ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าอยากไปสวรรค์..จะทำอย่างไร.?  (อ่าน 2169 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29290
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ถ้าอยากไปสวรรค์..จะทำอย่างไร.?
« เมื่อ: กันยายน 25, 2015, 10:23:23 am »
0




ถ้าอยากไปสวรรค์..จะทำอย่างไร.?
โดย พระมหาบุญไทย ปุญญมโน

คำสอนของพระพุทธศาสนาที่มีคนสอบถามมากที่สุดเรื่องหนึ่งคือนรกสวรรค์ บางคนสงสัยว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ถ้ามีอยู่ที่ไหน จะไปได้อย่างไร พระสงฆ์ทั้งหลายก็พยายามตอบ ผู้ถามก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง เพราะผู้ตอบเองก็ไม่สามารถจะหาตัวอย่างที่ชัดเจนได้ แต่คำสอนที่พระพุทธศาสนาที่คนมักจะจำได้ติดปากมากที่สุดเรื่องหนึ่งคือทำดี ไปสวรรค์ ทำชั่วไปนรก แล้วคนประเภทไหนที่ควรไปสวรรค์

    ครั้งหนึ่งพราหมณ์และ คฤหบดีชาวเวฬุทวารคามได้สอบถามพระพุทธเจ้าสรุปความว่า
    "พวกเขายังอยากครองเรือนยังยินดีในการครองเรือน ยินดีในทรัพย์สินเงินทอง แต่เมื่อตายแล้วอยากไปสวรรค์จะทำอย่างไร.? "

     ask1 ans1 ask1 ans1

     พระพุทธเจ้าจึงได้แสดงวิธีไปสวรรค์สำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือนทั้งหลายไว้ใน เวฬุทวารสูตร  สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค (19/1459-1467/353-356)สรุปความว่า 

     “อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
      เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ผู้ใดจะปลงเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิตข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
      อนึ่ง เราพึงปลงคนอื่นผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
      ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
      ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร
      อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้วตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นปาณาติบาตด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
               

      :25: :25: :25: :25:

     ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบของเรา
     อนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร
     อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็น ดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากอทินนาทานด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากอทินนาทานด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากอทินนาทานด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้   

   
     อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของเรา ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
     อนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติ (ผิด)ในภริยาของคนอื่น ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร
     อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็น ดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วยกายสมาจารของอริยสาวก นั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
         

     st12 st12 st12 st12

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเรา
     อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร
     อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากมุสาวาทด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากมุสาวาทด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากมุสาวาทด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
 

     อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
     อนึ่ง เราพึงยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ แม้ของคนอื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร
     อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็น ดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจากปิสุณาวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
   





     อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
     อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยคำหยาบ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร 
     อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้วตนเองย่อมงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
   
   
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
     อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
     ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร 
     อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วยกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
     

     อริยสาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า...ในพระธรรม..ในพระสงฆ์...ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว...เป็นไปเพื่อสมาธิ 

      :25: :25: :25: :25:

     ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกประกอบด้วยสัทธธรรมเจ็ดประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวังสี่ประการนี้ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
     เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว
     เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า


      ans1 ans1 ans1 ans1

     คำตอบเรื่องสวรรค์นรกใน เวฬุทวารสูตรนี้แปลกไปจากพระสูตรอื่น ข้อแรกเหมือนจะเป็นศีลห้า แต่พออ่านไปกลับไม่ใช่ทั้งหมด มีศีลห้าอยู่เพียงสี่ข้อ ส่วนอีกสามข้อที่เหลือเป็นเรื่องการพูด คือ นอกจากจะพูดเท็จ ยังมีพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ซึ่งเกี่ยวกับการพูดถึงสี่ประการ
     แสดงให้เห็นว่า เรื่องของคำพูดนั้นสามารถทำให้คนทำผิดและเป็นเหตุให้ตกนรกได้ มากกว่าอย่างอื่น
     หากทำได้ทุกข้อนั่นเป็นการดี แต่ถ้าทำได้ไม่หมดก็เลือกทำข้อใดข้อหนึ่งก็จะเป็นหนทางไปสู่สวรรค์ได้เหมือนกัน เพราะสวรรค์มีหลายชั้น   
     
      st11 st11 st11 st11

     วันนี้อ่านพระไตรปิฎกยาวหน่อย เห็นว่าไม่ควรตัดตอนใดตอนหนึ่งออกไป อยากให้ท่านอ่านพร้อมทั้งพิจารณาไปด้วย สำนวนพระไตรปิฎกแม้จะอ่านยาก แต่เมื่อต้องการหลักฐานอ้างอิง ก็ไม่มีหลักฐานอื่นที่น่าเชื่อถือมากไปกว่าพระไตรปิฎก........!


พระมหาบุญไทย ปุญญมโน 20/04/53
ที่มา (๑) : http://www.cybervanaram.net/index.php?option=com_content&view=article&id=112:2010-04-19-17-13-01&catid=5:2009-12-17-14-44-06&Itemid=21
ที่มา (๒) : http://old.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=2287&Itemid=148
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ