วิชาบาลี วิชาปริยัติธรรม ในสมัย ยุค ร 8 และ ร 9 ต้น ๆ นั้นนับว่าสำคัญ
ถ้าที่ไหน จะรับทำงาน เขาจะให้ พระรับรอง ด้านความรู้
สมัยนี้ กระทรวงธรรมการ ไม่มี ยุบเป็นกระทรวงศึกศึกษาธิการ แล้วแตกทบวงกรม ออกมาเป็น กรมการศาสนา และ แยกตัวออกมาเป็น พศ. อีก ทำให้ระบบการศึกษา ด้านนี้ไม่มีความหมาย ในด้านการประกอบวิชาชีพ เอาวุฒิ นธ.เอก ปธ 3 ขึ้นไปสมัครงาน บริษัท ต่าง ตลอดถึง ระบบราชการ ไม่รับนะครับ ต่อให้พัฒนา คุณภาพอย่างไร ถ้าไม่เพิ่ม เกรียตคุณ ของ ประกาศนียบัตร เหล่านี้ให้มีความสำคัญเท่ากับ การศึกษาทางโลก แล้ว พัฒนาไปก็อย่างนั้น
ถ้าหากถามประชาชน จะเรียน บาลี ไปทำไม ก็ตอบได้ว่า ไม่มีความจำเป็น เพราะการปฏิบัติพื้นฐาน พระสงฆ์ท่านถ่ายทอด กันมากมายอยู่แล้ว ตำหรับตำรา ทางธรรมะ ไปดูที่สนามหลวง เป็นซุ้มนั้น นับว่าเป็นแสน ๆ รายการนะครับ
ถ้าหากถามพระเณรเถรชี ว่าจะเรียนบาลีไปทำไม ก็ต้องตอบว่า บาลี ทำให้เป็นพระเณรเถรชี อันนี้ใช่ เพราะถ้าไม่สวดญัตติกรรมด้วยบาลี การบวชเป็นโมฆะ ตามบัญญัติ บางทีบวชใช้ภาษาไทยไม่มีบาลี แล้วบอกว่าถูกต้อง ท่านเหล่านั้นต้องไปดูข้อความในพระไตรปิฏก ด้วยนะครับ
สรุป วิชาทางธรรม บาลี พัฒนาอย่างไร มันก็ใช้แค่ ในวัด ไม่ใช่ประกอบการงานอาชีพได้ ทาง ปกศ. นะครับ แต่อาจจะใช้ทาง พฤติกรรม ควบคุมให้เป็นคนดีได้ แต่ใครจะเชื่อ ขนาดนุ่งผ้าเหลืองห่มผ้า ทุกวันนี้ ชาวบ้านก็จะไม่กราบไม่ไหว้กันแล้วนะครับ
ที่มองเห็นคือ งบประมาณตอนที่ส่งไปถึง ไม่ถึงครูอาจารย์ที่สอน ผมเคยสอนวิชาปริยัติ และ บาลีตอนเป็นพระหลายปี ไม่เคยเห็นเงินเดือนเลย แต่มาทราบจากการข่าวปัจจุบันว่า มีเงินเดือนให้ มีค่าใช้จ่าย ให้กับสำนักเรียน โทษทีนะครับ ขนาดหนังสือเรียน ยังต้องไปขอทางบ้านซื้อเลย
ผมว่า ตัวพระที่เป็นศูนย์ ปริยัติ ต้องเคลียร์ตัวเอง เรื่องงบประมาณที่ไปถึง การบำรุงขวัญกำลังใจ พระเณร มันจึงไม่มี ให้เกิดเทียบเท่าทางโลก เพราะว่า พรงสงฆ์องค์เจ้าที่ทำสำนักเรียน ก็ไม่ซื่อตรง แถมยังประกาศขอรับบริจาค ๆ ทุกวันพระอีก เห็นแล้ว นึกแล้ว อนาถใจ ครับ เลยไม่อยากทำบุญกับสำนักเรียน แบบเมื่อก่อน
