ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ดราม่า หรือสติ...สติ หรือดราม่า  (อ่าน 702 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29305
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ดราม่า หรือสติ...สติ หรือดราม่า
« เมื่อ: ธันวาคม 25, 2015, 08:05:35 am »
0


ดราม่า หรือสติ...สติ หรือดราม่า


ไม่รู้ว่ามีใครนิยามคำว่า “ดราม่า” อย่างเป็นทางการหรือยังนะครับ แต่เอาเป็นว่า คงเป็นการทำให้เรื่องที่มีอยู่ เรื่องที่เกิดขึ้น ดูมีความเร้าใจ กระตุ้นอารมณ์ กระชากอารมณ์ ให้มากขึ้น

สังคมยุคนี้มีคำว่า “ดราม่า” ออกมาบ่อยมาก ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ แต่เอาเป็นว่าสังคมไทยเหมือนกับว่าเสพติดดราม่ากันเยอะ เลยหยิบคำว่า “ดราม่า” นี้ มาคุยกันนะครับ เพราะการ “ดราม่า” การชอบดราม่า เสพติดดราม่า ทำเรื่องให้ดราม่า ที่สุดแล้ว คือการที่เราเป็นคนที่ชอบอะไรที่ “ป่วนอารมณ์” กระชากอารมณ์ ทำให้คนแสดงอารมณ์แรง ๆ ออกมาได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กระทบกับเรื่องของสภาวะธรรมและสติอันเป็นเหมือนหางเสือชีวิตในการกำกับให้จิตใจเรา นิ่ง เย็น มีเสถียรภาพ โดยตรง เป็นเรื่องของการบริหารจิต หรือการล้มเหลวการบริหารจิต โดยตรงก็ว่าได้


 :96: :96: :96: :96:

ไม่รู้ว่ามีใครนิยามคำว่า “ดราม่า” อย่างเป็นทางการหรือยังนะครับ แต่เอาเป็นว่า คงเป็นการทำให้เรื่องที่มีอยู่ เรื่องที่เกิดขึ้น ดูมีความเร้าใจ กระตุ้นอารมณ์ กระชากอารมณ์ ให้มากขึ้น เช่นเรื่องธรรมดา ก็ยกระดับเพื่อให้คนรอบข้างรู้สึกว่าพิเศษ ว่ากันง่าย ๆ คือ การนำเสนอก็ดี พฤติกรรมก็ดี เกินจริงเพื่อทำให้อารมณ์เหวี่ยงสะบัดไป เช่น ทำให้ดูน่าสงสารเป็นพิเศษสร้างภาพให้คู่กรณีดูใจจืดใจดำใจร้ายเป็นพิเศษ

เมื่อประกบคู่กับโลกที่คนบริโภคสื่อเยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลักหรือสื่อออนไลน์ก็ดี การแสดงออกซึ่งอารมณ์ที่อาจจะเกินจริง หรือว่ามีจริงแต่ไม่พยายามที่จะควบคุมหรือลดระดับให้กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ปล่อยวางได้ ยิ่งทำให้ กระแส “ชอบดราม่า” เสพติดดราม่าพวกนี้ แพร่กระจายไปทั่ว จนจะเป็นพฤติกรรมใหม่กันอยู่แล้ว


 :41: :41: :41: :41:

หนึ่งในเรื่องของดราม่า นอกจากจะเป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น คู่ขัดแย้ง ผู้ได้รับผลกระทบแล้ว พอมาประกบกับโซเชียลมีเดีย หรือสื่อกระแสหลักที่ชอบการเสนอประเด็น “ดราม่า” (ที่ปัจจุบันไม่มีเสียเลยก็ไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคสื่อ) ก็คือประเด็นที่คนอื่นที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเลยออกมาแสดงความคิดเห็น และการแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่ก็จะออกมาในลักษณะของการประณาม คนที่เป็นผู้ร้ายในเรื่องอย่างรุนแรง

ผมก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะบอกได้ว่า สังคมนี้เป็นสังคมที่มีการระเบิดอารมณ์กันรุนแรง (แทนที่จะมีการควบคุมอารมณ์ และใช้หลักเหตุหลักผล หรือเอาแค่แสดงอารมณ์ตามสมควร) นั้นเป็นสังคมที่ดีหรือไม่ดี เพราะไม่มีเสียเลยก็คงจะไม่มีสีสัน แต่หากว่ามีเยอะไป ไม่รู้ว่าสังคมจะอยู่เป็นสุขกันอย่างไร แค่อยากจะหยิบยกประเด็นมาว่า


 :91: :91: :91: :91:

เรื่องของการเร้าอารมณ์ ทำให้มีอารมณ์เคลื่อนไหวหวือหวาเยอะ ๆ นั้น ไม่ใช่สิ่งที่สอดคล้องกับหลักการแห่งการลดความทุกข์ด้วยการเจริญสติ การทำให้สังคมแวดล้อมอยู่กันได้อย่างสงบสุขด้วยการเจริญสติ ไม่แสดงอารมณ์ “เกินกว่าที่เกิดขึ้นจริง” หากแต่พยายามใช้สติในการลดทอน อารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะอารมณ์ใด อารมณ์ โกรธ อารมณ์สงสาร อารมณ์เคียดแค้น อารมณ์เห็นอกเห็นใจ

สำหรับผู้ที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับสถานการณ์ โดยตรงก็อย่างหนึ่ง ย่อมต้องมีอารมณ์แรงอยู่แล้วเพราะรับผลกระทบโดยตรง แต่สำหรับผู้ที่เป็น ผู้สังเกตการณ์และบริโภค “ดราม่า” เหล่านั้น ทั้งที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย ก็ล้วนแต่มีอารมณ์ร่วมอย่างรุนแรง แสดงความคิดเห็น (ซึ่งบางทียังไม่ได้ทราบข้อเท็จจริงรอบด้าน) อย่างรุนแรง นั้นเป็นพฤติกรรมที่มากับโลกไซเบอร์ดราม่า

ไม่ทราบเหมือนกันว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ที่คนในสังคมระเบิดอารมณ์รุนแรงตลอดเวลานั้นดีหรือไม่ดี แต่ที่แน่ ๆ คือ จะมีอารมณ์ใดก็ตาม เรามี “สติ” กำกับแค่ไหน การมีสติกำกับกับทุกอารมณ์ น่าจะทำให้สังคมมีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้นหรือเปล่า? ฝากให้ฉุกคิด รู้จิตตนเองแค่นี้แหละครับ.

คอลัมน์ จิตเหนืออารมณ์ โดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน
ขอบคุณภาพและบทความจาก : http://www.dailynews.co.th/article/362840
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ