ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ชี้ “ไพบูลย์” ป่วนพระ "มีวาระซ่อนเร้น" เตือนอย่าตื่นตาม  (อ่าน 1175 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ชี้ “ไพบูลย์” ป่วนพระ "มีวาระซ่อนเร้น" เตือนอย่าตื่นตาม

“เจ้าคุณประสาร” ชี้ “ไพบูลย์” ป่วนคณะสงฆ์มีวาระซ่อนเร้น เตือนพระทั่วประเทศอย่าตื่นตาม เชื่อใช้แนวทางเคร่งครัดต้อนให้จนมุมปฏิรูปไม่มีวันสำเร็จ พร้อมเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา 7 ข้อ ขณะที่รศ.เวทย์ ย้ำ มหาวิทยาลัยสงฆ์สร้างโอกาสผู้ยากไร้บวชเรียนเป็นคนดีสู่สังคม


วันนี้(19 มิ.ย.) พระเมธีธรรมาจารย์(ประสาร จนฺทสาโร) รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.)ในฐานะที่ปรึกษาสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา(สนพ.)กล่าวถึงกรณีการปฏิรูปพระพุทธศาสนาและการกล่าวพาดพิงมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทางที่ไม่เหมาะสมว่าคณะสงฆ์ มหาวิทยาลัยสงฆ์ มีคุณูปการมากมายต่อสังคมไทย มาถึงทุกวันนี้ชัดเจนแล้ว ขอให้ทุกฝ่ายอย่าตื่นตามนายไพบูลย์นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) เนื่องจากมีวาระ มีเงื่อนไข คือ รับใช้ใครบางคนบางกลุ่มหรือไม่อย่างไร โดยไม่ต้องการเหตุผลอย่างที่คนมีปัญญาพึงแสวงหา แต่ต้องการให้วงการสงฆ์ปั่นป่วนระส่ำระสาย แล้วนำไปสู่ปลายทาง คือ การปฎิรูป ทั้งนี้ยุทธศาสตร์การต้อนพระสงฆ์ให้จนมุมเสนอแนวทางที่เคร่งครัด แล้วนำไปสู่การปฎิรูปในแบบที่เขาต้องการจะไม่มีวันสำเร็จ


 ans1 ans1 ans1 ans1

ที่ปรึกษาสนพ. กล่าวต่อไปว่าสำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น คือ
    1.คณะสงฆ์ต้องมีความสามัคคีทั้งคณะสงฆ์ในประเทศและพระสงฆ์ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นพระธรรมทูตทั่วโลก
    2.รัฐต้องมีศรัทธามั่นคงต่อพระพุทธศาสนาและต้องตระหนักรู้ถึงคุณูปการของคณะสงฆ์ที่มีต่อสังคมไทย
    3.รัฐต้องปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ในแบบอย่างที่บูรพมหากษัตริย์ทรงทำเป็นแบบอย่าง
    4.พระสงฆ์ต้องทำงานเชิงรุกให้หนักมากขึ้นโดยเฉพาะด้านการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    5.คณะสงฆ์ต้องมีสื่อเป็นของตนเองเพื่อเผยแพร่และเป็นกระบอกเสียงของคณะสงฆ์เอง
    6.ต้องจัดการศึกษาคณะสงฆ์ในทุกระดับให้ครอบคลุมพุทธศาสนิกชน
    7.ต้องมียุทธศาสตร์ของคณะสงฆ์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติและศาสนาอื่นในระดับนานาชาติให้มากยิ่งขึ้น

รศ.เวทย์ บรรณกรกุลอาจารย์ประจำมจร. กล่าวว่า พระเณรที่บวชเรียนในสถาบันการศึกษาของสงฆ์ส่วนใหญ่จะมาจากเด็กผู้ยากไร้ชาวบ้านธรรมดา ซึ่งรัฐบาลก็ไม่สามารถพัฒนาการศึกษาให้เท่าเทียมและให้โอกาสแก่ผู้ยากไร้ได้ทั้งหมดเยาวชนเหล่านี้จึงขวนขวายศึกษา โดยการบวชเรียนเขียนอ่านจนเป็นประเพณีวัฒนธรรมสืบต่อกันมานานกว่า140 ปี กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงพัฒนาประเทศตามแบบอย่างตะวันตก พระองค์ ทรงปฏิรูปการศึกษาของพระสงฆ์โดยมีพระราชปรารภสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่งเพื่อให้พระสงฆ์ได้เรียนรู้พระไตรปิฎกควบคู่กับวิชาชั้นสูง ได้ใช้สั่งสอนชาวบ้านในสังคมที่เปลี่ยนไป


 :96: :96: :96: :96:

รศ.เวทย์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับวิชาชั้นสูงในพระราชปรารภนี้หมายถึง วิชาที่ช่วยให้การศึกษาพระไตรปิฎกออกเผยแผ่ได้ง่ายขึ้น คือ กลุ่มวิชาการที่เป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศให้เจริญในยุคนั้น เช่นมีการเรียนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษา เป็นต้น ส่วนวิชาทางโลก คือ จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ในการพัฒนาจิตใจและสังคม โดยพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ทั้งหมด

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ขึ้นในปี2546 พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 13 ล้านบาท เป็นทุนปฐมฤกษ์ เพื่อสนับสนุนพระภิกษุ สามเณร ให้มีโอกาสศึกษาพุทธศาสนาขั้นสูงจากสถาบันพุทธศาสนาในประเทศอันได้แก่ มจร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และกองบาลีสนามหลวง ทีซึ่งเป็นสถาบันที่ให้โอกาสทางการศึกษาสำหรับคนชนบทห่างไกล อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่า หากยังมัวถกเถียงกันว่าอะไรควรเรียนหรือไม่ควรเรียนสำหรับพระสงฆ์แบบนี้แล้ว ประเทศไทยจะพัฒนาการศึกษาแข่งขันกับประชาคมโลกเขาได้อย่างไร”อาจารย์ประจำมจร.กล่าว


ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/329380
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ