องคมนตรี วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารสังเวชนียสถาน พุทธมณฑล จ.สงขลา องคมนตรี วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารสังเวชนียสถานตำบลปฐมเทศนาพุทธมณฑล จ.สงขลา สนองนโยบายรัฐบาลในการให้ทุกจังหวัดจัดตั้ง "ศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา" เพื่อเป็นศูนย์รวมในการยึดเหนี่ยวจิตใจ และพักผ่อนทั้งทางกาย-ใจของพุทธศาสนิกชน
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 16 พ.ค.59 ที่บริเวณพุทธมณฑลจังหวัดสงขลา ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พระธรรมวงศาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 18 ประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วย นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารสังเวชนียสถานตำบลปฐมเทศนาพุทธมณฑลจังหวัดสงขลา โดยมี นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมข้าราชการและพุทธศาสนิกชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ต่างพร้อมใจสวมใส่ชุดขาวเข้าร่วมงานจำนวนมากนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารสังเวชนียสถานตำบลปฐมเทศนาพุทธมณฑล จ.สงขลา
นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา รอง ผวจ.สงขลา เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้ทุกจังหวัดจัดตั้ง “ศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา” เพื่อเป็นศูนย์รวมในการยึดเหนี่ยวจิตใจ พร้อมเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา การศึกษา การอบรม และเป็นสถานที่พักผ่อนทั้งทางกายและทางใจของพุทธศาสนิกชนในแต่ละพื้นที่ โดยจังหวัดสงขลาได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดสงขลา จัดสร้างพุทธมณฑลขึ้น บริเวณทุ่งป่าเสม็ดงาม หมู่ 6 ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พื้นที่ประมาณ 117 ไร่ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554ประธานฝ่ายสงฆ์ วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารสังเวชนียสถานตำบลปฐมเทศนาพุทธมณฑลจังหวัดสงขลา ขนาด 117 ไร่
โดยการจัดสร้างพระประธาน คือ พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หน้าตักกว้าง 29 เมตร สูง 40 เมตร เป็นพระพุทธรูปนั่ง ซึ่งการจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ ถือเป็นพระที่สื่อความหมายถึงความสงบสุข ความร่มเย็นของบ้านเมือง นอกจากนี้ยังมีการพุทธาภิเษกพระพุทธสิหิงค์เป็นพระประธานจำลอง ขนาดหน้าตักกว้าง 84 นิ้ว และแบบเขวนห้อยบูชาอีกด้วยวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารสังเวชนียสถานตำบลปฐมเทศนาพุทธมณฑลจังหวัดสงขลา
สำหรับการจัดสร้างพุทธมณฑลจังหวัดสงขลา คาดว่าใช้งบประมาณ 230 ล้านบาท โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ซึ่งในปี 2559 ใช้งบประมาณ ประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างพุทธมณฑลฯ และคาดว่าปลายปี 2560 จะสามารถใช้พื้นที่บางส่วนในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยพุทธศาสนิกชนไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงประเทศอินเดีย ถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามให้คงอยู่สืบไป โดยคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในกลางปีขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/621160