ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สำนักพุทธฯ เตรียมชี้แจง กรณีพระลิขิตคาด 10 ก.พ.นี้  (อ่าน 1077 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



สำนักพุทธฯ เตรียมชี้แจง กรณีพระลิขิตคาด 10 ก.พ.นี้

รองผอ.สำนักพุทธฯ เผยชี้แจงดีเอสไอเรื่องพระลิขิตกรณีพระธัมมชโยไปบางส่วนแล้ว เตรียมรวบรวมข้อมูลแถลงต่อสาธารณชน คาด 10 ก.พ.นี้ ระบุหน่วยงานไหนจะชี้พระปาราชิกได้ต้องถามคณะสงฆ์ก่อน ขณะที่อดีตผอ.ส่วนงานมหาเถรฯ ย้ำพระลิขิตจัดเป็นคำสอน ไม่ใช่คำสั่งจึงไม่ใช่กฏหมาย ไม่มีผลต่อการปฏิบัติ

จากกรณีที่พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอได้ออกมาระบุว่าดีเอสไอได้ตรวจสอบพระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเกี่ยวกับกรณีพระธัมมชโยตามที่มีการร้องเรียนแล้วยืนยันว่า พระลิขิตมีผลตามกฎหมายพร้อมทั้งได้ทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)และมหาเถรสมาคม(มส.)สอบถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามที่มีการร้องเรียนให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกจากคดียักยอกเงินและที่ดินตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชนั้น วันนี้( 5ม.ค.)

 :96: :96: :96: :96:

นายชยพล พงษ์สีดา รองผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)กล่าวว่า พศ.ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วและก่อนหน้านี้ก็ได้มีการชี้แจงไปยังดีเอสไอแล้วบางส่วน เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวอย่างไรก็ตามในส่วนของพศ.ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่จะเตรียมชี้แจงต่อสาธารณชนโดยต้องขอหารือกับคณะทำงานและพระมหาเถระในกรรมการมส.อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะยังไม่ขอตอบอะไรในตอนนี้ดาดว่าอาจจะแถลงอย่างเป็นทางการอีกครั้งในช่วงหลังประชุมมส.ในวันที่ 10ก.พ.นี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ดีเอสไอระบุว่า พศ.และมส.เป็นเจ้าพนักงานและต้องปฏิบัติตามหน้าที่มิฉะนั้นจะมีความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้ และพศ.จะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องดังกล่าว นายชยพล กล่าวว่า พศ.ถือเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วแต่ก็ต้องดูว่า มีอำนาจในเรื่องใด คำว่าละเว้นหรือไม่จะต้องมีอำนาจหน้าที่และไม่ดำเนินการ โดยจะต้องไปดูในเรื่องนั้นๆว่าพศ.มีอำนาจดำเนินการแค่ไหน ส่วนมส.ก็เช่นกันก็ต้องไปดูอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นแค่ไหน การจะทำอะไรหากทำนอกอำนาจหน้าที่ไม่ได้อยู่แล้ว

“ผมได้พูดคุยกับทางดีเอสไอไปบางส่วนแล้วโดยมีการซักถามเพื่อความเข้าใจว่าทางดีเอสไอยังไม่เข้าใจตรงไหนเพื่อที่พศ.จะได้ทำคำชี้แจงไปให้ทราบ ส่วนกรณีที่หน่วยงานราชการจะชี้ว่าพระรูปไหนปาราชิกนั้นก็ต้องให้ผู้ใช้กฏหมายและพระธรรมวินัยเป็นผู้ชี้คือ คณะสงฆ์ แต่หากหน่วยงานไหนเห็นแย้งก็ทำได้ก็ต้องมาถามผู้ใช้กฎหมายให้เป็นผู้ชี้ขาด”รองผอ.พศ.กล่าว

 :96: :96: :96: :96:

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับพระธัมมชโย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีการชี้แจงผ่านสื่อมวลชนมาครั้งหนึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคม 2558 ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีพระพุทธอิสระเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อยและนางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ(มปปท.)ร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบกรณีพศ.ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคม(มส.)ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่บรรจุวาระการประชุมเกี่ยวกับการปาราชิกของพระธัมมชโยซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช

ซึ่งพศ.ได้ตอบผู้ตรวจการแผ่นดินไปว่าได้ตรวจสอบเอกสารรวมถึงกระบวนการพิจารณาทั้งหมดแล้ว และเรื่องต่างๆได้ยุติลงตั้งแต่กระบวนการชั้นต้นในระดับจังหวัดคือ คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี จึงไม่มีการแจ้งเรื่องมายังสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม จึงถือว่าพศ.ไม่ได้รับเรื่องจากเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีแล้วจะมีความผิดมาตรา 157ได้อย่างไร

ส่วนทางเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีก็มีคำวินิจฉัยโดยคณะกรรมการพิจารณานิคหกรรมระดับจังหวัดก็มีคำสั่งและเหตุผลระบุไว้แล้วว่าทำไมถึงยุติเรื่องนี้ เนื่องจากผู้ร้องได้ถอนฟ้องต่อศาลอาญา ศาลจึงมีคำสั่งถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบ จึงทำให้กระบวนการพิจารณาชั้นต้นของเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีได้สิ้นสุดลงไปด้วย


 :41: :41: :41: :41:

นายพิศาฬเมธ แช่มโสภา ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอ่างทองในฐานะอดีตผอ.ส่วนงานมหาเถรสมาคม(มส.)กล่าวว่า จากกรณีที่มีการการกล่าวอ้างว่าพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเป็น“กฎหมาย” ที่มส.และคณะสงฆ์ต้องปฏิบัติตามนั้น ตนขอชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องพระบัญชากับพระลิขิตว่าแตกต่างกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดและเกิดผลกระทบต่อสถาบันพระพุทธศาสนา

โดยพระบัญชา คือ คำสั่งสมเด็จพระสังฆราชหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชที่คณะสงฆ์ไทยต้องปฏิบัติตาม เช่น พระบัญชาแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะใหญ่ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นต้น ซึ่งการจะทรงมีพระบัญชาใดๆนั้น มีกฎเกณฑ์กำหนดตามมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.คณะสงฆ์พ.ศ.2505แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535ว่า ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม

นายพิศาฬเมธกล่าวต่อไปว่า ส่วนพระลิขิต คือ ข้อเขียนตามพระประสงค์ซึ่งจัดเป็นคำสอน ไม่ใช่คำสั่งจึงไม่เป็นกฎหมายไม่มีผลต่อการปฏิบัติ เช่น พระวรธรรมคติ พระโอวาท เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีการกล่าวอ้างว่ามส.ขัดพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชจึงไม่เป็นความจริง เพราะพระลิขิตที่นำมากล่าวอ้างนั้นขัดกับกฎมส.เพราะกฎมส.ฉบับที่ 11พ.ศ.2521 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ซึ่งเกี่ยวกับระบบศาลของคณะสงฆ์ไทยและประกาศใช้เพื่อพิจารณาคดีที่เป็นอาบัติโดยเฉพาะ ได้แบ่งเป็น 3 ศาลเหมือนทางโลก คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีกา โดยในข้อ 26 ระบุว่า
    การพิจารณาวินิจฉัยลงนิคหกรรมชั้นฏีกาให้เป็นอำนาจของมส.
    ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการมส.โดยตำแหน่ง พระองค์จึงเปรียบเหมือนประธานศาลฎีกา
    ดังนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่ที่ประธานศาลฎีกาจะมีคำตัดสินว่านาย ก. หรือนาย ข. ทำถูกหรือผิด ในขณะที่ศาลชั้นต้นยังไม่พิจารณา


ขอบคุณข่าวจาก
เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:32 น.
http://www.dailynews.co.th/education/377684
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1076
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สำนักพุทธฯ เตรียมชี้แจง กรณีพระลิขิตคาด 10 ก.พ.นี้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2016, 05:32:29 pm »
0
 thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ