ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: องค์กรพุทธขอโควตา กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ-สภาปฏิรูป  (อ่าน 830 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


องค์กรพุทธขอโควตา กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ-สภาปฏิรูป

เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เผย 4 แนวทางทำงานใหญ่ ขอโควตา กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ-สภาปฏิรูปฯ จี้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ลั่นจับตาปฏิรูปกิจการพุทธ หวั่นเกิดปัญหาซ้ำรอย

วันนี้ (14 ก.ย.) พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จันทสาโร) เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า งานสำคัญที่องค์กรชาวพุทธจะเดินหน้าต่อจากนี้ คือ
     1.การเสนอตัวบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในสัดส่วนขององค์กรพุทธ
     2.เสนอสัดส่วนผู้แทนองค์กรพุทธ เพื่อเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ
     3.ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามงานของสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศอย่างใกล้ชิด และ
     4.ร่วมมือกับทุกภาคีเครือข่ายองค์กรพุทธ ผลักดันให้บรรจุ คำว่า " พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย " ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ได้


 :96: :96: :96: :96:

พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวต่อไปว่า จากข้อเสนอของอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชนหลายครั้ง ชี้นำให้เห็นว่า ควรมีสมาชิกจาก สปช.เดิมอยู่ในสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ ซึ่งแปลว่า อาจจะมีสัดส่วนจากคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และการศาสนา ซึ่งเป็น 1 ใน 18 ชุด คณะกรรมาธิการของสปช.เข้าไปด้วย โดยหลายท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ที่มีนายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน ดังนั้น ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาฯ จะติดตามอย่างใกล้ชิดว่า จะมีสมาชิกในกลุ่มเดิมเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่อีกหรือไม่ และจะมีการหยิบยกการปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนามาดำเนินการอีกหรือไม่ด้วย

“เวลานี้พระสงฆ์ทั้งสังฆมณฑล ได้ทำตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนาใน 3 ระยะ ตามที่กลุ่มปฎิรูปเดิม ผลักดันอยู่แล้ว ในขณะเดียวกัน การเสนอให้มีตัวแทนองค์กรพุทธจะเข้าไปอยู่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อจะเป็นตัวแทนอธิบายความว่า เรามีเหตุผลอะไรที่ขอบรรจุคำว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ในรัฐธรรมนูญ สำหรับข้อ 2 แม้ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่ก็เกี่ยวเนื่องกับ สปช.เดิม และที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องมีบุคคลจากสัดส่วนขององค์กรพุทธเข้าไปไปอธิบายความในสภาฯ เพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหาบานปลายเหมือนครั้งที่ผ่านมา” เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กล่าว.


ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/347874
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ