ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตักบาตรถามพระ  (อ่าน 1073 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ตักบาตรถามพระ
« เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2016, 07:41:36 am »
0


ตักบาตรถามพระ

เอ่ยสำนวน ตักบาตรอย่าถามพระ นี่เป็นเรื่องของพระไทย โยมจะถวายอะไร พระท่านต้องเออออ ฉลองศรัทธาญาติโยม ถ้าเป็นพระพม่า พระท่านไม่ยอมให้โยมตักบาตรตามใจ ท่านให้ตักบาตรภาคบังคับ ตามแบบของท่าน ประสบการณ์นี้ ผมได้เมื่อปลายปี 2548 ผู้ใหญ่ท่านเมตตาให้ติดสอยห้อยตาม ไปทำบุญเนื่องในวัน
เฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว... ที่วัดใหญ่ ในเมืองมัณฑเลย์

วัดนี้ ขึ้นชื่อทางด้านเรียนปริยัติ มีพระเณรหลายพัน ลงจากรถบัสแล้ว ทุกคนก็ต้องถอดรองเท้า เท้าคนเมืองกรุงจากไทย ก็ล้วนแต่ “ผู้ดีตีนแดง” เจอถนนโรยกรวดก็ต้อง “ตะแคงตีนเดิน” เข้าไปถึงจุดที่ยืนรอใส่บาตร พระท่านต้องเปิดการ ปฐมนิเทศ สอนให้รู้จักการใส่บาตรแบบพม่า

อย่านึกถึงการใส่บาตรข้าวเหนียว ที่เมืองหลวงพระบาง ของลาว นะครับ พระเณรมาเป็นร้อย คนไม่เคย ก็ปั้นข้าวเหนียวเต็มไม้เต็มมือใส่ ใส่ไปๆ พระเณรหางแถวอีกยาว ปั้นข้าวก็ค่อยๆเล็กลงๆจนเหลือข้าวเหนียวแค่กระหยิบมือ


 :96: :96: :96: :96:

วัดนี้ที่พม่า มีพระมากเหมือนกัน ของที่เตรียมไว้ให้ใส่บาตรมีข้าวสุกอย่างเดียว ดูจะเป็นเรื่องง่ายแต่ไม่ง่าย กติกาพระพม่าวัดนี้ ท่านเปิดบาตรรับข้าวครั้งเดียว แล้วก็ปิดฝาบาตรเลย โยมจากไทยไม่เคยตักข้าวตามเคย ก็น้อยไป...พระท่านฉันไม่อิ่ม ผมเห็นสมภารใหญ่ ท่านจับไม้จับมือสุภาพสตรีผู้ใหญ่ของผมสอนให้ตักข้าวให้แน่นเต็มขัน...แล้วยังนึกว่า พระพม่าท่านไม่ทำเหนียม เมื่ออยู่ใกล้สีกาเหมือนพระไทย

พระได้ข้าวแล้ว ถึงเวลาท่านก็นั่งฉันในสำรับ ซึ่งมีกับข้าวหลายอย่างจัดรอไว ผมไม่แน่ใจ อาหารที่ดูจะสมบูรณ์พร้อมในวันนั้น พระท่านมีสม่ำเสมอทุกวันหรือเปล่า กับข้าวแบบพม่า เท่าที่ตาเห็น ไม่หรูหราอลังการงานสร้าง มีของคาวแกงกะทิมันย่อง มีของหวานสังขยา ฝอยทอง ที่ว่ากันว่า เป็นต้นเหตุ โรคความดัน ไขมัน เบาหวาน เกาต์ ฯลฯ แบบที่ถวายพระไทย

 :25: :25: :25: :25:

สำนักข่าวอิศราฯ เอามาจากคำแถลงของโฆษกกรมการแพทย์อีกที...ว่า ต้นเหตุที่พระไทยป่วยเป็นสารพัดโรคที่ว่านั้น มาจากอาหารที่ญาติโยมถวาย ข้อมูลทำนองนี้ พูดกันมานาน แต่ชุดนี้จริงจังมากกว่า เอาสถิติพระอาพาธ ร้อยละกว่า 90 จากโรงพยาบาลสงฆ์

ญาติโยมที่ศรัทธาทำบุญ แล้วกรวดน้ำอนุโมทนาหน้าตาชื่นบานนั้น...ถึงวันนี้ควรจะตั้งสติคิดใหม่ ต้นบุญที่ตั้งใจปลูกหนักหนานั้น จะออกดอกออกผลมาเป็นกรรม พระท่านควรจะมีสุขภาพดี จากการฉันอาหารที่มีคุณภาพ เช่นเนื้อปลา ผักหญ้า แต่กลายเป็นว่า พระท่านสุขภาพแย่...เจ็บป่วยบ่อยๆ อายุขัยก็สั้น

อย่าว่าแต่ข้าวปลาอาหาร ที่พระขบฉัน ของใช้อื่นๆ อย่างเครื่องสังฆทาน...มีข่าวออกบ่อยไปกระป๋องสังฆทานสำเร็จรูป ที่ซื้อจากร้าน เครื่องกระป๋อง ยา ฯลฯ หมดอายุผ้าอาบ (น้ำ) พระใช้อาบน้ำไม่ได้ เพราะเนื้อผ้ามีใช้ได้เท่ากับผ้ากระเตี่ยวผืนเดียว หรือแม้จะถวายของดี ที่เลือกสรรมาเอง แต่ถ้าถวายในช่วงเทศกาล พระท่านได้ของมากเกินไป ก็เป็นปัญหา ในการบริหารจัดการ ถ้าวัดใหญ่แจกจ่ายให้วัดเล็กๆ ที่ยากจน ก็เป็นเรื่องดี


 st12 st12 st12 st12

เข้าพรรษาแล้ว กลิ่นอายการทำบุญใส่บาตรดูจะเริ่มกันอีกแล้ว เข้าพรรษาปีนี้ เปลี่ยนวิธีทำบุญกันใหม่
จะดีไหม? จะถวายอะไร ลองถามพระท่านดูเสียก่อน

ส่วนพระนั้น แม้ท่านจะต้องยึดหลักโภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร รู้จักประมาณในการกิน กินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา ผมขอนิมนต์ ให้ท่านยึดหลัก “สมณวิสัย” ไว้ และขอให้ท่านใจกล้าบอกญาติโยมตรงๆ ต้องการกินต้องการใช้อะไร ปรับตัวเข้าหากันทั้งพระทั้งโยม ต้นบุญก็จะออกดอกผลบุญ ปัญหาเรื่องทำคุณให้โทษ โปรดสัตว์ได้บาปก็จะหมดไปจากเมืองไทยเสียที.

      กิเลน ประลองเชิง


คอลัมน์ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง 22 ก.ค. 2559
http://www.thairath.co.th/content/668672
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ