ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ยุคอยุธยา, สุโขทัย ชาวบ้านทั่วไปไม่รู้จักสงกรานต์  (อ่าน 837 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29355
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




ยุคอยุธยา, สุโขทัย ชาวบ้านทั่วไปไม่รู้จักสงกรานต์

ยุคอยุธยาและยุคสุโขทัย ชาวบ้านร้านตลาดไม่รู้จักสงกรานต์ ไม่มีประเพณีสงกรานต์ ไม่มีสาดน้ำสงกรานต์ เพราะสงกรานต์ขึ้นปีใหม่แขกอินเดีย เป็นประเพณีพราหมณ์ (รับมาจากอินเดีย) ในศาสนาพราหมณ์ เกี่ยวข้องกับการย้ายราศี จากราศีมีนสู่ราศีเมษ (ตามปฏิทินสุริยคติ) ไม่ใช่ประเพณีพื้นเมืองของอาเซียนโบราณ (ตามปฏิทินจันทรคติ)

พิธีกรรมสงกรานต์ถ้าจะมี ก็มีในเทวสถานของพราหมณ์ หรือมีในที่รโหฐานของราชสำนักอยุธยาและสุโขทัย

ผู้ทำพิธีและผู้เกี่ยวข้องมีจำกัดจำเพาะพราหมณ์ กับเจ้านายและขุนนางปุโรหิตประจำราชสำนักเท่านั้น ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับอาณาประชาราษฎรอยุธยาและสุโขทัย ทั้งในเมืองและนอกเมือง เพิ่งแพร่หลายสู่คนทั่วไปสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สงกรานต์ปีใหม่ไทย มักอ้างกันทั่วไปว่าเป็นประเพณีดั้งเดิมของไทย มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา กรุงสุโขทัย แต่หลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีมีตรงกัน ว่าประชากรยุคอยุธยาและสุโขทัยขึ้นฤดูกาลใหม่ (ปีใหม่) หลังลอยกระทง ตรงกับเดือนอ้าย (เดือนที่หนึ่ง) ราวพฤศจิกายน-ธันวาคม

และปีนักษัตร (ชวด ฉลู ขาล ฯลฯ) ก็เปลี่ยนตอนเดือนอ้าย (ไม่ใช่เปลี่ยนตอนสงกรานต์) เพราะรับจากจีน ไม่รับจากอินเดีย ในอินเดียไม่มีปีนักษัตร จึงไม่เปลี่ยนตอนสงกรานต์จากอินเดีย



ผู้เขียน   : สุจิตต์ วงษ์เทศ
ที่มา : คอลัมน์ สยามประเทศไทย
ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.matichon.co.th/news/105305
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ