ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อันใด.? ในกระทง  (อ่าน 1056 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อันใด.? ในกระทง
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2015, 08:47:21 am »
0


อันใด.? ในกระทง

ตำนานเรื่องเล่าที่มาของการลอยกระทง มีหลากหลาย ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน เขียนไว้ในหนังสือหมวดธรรมเนียมประเพณี เล่มที่ 5 ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาลตรุษ-สารท ว่าเท่าที่ท่านได้เรียนรู้จากการลอยกระทงหลวง เดิมทีเป็นเรื่องสนุก ที่สืบเป็นประเพณีกันมา ไม่เกี่ยวกับลัทธิพิธีใดๆ

ลัทธิพิธีที่ว่า มีสองเรื่อง เรื่องแรก ลอยกระทงไปบูชาพระพุทธบาทที่ฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ดังที่นางนพมาศเล่า เรื่องที่สอง ลอยกระทงเพื่อบูชาขมาโทษแม่คงคา ตามความเชื่อถือของชาวบ้าน

เมื่อครั้งอาจารย์พระยาอนุมานฯยังเป็นเด็ก เคยไปดูการลอยกระทงหลวงที่ท่าราชวรดิฐ ตอน หัวค่ำ ก่อนเวลาเสด็จพระราชดำเนินออก เห็นมีเรือหงส์ เรืออะไรต่อเรืออะไร อย่างเรือแห่กฐินขนาดย่อม เป็นอย่างเครื่องเล่น ทอดอยู่ริมท่าหลายลำ

มองไปทางกลางแม่น้ำ ตอนนั้นเห็นโล่งๆ แต่มืดขมุกขมัว ถัดออกไปไกลเห็นเรือตะคุ่มๆมีไฟแวบๆ เท่านั้น ได้ทราบภายหลัง แม่น้ำตอนนั้นถัดจากฝั่งออกไป เขากันไว้ส่วนหนึ่งสำหรับเป็นที่ลอยกระทง ที่หัวน้ำ ท้ายน้ำมีเรือทุ่นล่ามด้วยเส้นเชือกขนาดใหญ่แล่นตลอดตามยาวมาจดกัน เท่ากับเป็นเขตกั้นด้านนอก ยังมีเรือตำรวจลำเล็กพายขึ้นล่องตรวจตรา เพื่อไม่ให้ใครล่วงล้ำผ่านเข้าไปในบริเวณนั้น

 st12 st12 st12 st12

การลอยกระทงของหลวง ถ้าเป็นกลางเดือน 11 ก็เป็นลอยกระทงเล็ก คือกระทงชนิดเป็นรูปเรือขนาดเล็ก ถ้าเป็นกลางเดือน 12 ก็เป็นลอยกระทงใหญ่ กระทงเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่างมาทำประกวดประขันกัน ลางกระทงมีขนาดใหญ่มากถึงกับบรรจุคนเล่นดนตรี ละคร หรือจำอวดไว้ได้หลายๆคน

มาในรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนเป็นเอาเรือพระที่นั่งและเรืออื่นๆประดับด้วยฉัตรและไฟแทน เป็นต่างกระทงใหญ่ ครั้นแล้วก็เลิก คงมีแต่กระทงเป็นรูปเรือขนาดเล็ก อ่านพระราชนิพนธ์พระราชพิธี 12 เดือน...ในตอนที่ว่าด้วยการลอยพระประทีป พอจับความได้ว่า เป็นเรือสำราญพระราชหฤทัย และเป็นที่สนุกสนานของข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายใน ที่สืบเป็นประเพณี ไม่เกี่ยวกับลัทธิพิธีใดๆ

ส่วนการลอยกระทงของราษฎร ทั้งเพ็ญเดือน 11 และเพ็ญเดือน 12 ราวปลายเดือนตุลาคม และปลายเดือนพฤศจิกายน เป็นฤดูกาลน้ำไหลหลากมาจากเหนือ แม่น้ำลำคลองน้ำขึ้นจนเจิ่งนองล้นฝั่งในลางแห่ง เรียกกันเป็นคำสามัญติดปาก เดือน 11 น้ำนอง เดือน 12 น้ำทรง และระยะเวลาน้ำนองและน้ำทรง ก็คือในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และแรมหนึ่งค่ำ



กระทงที่ชาวบ้านทำ มักเย็บทำเองด้วยใบตอง เย็บเป็นรูปกลมๆมีขนาดเล็กใหญ่เพียงไรแล้วแต่จะทำ ที่ขอบกระทงมักเย็บใบตองทำเป็นรูปกรวยหลายแหลมขนาดเล็กๆเป็นแถว เสริมปากกระทงโดยรอบ กระทงอย่างนี้ ถือเป็นกระทงอย่างดี เรียกว่า กระทงเจิม

บางกระทงใช้กาบใบต้นพลับพลึง ได้กระทงที่มีสีขาวสะอาด แปลกตากว่ากระทงใบตอง ที่ทำด้วยใบตองและกาบใบต้นพลับพลึงปนกันก็มี

แต่ก่อนนี้ ในกระทงมักมีเงินปลีกใส่ไปด้วยอัฐหนึ่งหรือไพหนึ่ง และลางทีก็จะมีหมากพลูใส่ไปด้วยคำหนึ่ง ปักธูป 4 ดอก เป็นระยะๆรอบกระทง ส่วนเทียนใช้เล่มเดียวเสียบไม้ปักกลางกระทง

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

กระทงยังมีอีกหลายอย่าง ทำด้วยกระดาษสีเป็นรูปดอกบัวบาน เอากาบมะพร้าวมาทำเป็นรูปนกและเรือ หรือเอามาต่อหัวหางและปีกเป็นอย่างนกก็มี เรียกกระทงได้โดยปริยาย

ตกเย็นโพล้เพล้หรือค่ำแล้ว กินข้าวกินปลาเสร็จ ก็ทำกระทงไปที่ท่าน้ำหรือข้างตลิ่งที่มีน้ำเจิ่ง ผู้ไปลอยส่วนมากมักเป็นหญิงมีอายุ มีเด็กที่เป็นลูกหลานตามมาด้วยเป็นพรวน จุดธูปเทียนแล้วปล่อยกระทงลอยไป บางคนยกมือขึ้นจบไหว้ กล่าวคำเบาๆ หรือนึกอยู่ในใจ ขอขมาลาโทษแม่คงคา ลงท้ายขอพรจากแม่คงคา ขอให้ตนจงมีความสุขความเจริญ ระหว่างนั้น ถ้าใครมีดอกไม้น้ำก็จุดเล่น

กระทงที่ลอยไปมักอยู่ไม่ได้นาน เพราะถูกเจ้าเด็กเล็กๆ มักเป็นเด็กชาย ว่ายน้ำลอยคอกระดิบๆไปเก็บเอามาเล่น และได้ทั้งอัฐที่อยู่ในกระทงเป็นของแถม



ต้นเหตุลอยกระทง เล่าอย่างนิยายของชาวบ้านอีกเรื่องหนึ่ง...มีว่า ครั้งดึกดำบรรพ์ กาเผือกสองตัวผัวเมียทำรังอยู่บนต้นไม้ในป่าหิมพานต์ใกล้ฝั่งแม่น้ำ วันหนึ่งกาผู้บินจากรังไปหากิน เผอิญหลงทางกลับรังไม่ได้ สูญหายไป

วันหนึ่งเกิดพายุใหญ่ พัดรังกาพังกระจัดกระจาย ฟองไข่ 5 ฟองตกลงไปในแม่น้ำ ขณะที่แม่กาพลัดไปอีกทางหนึ่ง พอพายุสงบกลับมารัง ไม่เห็นไข่ก็เสียใจ ร้องไห้จนขาดใจตาย แล้วไปเกิดใหม่บนพรหมโลก ชื่อท้าวพกาพรหม

ส่วนฟองไข่ พัดลอยไปจนขึ้นตลิ่ง...ฟองที่ 1 แม่ไก่เอาไป ฟองที่ 2 แม่นาคเอาไป ฟองที่ 3 แม่เต่าเอาไป ฟองที่ 4 แม่โคเอาไป และฟองที่ 5 ราชสีห์เอาไป ครั้นได้กำหนดฟัก แตกออกมาก็ไม่เป็นลูกกา แต่เป็นมนุษย์มนุษย์ทั้งห้าเติบโต ก็ลามารดาไปบวชเป็นฤาษี เจริญฌาณสมาบัติ จนได้มาพบกันในวันหนึ่ง ถามนามวงศ์กันและกัน
    องค์ 1 ชื่อกกุสันโธ วงศ์ไก่
    องค์ 2 ชื่อโกนาคมโน วงศ์นาค
    องค์ 3 ชื่อ กัสสโป วงศ์เต่า
    องค์ 4 ชื่อโคตโม วงศ์โค และ
    องค์ที่ 5 ชื่อเมตเตยโย วงศ์ราชสีห์

 :25: :25: :25: :25:

ทุกองค์ต่างมีแม่เลี้ยง แม่จริงไม่มี พร้อมใจกันตั้งสัตย์อธิษฐาน ถ้าต่อไปจะได้เป็นพระพุทธเจ้า ขอให้ร้อนไปถึงมารดา แรงอธิษฐานทำให้ท้าวพกาพรหมเสด็จลงจากพรหมโลก จำแลงองค์เป็นกาเผือกบินไปตรงหน้า 5 ฤาษี แล้วเล่าเรื่องเดิมให้ฟัง

จากนั้นก็บอกว่า หากคิดถึงแม่ วันเพ็ญเดือน 11 หรือเดือน 12 ให้เอาด้ายดิบผูกไม้เป็นตีนกา ปักธูปเทียนบูชาลอยกระทงในแม่น้ำ

เรื่องราวการลอยกระทง ที่เขียนไว้ในวชิรญาณฯรายเดือน เล่ม 3 จบว่า ตั้งแต่นั้นชาวเราก็พากันลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหมด้วย เพื่อบูชาฝ่าพระบาทของพระพุทธเจ้า ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำยมนานั้นด้วย...สืบเนื่องกันมาจนทุกวันนี้.



จาก คอลัมน์ คัมภีร์จากแผ่นดิน โดย บาราย
https://www.thairath.co.th/content/540953
ขอบคุณภาพจาก
https://phu9.files.wordpress.com/
http://img.painaidii.com/
http://f.ptcdn.info/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ