ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระวีระธุอยากมาไทยช่วยแก้ปัญหาภาคใต้  (อ่าน 960 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระวีระธุอยากมาไทยช่วยแก้ปัญหาภาคใต้

ชนเผ่าเมียนมาร์ร่วมฉลองก.ม.คุ้มครองพุทธ พระวิระธุอยากมาไทยช่วยแก้ปัญหาภาคใต้ : สำราญ สมพงษ์รายงาน

คนที่เดินทางไปไหว้เจดีย์ชเวดากอง เมืองยางกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ช่วงวันอาทิตย์ที่ 4 ต.ค.2558 ที่ผ่านมา ได้เห็นชาวเมียนมาร์ทั้งพระและฆราวาสมากกว่า 3 หมื่นรูป/คน ต่างมุ่งตรงไปยังสนามกีฬาแห่งชาติย่างกุ้ง คงนึกว่าคงต้องการไปฟังการปราศัยหาเสียง เนื่องจากจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้

ความจริงแล้วเป็นการไปร่วมงานเฉลิมฉลองภายใต้ชื่อว่า "งานเฉลิมฉลองการบังเกิดขึ้นแห่งพระราชบัญญัติ เพื่อความสามัคคี กลมเกลียว และความสงบสุขแห่งชาติ" หลังจากรัฐสภาได้ผ่านกฎหมายคุ้มครองพระพุทธศาสนาจำนวน 4 ฉบับคือ
    1.กฎหมายว่าด้วยการควบคุมประชากร
    2.กฎหมายการเปลี่ยนศาสนาโดยต้องขออนุญาตจากทางการ 
    3.กฎหมายการมีคู่สมรสเพียงคนเดียวรักเดียวใจเดียว
    4.กฎหมายที่ห้ามหญิงชาวพุทธแต่งงานกับชายชาวมุสลิม
      ทั้งนี้ด้วยการผลักดันขององค์กรคณะสงฆ์ภายใต้ชื่อว่า "องค์กรสันติภาพมาบาธา" โดยมีพระมหาเถระภัททันตะติโลกะภิวังสา เป็นประธาน และมีพระวีระธุที่ได้รับการขนานามว่าเป็นพระหัวรุนแรงร่วมด้วย



เป็นที่น่าสังเกตุว่าบุคคลที่เดินทางไปร่วมงานครั้งนี้ประกอบด้วยทุกภาคส่วนของประเทศ รวมถึงพระมหาเถระผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่างเช่นดร.พระญาณิสสระมหาเถระ (สิตากู สยาดอว์) แห่งสำนักมหาสี สาสนยิกต่า ดารานักแสดง นักร้อง ชนเผ่าต่างๆเช่นไทยใหญ่ กะเหรียง คะฉิน สกาย ร่วมถึงผู้แทนจากองค์ชาวพุทธไทยคือนพ.พรชัย พิญญพงษ์ ประธานองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก พร้อมกันนี้ยังมีซุ้มขายหนังสือผลงานการเคลื่อนไหวของพระวีระธุที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือสันติภาพบนปลายกระปอกปืนด้วย


งานฉลองเริ่มขึ้นด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของชนเผ่าต่างๆ ต่อจากนั้นเป็นพิธีเปิดอย่างเป็นทางการโดยพระมหาเถระภัททันตะติโลกะภิวังสา ได้กล่าวถึงความเป็นมาของกฎหมายทั้ง 4 ฉบับว่า วันนี้เป็นวันสำคัญวันประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้ในยุคปัจจุบันของประเทศเมียนมาร์และองค์กรสันติภาพมาบาธา เนื่องจากในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าก็ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆโดยเฉพาะคนพาล แต่เพื่อให้ความยุติธรรม ความงาม ความดี เป็นที่เคารพน่าเลื่อมใสของคนในสังคม


เนื่องจากที่ผ่านมาสังคมเมียนมาร์มีความขัดแย้ง ความอยุติธรรม ความไม่สงบ สถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเหล่านี้ขึ้นมา ซึ่งไม่ใช่มีไว้เพื่อข่มขู่ แต่มีไว้เพื่อสร้างความกลมเกลียว สงบสุข ยุติธรรม และความสามัคคี เป็นการสถาปนาสันติสุขให้เกิดขึ้นให้กับทุกเชื้อชาติและศาสนาในประเทศเมียนมาร์ และที่ผ่านมาก็ต้องขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งเกี่ยวกับสถานการณ์ขัดแย้งระหว่าง 2 ศาสนา โดยเฉพาะในรัฐยะไข่ และมะริด และอีกหลายๆ แห่ง

     "อาตมาแม้ว่าจะอายุมาก 77 ปีแล้ว แต่เมื่อได้รับการแต่งตั้งจากพระมหาเถระซิทตากู่และพระมหาเถระอื่นๆ ให้เป็นผู้นำองค์กร ก็ตั้งปณิธานที่จะทำงานเพื่อความผาสุกของคนในชาติ เริ่มแรกที่ตั้งองค์กรนี้ขึ้นมาต้องต่อสู้กับข้อกล่าวหาต่างทุกสารทิศ ถูกคณะสงฆ์มหาเถรสมาคมแห่งชาติและรัฐบาลเข้าใจผิด คิดว่าอาตมาต้องการเป็นคู่แข่งกับมหาเถรสมาคมแห่งชาติ จึงต้องใช้เวลามากพอสมควรที่อธิบายทำความเข้าใจ" พระมหาเถระภัททันตะติโลกะภิวังสา กล่าวและว่า





แจงขั้นตอนที่มาของก.ม.จน'เต็งเส่ง'เห็นชอง

และการดำเนินการร่างและผลักดันกฎหมายเหล่านี้ทำด้วยความตั้งใจบริสุทธิ์ที่จะนำเสนอกฎหมายที่โปร่งใส บนพื้นฐานของความจริงสากลและธรรมเนียมปฏิบัตินานาชาติ เสร็จแล้วก็ได้นำมาทดสอบจนได้รับการยอมรับของประชาชนเพราะต้องการให้กฎหมายเป็นประชาธิปไตยโดยประชาชนเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง จึงได้รวบรวมรายชื่อพร้อมลายเซ็นต์ได้กว่า 5,000,000 คน นำเสนอต่อนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดี

เมื่อประธานาธิบดีได้อ่านร่างกฏหมายนี้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของประเทศและคณะที่ปรึกษา และในที่สุดโดยลงความเห็นร่วมกันว่ากฎหมายเหล่านี้ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะทำร้ายศาสนาเชื้อชาติบุคคลหรือพรรคการเมืองใดๆเลย และเป็นสิ่งที่จะช่วยรักษาสันติภาพความกลมเกลียวของสังคมเอเซียซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนาอย่างมาก ดังนั้นประธานาธิบดีได้สรุปว่าจริงๆแล้วกฎหมายนี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศเมียนมาร์ และจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตามการตัดสินใจขั้นสุดท้ายก็ต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภาและในที่สุดก็ได้รับการรับรองจากรัฐสภาและประกาศใช้





ไม่มีเป้าหมายให้เกิดผลกระทบศาสนาใด

หลังจากนั้นได้สรุปเนื้อหาของกฎหมายเหล่านี้เผยแพร่ให้กับประชาชนได้เข้าใจ ดังนั้นจึงขอรับรองได้ว่ากฎหมายเหล่านี้ไม่มีเป้าประสงค์ที่ใครองค์กรไหน ศาสนาไหนในทางไม่ดี หากมีข้อสังสัยสามารถสอบถามได้โดยตรงจะพยามตอบคำถามให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แต่ตกไม่หมดก็จะได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กระจายเสียงหรือทางโทรทัศน์ต่อไป

      "ข้อย้ำว่ากระบวนการออกกฎหมายครั้งนี้มีผลต่อทั้ง 4 ศาสนาหลัก ย้ำอีกครั้งเราไม่ได้ทำเพื่อใคร เพื่อสมาคมหรือพรรคการเมืองใด มีเป้าประสงค์ที่จะสร้างความกลมเกลียวความเท่าเทียมกัน ความสงบสุขบนพื้นฐานหลากหลายวัฒนธรรมของเมียนมาร์เป็นสำคัญ และได้โปรดอนุญาตให้อาตมาได้แบ่งปันวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประเทศเหมือนสวรรค์ที่มีแต่ความสุขและความกลมเกลียวของประชาชนพร้อมร่วมแบ่งปันความบริบูรณ์และความสุขสุดท้ายจริงๆข้าพเจ้ากระตุ้นทุกคนให้กลับบ้านพร้อมสารแห่งสันติภาพ" ประธานองค์กรสันติภาพมาบาธากล่าวในที่สุด





ดร.พระญาณิสสระมหาเถระแนะอย่าวางใจ

ดร.พระญาณิสสระมหาเถระ กล่าวว่า การที่ชาวพุทธเดินทางมาร่วมงานเป็นจำนวนมาในครั้งนี้เหมือนกับเป็นการฉลองชัยชนะเช่นตอนที่พระพุทธเจ้าชนะพญามาร และหลังจากพระพุทธเจ้าชนะพญามารแล้วพระองค์ก็ต้องการที่จะอยู่เงียบๆ ไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับพญามารอีกแต่พญาการก็ติดตามพระองค์ตลอด ดังนั้นก็ขอให้ชาวพุทธอย่าให้นิ่งนอนใจว่าได้รับชัยชนะแล้วและอย่าได้ชื่นชมตัวเองมากนัก ซึ่งจะต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา เพราะว่ามารไม่ยอมแพ้อย่างแน่นอน

    "ก่อนหน้านี้ก็มีกฎหมายคุ้มครองพระพุทธศาสนาเช่นกันแต่นานไปก็หายไปดังนั้นจะต้องนำกลับคืนมา และขอให้มีความเท่าเทียมกันกับทุกศาสนา เกี่ยวข้องกันด้วยความรักความเคารพซึ่งกันและกันอย่าได้เอาเปรียบกัน อยู่ร่วมกันด้วยความอดทน"ดร.พระญาณิสสระมหาเถระ กล่าว

หลังจากนั้นเป็นการกล่าวของพระเถระจากรัฐต่างๆภายในประเทศเมียนมาร์สลับกับการแสดงวัฒนธรรมไปจนปิดงานและแถลงข่าวตอบข้อสงสัยของผู้ร่วมงานและนักข่าว ซึ่งพระเถระที่ร่วมแถลงข่าวนั้นมีพระมหาเถระภัททันตะ ติโลกะภิวังสาและพระวีระธุร่วมอยู่ด้วย แต่ตลอดทั้งงานบนเวทีพระวีระธุไม่ได้กล่าวหรือตอบข้อสงสัยแต่อย่างใด โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระมหาเถระภัททันตะ ติโลกะภิวังสา





'พระวิระธุ'อยากมาไทยช่วยแก้ปัญหาภาคใต้

เมื่อเสร็จงานพระวีระธุถึงได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวทั่วไปโดยเฉพาะผู้สื่อข่าวจากประเทศไทยและถือเป็นครั้งที่ 2 ที่ผู้สื่อข่าวไทยได้มีโอกาสได้สัมภาษณ์ โดยได้กล่าวว่า รู้สึกปลื้มมากที่กฎหมายทั้ง 4 ฉบับนี้ออกมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่เป็นการยกฐานะสตรีให้สูงขึ้นเท่าเทียมกับเพศชาย ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการริดรอนสิทธิแต่อย่างใดแต่เป็นการให้เกียรติสตรีซึ่งเป็นเพศแม่มากกว่า

พระวีระธุ เชื่อว่า กฎหมายเหล่านี้จะทำให้สังคมเมียนมาร์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เพราะเท่ากับเป็นการจัดระเบียบสังคมใหม่ เพราะว่าประเทศเมียนมาร์ประกอบด้วยประชาชนที่หลากหลายศาสนาและเชื่อชาติ เพราะหากไม่กฎหมายที่จัดโครงสร้างทางสังคมให้ดีแล้วก็จะทำให้มีปัญหาอย่างเช่นที่ผ่านมา เท่ากับกฎหมายเหล่านี้เป็นหลักการพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และหลักการพื้นฐานของสันติภาพด้วย

     "อาตมานั้นรักมนุษย์ทุกคนในโลกร่วมถึงรักสัตว์ด้วย อาตมาเป็นลูกพระพุทธเจ้าก็จะต่อสู้เพื่อพระพุทธศาสนาตลอดไปให้ดีที่สุด ใครจะเอาจีวรของอาตมาไปไม่ได้แม้ว่าจะได้รับผบกระทบอย่างไรก็ตามก็จะไม่หวั่นไหว" พระวีระธุ กล่าว

พร้อมกันนี้พระวีระธุด้วยว่า อาตมานั้นก็ต้องที่จะเดินทางไปประเทศไทยพูดคุยกับพระสงฆ์และชาวพุทธไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางในการแก้ปัญหาทางภาคใต้ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ทั้งนี้นายพรชัย กล่าวว่า การที่พระวีระจะเดินทางไปประเทศไทยนั้นคงจะต้องมีการปรึกษาหารือกับทางฝ่ายความมั่นคงด้วยว่าจะมีความเหมาะสมกับสถานการณ์มากน้อยเพียงใด






ไทยขึ้นป้ายบัญญัติพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

ขณะที่ชาวพุทธไทยที่ผ่านมานั้นก็มีการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกับที่ประเทศเมียนมาร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงมีการร่างรัฐธรรมนูญก็มีการเรียกร้องให้การบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติโดยขึ้นป้ายตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ก็บอกว่าทำได้

พร้อมกันนี้คณะสงฆ์และพศ.ก็ได้มีการศึกษาแนวทางให้การปฏิรูปคณะสงฆ์ตามที่รัฐบาลชุดปัจจุบันมอบหมาย เพื่อเป็นแนวทางในตรากฎหมายปกป้องและคุ้มครองพระพุทธศาสนาต่อไป โดยที่ผ่านมาได้มีการประชุมระดมความคิดเป็นไปตามภาคต่างๆหลายครั้งแล้ว



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20151009/214881.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ