ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หมู่บ้านศีล 5 สู่การพัฒนาชาติที่ยั่งยืน ตามหลักธรรมภิบาล  (อ่าน 637 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 

หมู่บ้านศีล 5 สู่การพัฒนาชาติที่ยั่งยืน ตามหลักธรรมภิบาล
พระมหาสิริชัย ธัมมานุสารี วัดอนงคาราม รายงาน

จากความที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี มีนโยบายว่า พระพุทธศาสนามีหลักธรรมคำสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน และมอบให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปจัดทำเอกสารแนวคิดในหัวข้อ “พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นรูปเล่ม เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีฯเป็นลำดับไป เพื่อแสดงให้เห็นถึงการตอบโจทน์นั้น

ทางคณะสงฆ์ไทยโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้ดำริโครงการ หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ดังระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นคณะกรรมการฝ่ายบรรพชิต ตามคำสั่งคณะสงฆ์เขตคลองสาน ๒/๒๕๕๘ ได้มีส่วนในการขับเคลื่อนโครงการนี้ จึงขอนำเสนอความสอดคล้องกันของทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายอาณาจักร นำโดยนายกรัฐมนตรี และฝ่ายพุทธจักร นำโดยเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพื่อการพัฒนาชาติที่ยั่งยืนตามความประสงค์ของท่านนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้

 :96: :96: :96: :96: :96:

๑.ต้องทำความเข้าใจในส่วนของคณะสงฆ์ก่อนว่า นับแต่สมัยพุทธกาล พระสงฆ์มีอุดมการณ์ในการช่วยเหลือผู้คนให้พ้นทุกข์ตามหลักศาสนามาตลอด ดังพระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุผู้จะไปประกาศพระศาสนาว่า “ให้ภิกษุทั้งหลายจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย...” ความนี้ ถือว่าพระสงฆ์มีส่วนช่วยพัฒนาคนส่งเสริมให้มีศีลธรรม เมื่อประชาชนมีความสุขแล้ว สังคมจึงเป็นสุข และคนเหล่านั้นจะเป็นกำลังในการพัฒนาชาติเป็นการปลูกฝังรากลงจิตใจให้ประชาชนทำความดี ละเว้นความชั่ว อันจะส่งผลให้ประชาชาติร่มเย็นสืบไป

๒. โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ปัจจุบันนี้ได้มีประชาชนสมัครเข้าโครงการแล้วประมาณ ๓๐ ล้านคน จากประชากรทั่วประเทศกว่า ๗๐ ล้านคน หลังจากได้เริ่มโครงการมาแล้วประมาณ ๔ เดือนขับเคลื่อนทุกระดับตั้งแต่ ผู้นำชาวบ้านจนถึงผู้นำระดับประเทศ ซึ่งการสมัครนั้นใช้ข้อมูลหลักคือ เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุล และสถานที่ทำงานเป็นต้น พร้อมทั้งลงชื่อยินยอมถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด จากนั้นทางวัดจะนำข้อมูลมาขึ้นทะเบียนในเว็บไชต์ ดูจากแนวโน้มนี้แล้วผู้เขียนเชื่อว่าในอนาคตจะต้องมียอดผู้เข้าสมัครถึง ๗๐ ล้านคนอย่างแน่นอน


 :25: :25: :25: :25:

ในส่วนของการพัฒนาชาตินั้น ขอเสนอการพัฒนาด้านความสงบของบ้านเมือง โดยนำหลักศีลธรรม กับหลักธรรมาภิบาล มาใช้ควบคู่กันดังนี้ หลักธรรมาภิบาล (Good Governance ) พระพรหมบัณฑิต (ประยูรณ์ ธมฺมจิตฺโต) ให้ความหมายว่า หมายถึงการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มี ๖ ข้อคือ
     ๑.การมีส่วนร่วม(Participation)
     ๒.ความโปร่งใส(Transparency)
     ๓.ความรับผิดชอบ (Accounttability)
     ๔.หลักนิติธรรม (Rule of low)
     ๕.ประสิทธิภาพ (Efficiency) และ
     ๖.ประสิทธิผล (Effectiveness)

ส่วนศีลธรรม ๕ หรือเบญจศีล พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ให้ความหมายว่า คือความประพฤติชอบทางกายและทางวาจา, ข้อปฏิบัติในการเว้นความชั่ว ฯ
     ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการปลงชีวิต, เว้นจากการประทุษร้ายกัน
     ๒.อทินฺนาทานา เวรมณี เว้นจากการเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้, เว้นจากการลัก โกง ละเมิดกรรมสิทธิ์ ทำลายทรัพย์สิน
     ๓.กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม, เว้นจากการละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักหวงแหน
     ๔.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง
     ๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี เว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท, เว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษ


 st12 st12 st12 st12

เรื่องการประกันสังคมตามหลักศีล ๕ นี้ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) ได้กล่าวไว้ว่า “หลักประกันสังคม ก็คือ ข้อหรือกฎเกณฑ์ที่รับรองได้ ว่าเป็นเครื่องป้องกันสังคมมิให้เกิดภัยอันตราย เกิดความหายนะใดๆ แก่สังคม” ดังอธิบายว่า

ศีลข้อ ๑ ถ้าผู้ใดรักษาได้จะช่วยประกันชีวิตของตนและครอบครัว ให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยมีหลักเมตตาธรรม คือความรัก เป็นพื้นฐานของใจ เรื่องนี้ถ้ามองในแง่ธุรกิจ ตามหลักธรรมาภิบาลข้อที่ ๒. ความโปร่งใสเช่นนักธุรกิจ มีการลงทุนและลงหุ้นส่วนกันเป็นบริษัทห้างร้าน ถ้าใครบางคนแจกแจงรายจ่ายต่างๆ ไม่สมเหตุผล ก็อาจมีใครบางคนต้องตายก็ได้ จึงต้องใช้หลักความโปร่งใสมาใช้ในองค์กรคือทุกอย่างตรวจสอบได้ พร้อมกับรักษาศีลข้อนี้ไว้ในใจแล้ว เป็นอันเชื่อได้ว่าจะไม่มีการปองร้ายกันเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ศีลข้อ ๒ ผู้ใดรักษาได้จะช่วยประกันทรัพย์สินของตน คือไม่ถูกลักขโมย และไม่เป็นคดีความเพราะลักของใคร เรื่องนี้ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจ ตามหลักธรรมาภิบาล

ข้อที่ ๓.ความรับผิดชอบ คือรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลได้แก่ให้รัฐบาลหาทางออกให้พวกเขาด้วยการให้มีงานทำเพราะปัญหาการลักขโมยเกิดขึ้นอาจเพราะประชาชนไม่อิ่มท้องจึงหาทางออกที่ไม่ถูกวิธีและ

ข้อที่ ๔.หลักนิติธรรม คือ ข้อกฎหมายได้แก่ให้รัฐบาลใช้กฎหมายควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย หลังจากที่ให้พวกเขาได้มีงานทำแล้วเพราะหลักศีลธรรมเป็นเพียงเครื่องควบคุมจิตใจ แต่ยากจะควบคุมกายของพวกเขาได้ฉะนั้นหลักศีลธรรม ต้องทำงานควบคู่กันไปในแง่ของการอิงอาศัยกันกับหลักธรรมาภิบาลเช่นนี้จึงจะจัดเป็นการแก้ปัญหาได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ เป็นต้น

เรื่องหลักธรรมาภิบาลกับหลักศีล ๕ นี้ เพื่อประกอบความเกี่ยวเนื่องกัน จึงขอยกตัวอย่างไว้เพียงเท่านี้ก่อน ต่อไปจะเริ่มตั้งพื้นฐานเพื่อการพัฒนาชาติที่ยั่งยืนในแง่ของบทกฎหมายต่อไป


 st12 st12 st12 st12

สืบเนื่องจาก การสัมนาเชิงวิชาการระดมความคิดเห็น เพื่อพัฒนาภารกิจคณะสงฆ์ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๘ ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมามีผู้บริหารระดับสูง อธิการบดี รองอธิการบดี เจ้าคณะภาค และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นต้น ได้ระดมความคิดเห็นกันอย่างเข้มข้น จับใจความได้ว่า

ต้องการผลักดันให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติและเรื่องปลีกย่อย มี พรบ.การศึกษาแผนกนักธรรม-บาลี และธนาคารพระพุทธศาสนาทำให้ผู้เขียนนึกถึงโครงการหมู่บ้านศีล ๕ ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้ริเริ่มและดำเนินการให้เป็นรูปธรรมอยู่นั้น ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะทำให้รู้จำนวนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งด้านปริมาณ และด้านคุณภาพ คือปัจจุบันนี้ได้มีสมาชิกสมัครเข้าโครงการแล้วประมาณ ๓๐ ล้านคน (ปริมาณ) และพร้อมยินยอมปฏิบัติศีล ๕ (คุณภาพ) เรื่องนี้ถือว่าเป็นนัยยะสำคัญที่แสดงให้เห็นพลังในการขับเคลื่อนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ภายใต้โครงการหมู่บ้านศีล ๕


 st11 st11 st11 st11 st11

ฉะนั้นถ้ารัฐบาลต้องการพัฒนาชาติที่ยั่งยืน โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้สังคมเกิดความสามัคคี ความสุขอย่างมั่นคงยั่งยืนในแง่ของศาสนา ก็ควรบัญญัติให้เป็นศาสนาประจำชาติตามประสงค์ของท่านนายกรัฐมนตรีพระพุทธศาสนาจะได้มีที่ตั้งมั่น ดังประเทศทั่วโลกที่มีศาสนาประจำชาติเป็นของตน และทำนองเดียวกันคณะสงฆ์ก็จะทำตามอุดมการณ์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเช่นกัน คือเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน

“การพัฒนาชาติที่ยั่งยืน และมั่นคงนั้น ควรมีพื้นฐานที่ดี คือ มีการปลูกฝังประชาชนให้มีศีลธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองจิตใจ และมีหลักกฎหมายไว้คุ้มครองความปลอดภัย เมื่อหลักศีลธรรมและกฎหมายทำงานกันในแนวคู่ขนานนี้ เป็นอันหวังได้ว่า สุขภาพใจของคนในชาติย่อมดีขึ้นแน่นอนแต่ถ้าเมื่อไรก็ตาม หลักศีลธรรมไม่ทำงานแล้ว ประชาชนก็ไม่ต่างอะไรกับนักโทษที่ถูกโซ่ตรวนคล้องคออยู่ตลอดเวลา คือรู้สึกอึดอัดทั้งกายและใจเมื่อไม่ได้ทำความชั่ว”


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20151020/215514.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ