ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รักษาใจไม่ส่งออกข้างนอก  (อ่าน 2214 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
รักษาใจไม่ส่งออกข้างนอก
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 10:37:50 am »
0

รักษาใจไม่ส่งจิตออกนอก อยู่กับผู้รู้ รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง
เมื่อกี้มีคนมาถามว่า ตอนอยู่กับหลวงปู่เทสก์ เมื่อปี 2526 หลวงปู่เคยแนะนำสั้นๆ ให้รักษาศีลข้อเดียว คือ รักษาใจ แปลว่าอะไร ก็คือเวลาหูกระทบเสียงดูที่ใจ ไม่กระโจนไปปรุงแต่งหรือตอบโต้ รู้เท่าทันมัน ตอนสร้างวัดใหม่ๆ มีปัญหามากเลย หาว่าหลวงพ่อเป็นพระเถื่อน ส่งคนมาไล่จับ เวลาที่ได้ยินเสียงที่หูให้ดูที่ใจ ใจมันยิ้ม ไม่เอา คือ ไม่เอาไปปรุงแต่ง รักษาใจดีกว่า ตาเห็นรูป เขาขับรถมามีปืนมาเต็มเลย พระนั่งฉันเพลอยู่เงียบๆ เขาตกใจว่าทำไมไม่กลัวเลย เราดูใจเรา ไม่ทำร้ายหรือตอบโต้เขา ไม่ข้ามเส้นศีล ศีลแปลว่าปกติ อะไรจะมากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความยินดียินร้ายเกิดที่จิตมีสติรู้ทัน ถ้ามันเห็นเป็นโทษ เป็นทุกข์ มันก็ไม่เอา เกิดละอายใจ สะดุ้งกลัวต่อบาป เกิดหิริโอตัปปะ ไม่กล้าไปเบียดเบียนใครด้วย กาย วาจา ใจ ให้ดูที่ใจ ถ้าใจปกติ ศีลจะกี่ข้อมันครบหมด รักษาศีลก็คือรักษาใจ อยู่กับผู้รู้เสมอ ไม่ส่งจิตออกนอก รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง ถ้าส่งออกจะเอาไปปรุงแต่งนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่เกิดประโยชน์อะไร การอยู่กับผู้รู้ คือ  ความรู้สึกตัวอยู่ เรียกว่าผู้รู้ คือรู้อยู่ในฐานทั้งสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม อาศัยฐานทั้งสี่ เป็นที่ตั้งแห่งรู้ เป็นที่ตั้งความระลึกรู้ ตัวสติ ตัวรู้เป็นตัวกุศล อกุศลก็ทำงานไม่ได้ ทุกข์ไม่ได้ รู้ในกาย ใจ เป็นปัญญาเห็นตามความเป็นจริง การส่งจิตออกนอก เปิดโอกาสให้มีการปรุงแต่ง การปรุงแต่งเป็นเรื่องสมมติบัญญัติ เป็นของปลอม อาการของมันเป็นพลังที่แฝงตัวอยู่ในความว่าง เนื้อหามันเหมือนความฝัน เคยฝันไหม ตอนเราฝันมีทุกอย่างเหมือนจริง นั่นคือ เป็นรูปถอดของกระบวนการสะสมจิต การปรุงแต่งเรียกว่าจิตสังขารเช่นเดียวกันกับความฝัน การนั่งคิดฟุ้งซ่าน ถ้าไม่รู้เมื่อไหร่กระบวนการที่มันทำงาน มันจะสับสนมากเลย คิดไม่เป็นระเบียบ เหมือนความฝันที่ไร้แก่นสาร สังขารหรือการปรุงแต่งนั้นเกิดจากความไม่รู้ว่ากาย ใจ ไม่ใช่เรา ทำให้คิดอยากเป็นโน่น อยากได้นี่ คิดไปตามความคิดเห็น ต่างคนต่างทฤษฎี คิดอยู่แค่จากฐานทั้งสี่เรื่องนี้แล้วทำให้เกิดวิญญาณ เข้าไปรับรู้ สะสมเป็นกองทุน ถ้าใครสะสมดีก็เป็นบุญญาภิสังขาร ถ้าปรุงแต่งไม่ดีก็เป็นอบุญญาภิสังขาร  เป็นเหตุปัจจัยให้วิญญาณดูดซับรับรู้ส่งผลสู่รูป นาม
 
          จะขอเล่าให้เห็นถึงการทำงานของกระบวนการตามธรรมชาติ อย่างตอนที่เราคิดโกรธอาฆาตเขา ลองถอยออกมาดูว่า เราคิดอย่างนี้เพราะอะไร ถอยแล้วจะเห็นเลยว่าหูกระทบเสียงแล้วมันเผลอ เกิดความไม่ชอบเก็บเอาไว้แล้วยังไม่หาย เอามาคิดเป็นพยาบาทนิวรณ์ การมีสติจะทำให้รู้ที่มา แต่ถ้าคนที่ไม่เคยมันจะกระโจนไปตามพฤติกรรมที่การปรุงแต่ง สร้างก่อเรื่องราว หาที่จบไม่เจอเพราะไม่รู้ว่ามันเกิดจากอะไร ไม่รู้กระบวนการเหตุปัจจัย เราต้องหัดบ่อยๆ จนชำนาญในทุกอิริยาบถ ต่อไปมันจะชินทำได้ทุกสถานที่ในชีวิตประจำวัน แต่ว่าเราต้องจับหลักให้ได้ก่อน ถ้าอยู่กับผู้รู้เสมอจะครบสติปัฏฐานสี่หมด คือ มันจะตามรู้ที่กาย เวทนา จิต สภาวธรรม ตามเก็บข้อมูลจนเห็น ความจริงในที่สุดว่า กาย ใจ ไม่ใช่เรา ไม่หลงเปลือกสมมติของความปรุงแต่ง (สมมติบัญญัติ) อีกต่อไป ก็จะพบกับธรรมชาติเดิมที่บริสุทธิ์ประภัสสร
 
อีกคำถามหนึ่ง ถามมาว่า จะต้องทำสมาธิแบบใด จิตจึงสงบ
         ไม่ต้องคิดฟุ้งซ่าน หลวงพ่อว่า บางทีถ้าจิตมันชอบไปคิด ก็พามันมาคิดในสิ่งดีๆ สวดมนต์บ้าง มันก็สงบ อกุศลทำงานไม่ได้ ถ้าสวดมนต์แล้วความคิดในทางอกุศลมันก็ค่อยๆ เสื่อมไป เพราะมันไม่มีเวลาไปคิด อันนี้เป็นสมถะ บางทีผัสสะมันมีหลายอย่างหลายระดับ เราต้องรู้จักมีปฏิภาณไหวพริบของการเจริญสติ เป็นจอมยุทธ์ที่ไม่ใช่อาวุธเดียว ต้องพลิกแพลงสถานการณ์ ช่วงนี้ควรจะสวดมนต์ นั่งสมาธิ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนวิธีเดียว ทำได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา แต่ต้องทำด้วยปัญญา อยู่ที่เราเลือกใช้แล้วแต่สถานการณ์ บางคนจุดอ่อนไม่เหมือนกันนะ ความฟุ้งซ่าน เหมือนกับพัดลม ถ้าเรากดเบอร์สาม เผลอไปแล้วรู้สึกว่ามันหมุนแรงไป ก็กดเบอร์ศูนย์ มันยังเกิดแรงเฉื่อยอยู่ ถ้ามันยังเฉื่อยแล้วเรารู้สึกว่าเรารับแรงสั่นสะเทือนของมันไม่ไหว มาสวดมนต์แทนดีกว่า จิตเป็นกุศลกับสิ่งที่เป็นกุศล พักผ่อนด้วยจิตที่สงบจากการตามรู้อารมณ์เดียวที่ต่อเนื่องเป็นสมถะ แต่วิปัสสนาคือรู้ความเป็นจริง คนละเป้าหมายกัน วิปัสสนาแปลว่า รู้แจ้งรู้จริง อย่างเมื่อกี้ที่ผัสสะมาแรงๆ ที่เราเอาไม่อยู่พอเริ่มสวดมนต์ อุณหภูมิมันค่อยๆ เปลี่ยนไป รู้เท่าทัน รู้สภาวะมันได้  ถ้าเผื่อรู้ว่ามันจะส่งออกอีกแล้ว จะกลับไปคิดใหม่อีก ก็มีสติรู้เท่าทันอาการของมัน วิปัสสนาคือการเห็นความเป็นจริง จน เห็นไตรลักษณ์ของรูป นาม เห็นมันเปลี่ยนแปลง ทุกข์ไม่ใช่ตัวตน ส่วนทำสมถะให้จิตตั้งมั่นมีกำลังเหมือนเทียนที่ตั้งมั่นสว่างไสวแล้วเอามาดู ความจริง คือ วิปัสสนา สมถะกับวิปัสสนาทำแล้วมันเสริมกัน

คัดลอกมาจาก..ที่นี่ครับ
บันทึกการเข้า