ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ระลึกวิธีกัมมัฏฐาน "หลวงพ่อจรัญ" แห่งวัดอัมพวัน  (อ่าน 876 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29346
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ระลึกวิธีกัมมัฏฐาน "หลวงพ่อจรัญ" แห่งวัดอัมพวัน
โดย...เอกชัย จั่นทอง

พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือที่สาธุชนรู้จักมักคุ้นกันในนาม “หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม” แห่งวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เป็นพระกัมมัฏฐาน จริยวัตรงดงาม เป็นพระสุปฏิปันโน แสวงหาความรู้และประสบการณ์นำมาสอนสั่งญาติโยมให้รู้ซึ้งถึงกฎแห่งกรรม รู้ถึงการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ การบำเพ็ญภาวนา อันเป็นที่มาของศีล สมาธิ ปัญญา จนเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ

เป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ สืบสานเส้นทางธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หลวงพ่อจรัญ มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 87 ปี 5 เดือน เมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ด้วยท่านเป็นพระนักปฏิบัติ จึงขอนำวิธีปฏิบัติกัมมัฏฐานเบื้องต้นของหลวงพ่อจรัญ เพื่อระลึกถึงสิ่งที่ท่านได้สั่งสอนลูกศิษย์ไว้ทั่วทุกสารทิศของประเทศไทยมาถ่ายทอด

 :25: :25: :25: :25:

สำหรับการปฏิบัติกัมมัฏฐาน การเดินจงกรม ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้สติจับอยู่ที่ปลายผม กำหนดว่า “ยืนหนอ” ช้าๆ 5ครั้ง เริ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้า และจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะ กลับขึ้นกลับลงจนครบ 5 ครั้ง

แต่ละครั้งแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกคำว่า “ยืน” จิตวาดมโนภาพร่างกาย จากศีรษะลงมาหยุดที่สะดือ คำว่า “หนอ” จากสะดือลงไปปลายเท้า กำหนดคำว่า “ยืน” จากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ คำว่า “หนอ” จากสะดือขึ้นไปปลายผม กำหนดกลับไปกลับมาจนครบ 5 ครั้ง ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกาย อย่าให้ออกไปนอกกาย

เสร็จแล้ว ลืมตาขึ้น ก้มหน้าทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ 1 ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า “ขวา...”  “ย่าง...”  “หนอ...” กำหนดในใจ คำว่า “ขวา” ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ 2 นิ้ว เท้ากับใจ

นึกต้องให้พร้อมกัน “ย่าง” ต้องก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าที่สุด เท้ายังไม่เหยียบพื้น คำว่า “หนอ”เท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดว่า “ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...”คงปฏิบัติ เช่นเดียวกันกับ “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...”


 st12 st12 st12 st12

ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ 1 คืบ เป็นอย่างมากเพื่อการทรงตัว ขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้แล้ว ให้นำเท้ามาเคียงกัน เงยหน้าหลับตา กำหนด “ยืนหนอ” ช้าๆ อีก 5 ครั้ง ทำความรู้สึกโดยจิต สติ รู้อยู่ตั้งแต่กลางกระหม่อม แล้วกำหนด “ยืนหนอ” 5 ครั้ง เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมาถึงปลายเท้า เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา “ยืนหนอ” 5 ครั้ง แล้วหลับตา ตั้งตรงๆเอาจิตปักไว้ที่กระหม่อม เอาสติตาม ดังนี้ “ยืน...” (ถึงสะดือ) “หนอ...” (ถึงปลายเท้า) หลับตาอย่าลืมตา นึกมโนภาพ เอาจิตมอง ไม่ใช่มองเห็นด้วยสายตา “ยืน…” (จากปลายเท้าถึงสะดือหยุด) แล้วก็ “หนอ…” ถึงปลายผม คนละครึ่ง พอทำได้แล้ว ภาวนา “ยืน…หนอ...” จากปลายผมถึงปลายเท้าได้ทันที ไม่ต้องไปหยุดที่สะดือ แล้วคล่องแคล่วว่องไว ถูกต้องเป็นธรรม

ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกายอย่าให้ออกไปนอกกาย เสร็จแล้วลืมตาขึ้น ก้มหน้า ทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ 1 ศอก สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...” กำหนดในใจ คำว่า “ขวา” ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ 2 นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อม คำว่า “ย่าง” ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าให้ช้าที่สุด เท้ายังไม่เหยียบพื้น คำว่า “หนอ” เท้าเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้า อย่าให้ส้นเท้าหลังเปิด

 st11 st11 st11 st11

เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดคำว่า “ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...” คงปฏิบัติเช่นเดียวกับ “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...” ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ 1 คืบ เป็นอย่างมากเพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ใช้เดินแล้ว พยายามใช้เท้าขวาเป็นหลักคือ “ขวา...” “ย่าง...” “หนอ...” แล้วตามด้วยเท้า “ซ้าย...” “ย่าง...” “หนอ...” จะประกบกันพอดี แล้วกำหนดว่า “หยุด...หนอ...” จากนั้นเงยหน้า หลับตากำหนด “ยืน...หนอ...” ช้าๆ อีก 5 ครั้ง เหมือนกับที่ได้อธิบายมาแล้ว ลืมตา ก้มหน้า ท่ากลับ การกลับกำหนดว่า “กลับหนอ” 4 ครั้ง คำว่า “กลับหนอ”

ครั้งที่หนึ่ง ยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา 90 องศา ครั้งที่ 2 ลากเท้าซ้ายมาติดกับเท้าขวา ครั้งที่ 3 ทำเหมือนครั้งที่ 1  ครั้งที่ 4 ทำเหมือนครั้งที่ 2


 ans1 ans1 ans1 ans1

หากฝึกจนชำนาญแล้วเราสามารถกำหนดให้ละเอียดขึ้น โดยการหมุนตัวจาก 90 องศา เป็น 45องศา จะเป็นการกลับหนอทั้งหมด 8 ครั้ง เมื่ออยู่ในท่ากลับหลังแล้วต่อไปกำหนด “ยืน...หนอ...” ช้าๆ อีก 5 ครั้ง ลืมตา ก้มหน้า แล้วกำหนดเดินต่อไป กระทำเช่นนี้จนหมดเวลาที่ต้องการ

การนั่งทำต่อจากการเดินจงกรม อย่าให้ขาดตอนลง เมื่อเดินจงกรมถึงที่จะนั่ง ให้กำหนด“ยืน...หนอ...” อีก 5 ครั้ง ตามที่กระทำมาแล้วเสียก่อน แล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่า “ปล่อยมือหนอๆๆๆ” ช้าๆ จนกว่าจะลงสุดเวลานั่งค่อยๆ ย่อตัวลงพร้อมกับกำหนดตามอาการที่ทำไปจริงๆ เช่น “ย่อตัวหนอๆๆๆ” “เท้าพื้นหนอๆๆๆ” “คุกเข่าหนอๆๆๆ” “นั่งหนอๆๆๆ” เป็นต้น

 :25: :25: :25: :25:

วิธีนั่ง ให้นั่งขัดสมาธิคือ ขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรง หลับตา เอาสติมาจับอยู่ที่สะดือที่ท้องพองยุบเวลาหายใจเข้าท้องพอง กำหนดว่า “พองหนอ” ใจนึกกับท้องที่พองต้องให้ทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน หายใจออกท้องยุบ กำหนดว่า “ยุบหนอ” ใจนึกกับท้องที่ยุบต้องทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน

ข้อสำคัญให้สติจับอยู่ที่พองยุบเท่านั้น อย่าดูลมที่จมูก อย่าตะเบ็งท้องให้มีความรู้สึกตามความ เป็นจริงว่าท้องพองไปข้างหน้า ท้องยุบมาทางหลัง อย่าให้เห็นเป็นไปว่า ท้องพองขึ้นข้างบน ท้องยุบลงข้างล่าง ให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไป จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด


หมายเหตุ : จากหนังสือระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี


ภาพจาก...www.jarun.org
http://www.posttoday.com/dhamma/413412
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ