ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รอง ผอ.พศ.เผย 3 หน่วยงานหนุนร่าง พ.ร.บ.พระปริยัติ แต่แนะอย่าให้ขัดกฎหมายการศึกษา  (อ่าน 896 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


รอง ผอ.พศ.เผย 3 หน่วยงานหนุนร่าง พ.ร.บ.พระปริยัติ แต่แนะอย่าให้ขัดกฎหมายการศึกษาชาติ

นายชยพล พงษ์สีดา รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับสำนักงบประมาณและกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกอบด้วย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานปลัด ศธ.และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อขอความคิดเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. … ก่อนส่งให้นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล พศ.เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) นั้น ขณะนี้มี 3 หน่วยงานได้ส่งหนังสือตอบ พศ.แล้ว ได้แก่ สำนักงบประมาณ สพฐ.และ สกศ.เหลือ 2 หน่วยงานที่ยังไม่ส่งหนังสือตอบกลับมา ซึ่งคาดว่าจะส่งกลับมาภายในเร็วๆ นี้

 :25: :25: :25: :25:

นายชยพลกล่าวต่อว่า หนังสือที่ สพฐ.และ สกศ.ตอบกลับมาระบุว่าเห็นด้วยกับหลักการในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. … แต่มีข้อเสนอแนะว่าการจัดทำร่าง พ.ร.บ. ต้องไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ในมาตรา 17 ที่ระบุว่า “ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 18 ที่ระบุว่า “การจัดการศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
     1.สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนา เด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ หรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น
     2.โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่น และ
     3.ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด”


 st12 st12 st12 st12

“กรณีที่มีพระสงฆ์ และนักวิชาการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วยกับการเทียบวิทยฐานะ หรือเทียบวุฒิระหว่างพระสงฆ์ และฆราวาสนั้น ผมมองว่าเมื่อร่าง พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้แล้ว เราต้องมาหารือในรายละเอียดอีกครั้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ในเรื่องวุฒิการศึกษา ซึ่งจะมีกฎหมายลูกออกมาแน่นอน ทั้งนี้ วิทยฐานะของพระสงฆ์เปรียบเป็นองค์ความรู้ หรือที่ทางโลกเรียกว่าเอกวิชา เราจะไม่นำมาเทียบวุฒิในรายวิชาที่ทางโลกเรียน” นายชยพลกล่าว


ขอบคุณข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/207835
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ