "ถูกต้อง" ในสังคมที่ "ถูกต้อง" ดีงาม สาม สังคมที่ถูกต้องดีงามนี้คืออะไร

คนที่มาวัดนี้ มาอยู่กันมาก เป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน นั่นคือ "สังคม" เรียกว่าสังคมของ "สังฆะ" คือ หมู่ชนผู้มี "จิตประเสริฐ" คนที่อยู่ตามบ้าน ระหว่างลูกหลาน สามีภรรยา เจ้านาย ผู้บังคับบัญชา ไม่ใช่สังคมของผู้มีใจประเสริฐ เพราะมักมีทะเลาะกัน อิจฉาริษยากัน ปากพูดดีแต่มือถือมีดด้านหลัง ด่าลูก ด่าหลาน ไม่พัก สามีภรรยาก็ทะเลาะกัน เป็นต้น

"สงฆ์" แปลว่าอะไร ถ้ามีเพียงแค่เป็นพระภิกษุรูปเดียว แต่ใจไม่ปฏิบัติไตรลักษณ์ ไม่ปฏิบัติคุณธรรมให้เป็น "พระ" จะเรียกว่าสังคมผู้มีจิตประเสริฐไม่ได้ ส่วนพระอิฐพระปูน พระทองคำ พระทองเหลือง พระทองแดง ก็เช่นกัน ไม่เรียกผู้มีใจประเสริฐ ต้องดูวิธีปฏิบัติด้วย



หลวงพ่อเคยถามว่า โยมมาวัดทำไม.?
คำตอบ คือ มาหาความถูกต้อง ใช้ชีวิตจริงของสังคมของผู้มีใจประเสริฐ คือ "สังฆะ" หมู่ของสงฆ์ หมู่บุคคลผู้ทรงศีลทรงธรรม แม้รูปภายนอก คือ นุ่งขาวห่มขาว เมื่อปฏิบัติสืบมาก็เกิด "คุณธรรม" ทำจิตใจให้เบิกบานและใจประเสริฐ

เรามาอยู่รวมกันเหมือนพี่เหมือนน้อง เหมือนญาติกับรักกันกลมเกลียวกันเป็นอันเดียวกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน ด้วยจิตเมตตากรุณา อยู่ด้วยกันจิตใจประเสริฐ ในเป็นธรรม เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า ธรรมทายาทของพระพุทธศาสนา ชักนำเหล่าพุทธบริษัทเข้ามาสู่พระพุทธศาสนา เป็นกิจกรรมของผู้เมตตา ผู้ทรงศีลธรรม เป็นกิจกรรมที่ประเสริฐ ล้ำเลิศ ทุกประการ คนที่จะมาอยู่ในสังคมนี้อย่ามาทำให้กิจกรรมเขาเสียหาย เมื่อกลับไปบ้านแล้ว ก็ขอให้คงสภาพให้ดีเหมือนเดิม หรือดีขึ้น หมั่นปฏิบัติตัวเองต่อที่บ้าน

ต้องหมั่นฝึกฝน อบรม ต้องสอนต้องสั่ง อบรมการใช้ "ศีล สมาธิ ปัญญา" ต้องสร้างศีลให้กับตัวเอง สร้างสมาธิให้กับตนเอง ต้องสร้างปัญญาให้กับตัวเอง


 :96: :96: :96: :96:

ผู้เขียนใคร่ขอสรุปว่า "พ่อ แม่" มีหน้าที่พึงปลูกจิตสำนึกกล่อมเกลา ลูกๆ หลานๆ ด้วยนำพา บุตร หลาน เข้าโรงเรียนเข้าวัด รวมทั้งครูที่โรงเรียนก็ต้องระลึกเสมอว่า เด็กๆ ทุกคนในโรงเรียนเป็นลูกของเรา เราเป็นพ่อแม่คนที่สอง พึงระลึกเสมอว่า "ลูกท่านคือลูกเรา"...หน้าที่เรา คือ "แสงเทียน" ครูต้องเป็นผู้สร้าง "แสงเทียนแสงธรรมแสงแสงสว่างแห่ง "ปัญญา" ให้ "ปัญญา" กับเด็ก

นอกจากนี้พ่อแม่ผู้ปกครองต้องนำพาบุตรเข้าวัด ปลูกสร้างพฤติกรรม นิสัยชอบเข้าวัดให้เขาเห็น เขาชอบเขารัก ถึงเวลาอยากเข้าวัด จนเกิดการรู้ตระหนักว่านั่น คือ "หนทางแห่งความสงบสุข" เมื่ออยู่บ้าน ก็ฝึกฝนอบรมปลูกฝังให้ลูกได้สร้างชีวิตเขาให้เกิด "ศีล สมาธิ ปัญญา"

กรรมดี บุญดี...ต้องสร้างเอง ไม่มีใครทำให้ได้เลย และแล้วความ "ถูกต้อง" ในชีวิตก็คือ ปฐมบทจะค่อยปลูกฝังให้ลูกของท่านทุกคนมีพื้นฐานด้วยความ "ถูกต้อง" นั้นสำคัญยิ่งในชีวิต ส่วนความถูกใจเป็นเรื่องลอง แล้วลูกท่าน ครอบครัวท่านรวมถึงประเทศไทยของเรา ก็จะมีความสงบสุขไงเล่าครับ


นพ.วิชัย เทียนถาวร
อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข


ที่มา : มติชนรายวัน 18 มีนาคม 2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1426672012
ขอบคุณภาพจากท่าน "ปัญญสโก ภิกขุ"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 27, 2015, 10:37:59 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความ "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 28, 2015, 05:53:19 pm »
0
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ