ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘ชเวดากอง’ พุทธวิถีแห่งเมียนมาร์  (อ่าน 1415 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 29314
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
‘ชเวดากอง’ พุทธวิถีแห่งเมียนมาร์
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2015, 10:08:55 am »
0


‘ชเวดากอง’ พุทธวิถีแห่งเมียนมาร์

สถานที่แห่งนี้มีบทบาทมากกว่าแค่มิติความเชื่อทางศาสนาของประชาชน แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองด้วย

แผ่นทองคำสุกปลั่งจำนวนมาก ถูกบรรจงติดลงโดยรอบพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเมียนมาร์ที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางนครย่างกุ้ง ซึ่งไม่เพียงเป็นศาสนสถานที่สำคัญ แต่ยังถูกใช้เป็นฉากหลังในเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีตด้วย


 :96: :96: :96: :96:

ตำนานเล่าว่า เจดีย์ชเวดากองเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ทำให้นักแสวงบุญจากทั่วทุกสารทิศต่างเดินทางมาเคารพสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ขณะที่ความงดงามในฐานะสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ก็เป็นที่เลื่องลือไม่แพ้กัน ผู้มาเยือนจากต่างแดนต่างกล่าวขวัญถึง ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนชื่อดังในอดีตอย่างรัดยาร์ด คิปลิง หรือแม้กระทั่งประธา นาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ

สถานที่แห่งนี้มีบทบาทมากกว่าแค่มิติความเชื่อทางศาสนาของประชาชน แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองด้วย เมื่อนาง ออง ซาน ซูจี ผู้ขับเคลื่อนประชาธิปไตยคนสำคัญของเมียนมาร์ ใช้ที่นี่เป็นเวทีแห่งแรกของการกล่าวปราศรัยทางการเมือง ท่ามกลางการเคลื่อน ไหวของขบวนนักศึกษาเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารเมื่อปี 2531 และอีกครั้งเมื่อชเวดากองถูกเลือกเป็นจุดรวมพลในการประท้วงของพระสงฆ์เมื่อปี 2550


 :25: :25: :25: :25:

แม้จะยิ่งใหญ่เพียงใด แต่ก็ไม่อาจต้าน ทานความร่วงโรยตามกาลเวลาอันเป็นสัจธรรมได้ การบูรณะที่มีขึ้นทุก ๆ 5 ปี รอบล่าสุดมีกำหนดเสร็จสิ้นในปีนี้ แผ่นทองคำที่ได้รับบริจาคมามีมากถึง 16,000 แผ่น เกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้มาก สำหรับชาวเมียนมาร์ การได้มีส่วนร่วมในการบูรณะมหาเจดีย์นับเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ โพน มยินต์ ธวิน วัย 40 ปี กล่าวว่า สำหรับเขาแล้ว การเปิดรับบริจาครอบนี้มาถึงในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดี ดังนั้นเขาจะไม่ยอมพลาดโอกาสนี้อย่างแน่นอน



คติความเชื่อที่อยู่เบื้องหลัง คือความปรารถนาที่จะให้ผลบุญกุศลและสิ่งดี ๆ ที่เกิดจากการกระทำนี้ ถูกส่งไปยังบรรพบุรุษหรือบุคคลอันเป็นที่รักผู้ล่วงลับ นอกจากนี้อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญ คงเป็นความอิ่มเอมใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำนุบำรุงสถานที่สำคัญ ที่เปรียบได้กับสัญลักษณ์และศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ

ทองคำมีบทบาทสำคัญในเมียนมาร์มาตั้งแต่ยุคอาณานิคมจวบจนกระทั่งปัจจุบัน เห็นได้จากคำว่า “ชเว” ซึ่งแปลว่าทอง ที่ยังคงนิยมนำมาใช้ตั้งชื่อเด็กผู้หญิง โดยสื่อถึงสิ่งที่ดีและมีคุณค่า การเลือกประดับองค์เจดีย์ด้วยทองคำ ก็เปรียบได้กับการคัดสรรสิ่งที่ดีเพื่อใช้เป็นเครื่องบูชา


 :96: :96: :96: :96:

สิ่งที่เคียงคู่มากับธรรมเนียมนี้คืออาชีพช่างทำทองที่ส่งต่อมรดกทางภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น การแปรรูปทองคำให้กลายเป็นแผ่นบาง ๆ เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะอย่างมาก ท่ามกลางการแข่งขันในยุคอุตสาหกรรมที่เครื่องจักรทำได้ทุกอย่าง งานฝีมือจากช่างผู้ชำนาญยังคงเป็นที่ต้องการของผู้ที่มองหาสิ่งที่ดีที่สุด



สนนราคาของแผ่นทองคำอยู่ที่ประมาณ 600,000 จ๊าดต่อแผ่น คิดเป็นเงินไทยตกอยู่ที่ราว 18,000 บาท นับว่าเป็นเงินก้อนใหญ่ทีเดียว สำหรับประชาชนในประเทศที่ธนาคารโลกประเมินว่า มีตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวอยู่ที่ 1,105 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 36,500 บาท

แม้ชีวิตที่มั่งคั่งจะไม่ใช่ความฝันที่เอื้อมถึงสำหรับพลเมืองส่วนใหญ่ แต่ก็ดูจะไม่ใช่เรื่องเกินจริงสำหรับคนบางส่วน โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางที่มีสถานะทางเศรษฐกิจเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เปิดประตูสู่โลกภายนอกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยบริษัทยูโรมอนิเตอร์ผู้ทำวิจัยด้านการตลาด เผยรายงานเมื่อปีที่แล้วว่า ในช่วงระยะเวลา 5 ปี นับจนถึงปี 2556 การค้าในประเทศเฟื่องฟูอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคชนชั้นกลาง ที่นิยมจับจ่ายสินค้าหรูหราฟุ่มเฟือยเกินจำเป็นมากขึ้น


 st12 st12 st12 st12

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมาร์ในปีงบประมาณ 2558 จะอยู่ที่ร้อยละ 8.3 จากเดิมร้อยละ 7.7 ในปีก่อนหน้า แม้จะมีการคะเนตัวเลขเงินเฟ้อในปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 8.4 ด้วยก็ตาม

ความร่ำรวยหรือความมั่นคงทางการเงิน อาจไม่ใช่สาระสำคัญในลำดับต้น ๆ ของคนบางกลุ่ม ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ผันผวนไม่อาจสั่นคลอนความเชื่อและศรัทธา ศาสนาเป็นมากกว่าการตั้งคำถามเชิงปรัชญาเพื่ออวดภูมิความรู้ มากกว่าปาฏิหาริย์หรือเรื่องเหนือธรรมชาติ แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ที่หลายคนเลือกดำเนินไปตามวิถีเช่นที่คนรุ่นก่อนเคยทำไว้.


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.dailynews.co.th/article/319013
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ‘ชเวดากอง’ พุทธวิถีแห่งเมียนมาร์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2015, 04:49:04 am »
0
เป็นสถานที่ อีกแห่งหนึ่ง ที่ข้าพเจ้า ต้องการไป สักวัน คงได้ ไป

  :s_good: thk56
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ‘ชเวดากอง’ พุทธวิถีแห่งเมียนมาร์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2015, 08:26:16 pm »
0

   ผมคิดอธิฐานไว้ในใจ เมื่อถึงยามหนึ่ง

     ขอสาธุครับ 
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา