« เมื่อ: ธันวาคม 11, 2015, 03:24:05 pm »
0
อินที่จริง เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ นะ อาตมาเคยได้รับชม ภาพยนต์เรื่องหนึ่ง แต่เป็นของศาสนา คริสต์ เรื่อง War room เนื้อเรื่องนี้ เป็นเรื่องของหลักการ และ ศรัทธา ในศาสนาคริสต์ ส่วนตัวก็มองว่า ดี ในระดับหนึ่ง หนังทำได้ดีมาก ชี้หลักการของชนชาวคริสต์ ที่มีต่อพระเจ้า ได้อย่างมีขั้นตอน แต่ผลลัพธ์ เขาก็คัดมาอย่างดี ด้วย คือเป็นผลบวก ( ซึ่งความเป็นจริง ชีวิตคนเรามัน มี ผลสามแบบ คือ แบบบวก แบบลบ แบบศูนย์ ) นี่เป็นเรื่องราวของ ภาพยนต์ เรื่องนี้ ตอนที่ชมก็ชื่นชอบในความศรัทธา รัก และ อภัย แต่การจะถึง เรื่อง อื่น ๆ เรื่องแรก คือ ต้องสารภาพบาป และ ยอมรับพระเจ้า ก่อน ตามบทของภาพยนต์ เรื่องเป็นอย่างไร คงไม่เล่่า ไปดูกันเอาเอง
แต่สำหรับศาสนาพุทธนั้น มุมมอง และ ภาวนาไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะมุมองของเรานั้น คือ ยอรับในผลของกรรม เชื่อมั่นในกรรม และ ทำในสิ่งทที่เหนือกรรม ( คือพระนิพพาน ) ดังนั้น ศาาสนาพุทธ สอนเหตุ ผล ให้เข้าใจว่า ที่ถูกเกลียด ถูกรัก ถูกสรรเสริญ ถูกติเตียน มันเกิดมาจากกรรม ที่เราได้สร้างไว้ กล่าวได้ว่า อดีต เป็น ผลของปัจจุบัน ถ้าคุณไม่ผิดศีล บำเพ็ญศีลมาทุกภพทุกชาติ เรื่องถูกเบียดเบียน นั้นเป็นไปไม่ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ชีวิตเรามีทั้งสองแบบ เพราะว่า สัญชาตญาณ ของปุถุชน ย่อมไหลลง สู่กิเลสตัณหา เป็นเครื่องปรุง ดังนั้น พุทธศาสนา ( พระสัมมาสัมพุทธเจ้า )พระองค์สอนให้ สาวก นั้นบำเพ็ญภาวนา เพื่อประหารกิเลส ไม่ใช่ เพื่อชนะกิเลส
ถ้าชนะกิเลส มันจะเป็น แค่เกมส์ ๆ หนึ่ง คือ มีแพ้ มีชนะ แล้ว ก็เริ่มต้นกันใหม่ ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น พระธรรมในพระพุทธศาสนา ไม่ได้เป็นมิตร กับกิเลส แต่ประหารกิเลส
ที่นี้พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงทราบดีว่า กิเลสนั้นไม่มีใครประหารได้หมดครอบจักรวาล ถ้าจะประหารได้ ก็ประหารเฉพาะตน ( ปัจจัตตัง ) ไม่สามารถไปประหารให้คนอื่นได้ ดังนั้นพระธรรมในพุทธศาสนา จึงมุ่งการภาวนา มาที่ตนเองไม่ใช่ มุ่งการภาวนาสู่บุคคลอื่น
แต่อย่างไรก็ตาม ในชั้นต้น ชั้นกลาง ก็มุ่งส่วนรวมเป็นหลักไปด้วย เพราะว่าการจะถึงขั้นสูงสุดเฉพาะตนได้นั้น ก็ต้องอาศัย ประเทศที่สงบ กัลยาณมิตรที่ไม่ฟุ้งซ่าน ตลอดถึงครูอาจารย์ที่เป็นพระอริยะ ที่พร้อมจะนำคำสอนของพระพุทธเจ้า มาสุู่ผู้ปฏิบัติ ดังนั้นพุทธศาสนา ก็สนับสนุนคนดี มีศีลธรรม มีจริยธรรม มีวัฒนธรรม คู่กันไปด้วย แต่ในที่สุด ก็ต้องถึง อริยะธรรม
เนื่องด้วย "อริยะธรรม" นั้นเป็นธรรมที่ เหนือโลก คำว่า โลก ในที่นี้ หมายถึง โลกธรรม 8 ประการ คือ การได้ลาภ การได้ยศ การได้สุข การได้สรรเสริญ การเสื่อมลาภ การเสื่อมยศ การได้ทุกข์ การถูกนินทา ดังนั้น อริยะธรรม เป็นธรรมที่เหนือโลก และ ธรรมเหนือโลก ก็เป็น ปัจจัตตัง บางครั้ง และ หลายครั้ง ตลอดหลายเวลา แม้รู้แจ้งแล้ว ก็ไม่สามารถนำมากล่าวอย่างเปิดเผยได้
ผลตอบแทน ของ อริยะธรรม ก็มีอยู่ 4 ระดับ
ระดับ 1 พระโสดาบัน ก็ มีภพชาติ เร็ว ก็ปัจจุบันสิ้นสุด ช้า ก็อีก 1 ชาติ ช้ามาก ก็อีก 3 ชาติ ช้ามากที่สุด ก็ 7 ชาติ
ระดับ 2 พระสกิกทาคามี ก็มีภพชาติ เร็ว ก็ปัจจุบัน ช้าก็ 1 ชาติ ช้ามาก ก็อาจจะหลายพระพุทธเจ้า เพราะต้องกำเนิดเป็นเทวดา ที่ภพชาตินานกว่ามนุษย์
ระดับ 3 พระอนาคามี ก็มีภาพชาติ เร็ว ก็ปัจจุบัน นาน ก็คล้ายกันกับ สกิทาคามี
ระดับ 4 พระอรหันต์ หมดชาตินี้ในปัจจุบัน สิ้นสุด วัฏฏะสงสาร ไม่มี สู่ ความไม่มี และไม่มีกำเนิดใหม่อีกต่อไป
ภพ ชาติ จักรวาล อันกำเนิดมนุษย์ หรือ สิ่งมีชีวิต ล้วนแล้วแต่มีเงื่อนไข และวัตถุประสงค์ การเคลื่อนขับจุติ ภพชาต อาศัย กิเลส กรรม และ วิบาก วนซ้ำซากไปมา บัณฑิต เท่านั้นที่จะมองเห็นเรื่องการเกิด แล้ว เกิด อีก เป็นเรื่อง น่าเบื่อ ดังนั้น ในที่สุดแห่ง พระพุทธศาสนา จึงต้องประหารกิเลส ที่อยู่ในใจของตนเอง ไม่ใช่ ข่มกิเลส หรือ ชนะ หรือ แพ้
จึงกล่าวได้ ว่า แท้ที่จริง ไม่มีคำว่า ชนะ หรือ ไม่มีคำว่า แพ้ เพราะเราไม่ลงเล่น เพื่อแพ้ หรือ ชนะ แต่ลงมือเพื่อ การประหารกิเลส ที่มีอยู่ในใจ ของเราให้หมดสิ้นไป การฟอกจิตใจ ตรงนี้ มีได้เฉพาะในหลักพุทธศาสนา เท่านั้น เพราะผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ไม่ได้ต้องการไปอยู่กับใคร แต่ต้องการให้สิ้นสุดการเกิด โดยไที่ไม่ต้องมีการเกิด อีกต่อไปนั่นเอง
หลักธรรม ในส่วนของการประหารกิเลส ที่สำคัญอันหนึ่ง ก็คือ การละมานะ ( การถือตัวตน ) ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราแย่กว่าเขา ผู้ที่ละมานะได้ จึงเป็นพระอรหันต์ นั่นหมายถึง การเหนือคำว่าแพ้ หรือ ชนะ นั่นเอง
ดังนั้นท่านทั้งหลาย จงตื่นจากการหลับ เลิกเล่นเกมส์ กับกิเลส แต่จงประหารกิเลส ที่มันมีอยู่ในใจของท่านกันเถิด ท่านก็จะไม่เป็นผู้แพ้ หรือ ผู้ชนะ เพราะท่านจะถึงที่สุดแห่งพรมหจรรย์ อันเป็นกิจแห่ง พุทธสาวก และได้รับรางวัล คือ การไม่ต้องกลับมาเกิด ในภพชาติอีกต่อไป
การเคลื่อนไปของ ภพชาติ สุดท้าย ก็จะเป็นเพียง เหตุ ปัจจัยที่สิ้นสุดลง ด้วยประการฉะนี้
เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 11, 2015, 03:52:13 pm โดย ธัมมะวังโส »

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ