ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 18 องค์กรพุทธจี้ ตีความ ม.7 ตั้งสังฆราช สัปดาห์หน้า  (อ่าน 910 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29345
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



18 องค์กรพุทธจี้ ตีความ ม.7 ตั้งสังฆราช สัปดาห์หน้า

นายกสนพ. ยื่นหนังสือถึงผอ.สำนักพุทธฯ ทวงถามความคืบกฤษฎีกาหน้าตีความม.7 ตั้งสังฆราช พร้อมนัดรวมตัว 18 องค์กรพุทธ บุกทำเนียบรัฐบาล วอนนายกรัฐมนตรี ช่วยติดตามเรื่องนี้สัปดาห์ ด้านรองผอ.สำนักพุทธฯ แจงเข้าชี้แจงต่อกฤษฎีกามา 2 รอบแล้ว ระบุ หลักตั้งสังฆราชที่ผ่านมาต้องถามสังฆะทัศนะจากมหาเถรฯก่อนเสนอทูลเกล้าทุกครั้ง เชื่อกฤษฎีกาเข้าใจหลักปฏิบัตินี้

วันนี้( 5 ก.ค.) ที่หอประชุมพุทธมณฑล สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม  ผศ.ดร. เสถียร วิพรมหา นายกสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา(สนพ.) ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายพนม ศรศิลป์ ผอ. พศ. เพื่อขอให้พศ.ติดตาม ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับกรณีที่ทางรัฐบาลส่งเรื่องที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้รัฐบาลตีความในมาตรา 7 สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ในพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมี ดร.กนก แสนประเสริฐ รองผอ.พศ. เป็นผู้รับหนังสือแทน

ผศ.ดร.เสถียร กล่าวว่า การที่มายื่นหนังสือครั้งนี้ เพื่อขอให้ทางพศ.ช่วยติดตามเรื่องนี้ เนื่องจากในมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะเพื่อทูลเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงไม่อยากให้มีการตีความล่าช้าเกินไป เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์ไทย อีกทั้งมหาเถรสมาคม(มส.)ก็ได้มีมติเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะที่มีความเหมาะสมตามกฎหมายไปแล้วตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค.2559 ซึ่งการดำเนินการของคณะสงฆ์ได้ยึดตามกฎหมาย และโบราณประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา โดยในสัปดาห์หน้าสนพ. พร้อมด้วยองค์กรพุทธอีก 18 องค์กร อาทิ ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย  องค์กรพิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น จะรวมตัวกันไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้ช่วยติดตามเรื่องนี้ด้วย


 :96: :96: :96: :96:

ผศ.ดร.เสถียร กล่าวอีกว่า ส่วนตัวมองว่า ไม่ว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาจะตีความเรื่องนี้ออกมาอย่างไร เช่น หากตีความว่าต้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อสมเด็จพระราชาคณะที่มีความเหมาะสม ทางนายกฯก็ต้องดูตามกฎหมาย  และปรึกษามส.ก่อน ซึ่งคุณสมบัติตามกฎหมายคณะสงฆ์ฉบับปัจจุบันก็ระบุไว้ชัดเจนว่าจะต้องเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์

ด้าน ดร.กนก กล่าวว่า ทางพศ.ได้มอบให้ตนไปชี้แจงเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งจากการร่วมประชุมพบว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยตนได้นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ข้อปฏิบัติ ที่เกี่ยวกับการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง 19 พระองค์ไปชี้แจงต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เชื่อว่าการพิจารณาตีความคงใช้เวลาอีกไม่นาน และแม้ว่าในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 นี้ จะเป็นครั้งแรกที่นำระเบียบปฎิบัติที่ระบุไว้ในมาตรา 7 พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 มาใช้ แต่แนวทางหลักๆแทบจะไม่ต่างจากแนวปฏิบัติที่เคยปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต ขณะเดียวกันทางคณะกรรมการกฤษฎีกาก็มีความเข้าใจว่าในเรื่องการเสนอรายชื่อสมเด็จพระสังฆราชนั้น จำเป็นต้องถามสังฆทัศนะจาก มส.ก่อน


ขอบคุณข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/507054
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ