ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวขลุง สืบสานประเพณีกว่า 100 ปี 'ชักเย่อเกวียนพระบาท'  (อ่าน 1040 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





ชาวขลุง สืบสานประเพณีกว่า 100 ปี 'ชักเย่อเกวียนพระบาท'

ชาวอำเภอขลุง จ.จันทบุรี ร่วมสืบสาน"ประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท" เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่หาชมได้ยากตามความเชื่อแต่โบราณ กว่า 100 ปี หลังขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม...

เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 17 เม.ย.59 ที่ลานวัดตะปอนใหญ่ ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี ได้จัดให้มีประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท ในงานสืบสานประเพณีรอยพระบาท โดย นายกาญจน์ กรณีย์ ประธานสภาวัฒนธรรม อ.ขลุง ผู้นำชุมชน ตลอดจนชาวบ้าน ต.ตะปอน และ ตำบลใกล้เคียง พร้อมใจกันเข้าร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ที่หาชมได้ยากตามความเชื่อแต่โบราณ กว่า 100 ปี กันอย่างคักคึก



ทั้งนี้ เพื่อร่วมอนุรักษ์ และสืบทอดประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ปัจจุบันหาชมได้ยากมาก อีกทั้งเป็นความเชื่อ และความศรัทธาของคนในพื้นที่ ที่ว่าหากใครได้ลากจูง หรือ ชักเย่อเกวียนพระบาท จะประสบแต่ความสุข ความเจริญก้าวหน้า ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ประเพณีแห่พระบาทชักเย่อ เป็นความเชื่อ ความศรัทธาของชาว ต.ตะปอน และตำบลใกล้เคียง ที่ปฏิบัติสืบทอดมาเป็น 100 ปี โดยหากย้อนไปเมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 ต.ตะปอน เกิดทุกข์เวทนาแสนสาหัส นาข้าวแห้งแล้ง เกิดโรคห่าระบาด จนหมดทางแก้ไข หลวงพ่อพร้อมชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนำรอยพระบาทผ้าออกแห่ไปทั่วตำบล ส่งผลให้เกิดปาฏิหาริย์ เกิดฝนตก โรคร้ายที่กำลังระบาดก็หยุดไป

จากนั้นเป็นต้นมาจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา ที่เมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวตะปอน จะต้องน้ำรอยผ้าพระบาทขึ้นเกวียน แห่ไปรอบตำบล แล้วแยกย้ายกันนำผ้าพระบาท ไปทำบุญตามหมู่บ้าน จนไปสิ้นสุด วันสุดท้ายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี นับว่าเป็นตำบล ที่ทำบุญสงกรานต์มาราธอนยาวนานที่สุดในประเทศไทย



นายกาญจน์ กรณีย์ ประธานสภาวัฒนธรรม อ.ขลุง เปิดเผยว่า ประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ปี พ.ศ.2558 โดยกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งกลุ่มอนุรักษ์ประเพณีพื้นบ้าน ตะปอน-เกวียนหัก ได้อนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชักกะเย่อเกวียนพระบาท โดยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ในการถ่ายทอดประเพณีที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ให้กับลูกหลาน ชาว อ.ขลุง ได้สืบทอดต่อไป ซึ่งในการร่วมชักเย่อเกวียน แต่ละครั้งมักได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุ ไปจนถึงลูกหลาน เข้าร่วมกิจกรรม ถือเป็นแบบอย่างของความสามัคคีของคนในชุมชน ที่ ต.ตะปอน และ ต.เกวียนหัก ยังคงให้เห็นภาพเหล่านั้นในยุคปัจจุบัน

นอกจากนี้ ในแต่ละปี ประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท ได้รับความสนใจจากชาวบ้านในพื้นที่และใกล้เคียงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2517 ได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้น มีการส่งทีมเข้าร่วม ทั้งผู้สูงอายุ หนุ่ม-สาว เด็กนักเรียน โดยไม่มีการจำกัด ส่งผลให้ให้ชุมชนเกิดความเข็มแข็ง ซึ่งในปีนี้ นอกจากทีมผู้สูงอายุจากชาวบ้านในพื้นที่ แข่งขันร่วมกับทีมสื่อมวลชน จันทบุรี แล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประเทศเพื่อนบ้าน กัมพูชา ได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสานสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชา ในประเพณีที่มีมาแต่ช้านาน โดยมีชาวชุมชนตะปอน และใกล้เคียง ต่างพาลูกหลานเข้าร่วมประเพณีอันดีงามกันอย่างมากมาย.



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/607037
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ