ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ม.ส.เห็นชอบ ร่างกฎหมายการศึกษาพระปริยัติธรรม  (อ่าน 1252 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ม.ส.เห็นชอบ ร่างกฎหมายการศึกษาพระปริยัติธรรม

มหาเถรฯ เห็นชอบร่างพ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. พร้อมตั้งผู้แทนมส.วางมาตรการคุ้มครองศาสนา ตามคำสั่งหน.คสช. ขณะที่กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน ยื่นหนังสือเสนอร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน ต่อพ.ศ. เพื่อรายงาน มส.

วันนี้( 30 ส.ค. )นายสมบัติ พิมพ์สอน รองโฆษกสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมมหาเถรสมาคม(มส.)วันนี้ มส.มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. …. ตามที่คณะอนุกรรมการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ฯได้ปรับปรุงแก้ไขตามความเห็นของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอ โดยมีการปรับเพิ่มจาก 28 เป็น 31 มาตรา โดยเฉพาะมาตราที่ 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ.2527 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2540

นอกจากนี้ยังแก้ไขสาระสำคัญในมาตรา 22 - 25 ซึ่งจะเป็นมาตราที่กำหนดวิทยฐานะทางการศึกษาคณะสงฆ์ โดยมาตรา 22 ว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ดังนี้ นักธรรมเอกเทียบเท่า ม.ต้น / เปรียญธรรม(ป.ธ.) 3 ประโยคเทียบเท่า ม.ปลาย / แผนกสามัญศึกษาเป็นการศึกษาระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย

 :25: :25: :25: :25:

นายสมบัติ กล่าวต่อไปว่า มาตรา 23 ผู้เรียนที่พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับซึ่งได้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมสนามหลวงและแผนกบาลีสนามหลวงมีวิทยฐานะ ดังนี้ นักธรรมเอกมีวิทยฐานะ ม.ต้น / ป.ธ.3 มีวิทยฐานะ ม.ปลาย มาตรา 24 ให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษา ป.ธ.9 มีวิทยฐานะระดับ ปริญญาตรี และมาตรา 25 ให้ผู้สำเร็จแผนกบาลีสนามหลวงที่ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดและเป็นไปโดยความเห็นชอบของ มส.มีวิทยฐานะดังนี้

ป.ธ.6 มีวิทยฐานะ ปริญญาตรี / ป.ธ.7-8 มีวิทยฐานะ ปริญญาโท /ป.ธ.9 มีวิทยฐานะ ปริญญาเอก

ทั้งนี้ พศ.จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้ ต่อ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.สำนักนายกรัฐนมตรีนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป  นอกจากนี้ มส.ยังเห็นชอบผู้แทนมหาเถรสมาคม 3 รูป ประกอบด้วย พระพรหมมุนี วัดราชบพิธฯ พระพรหมโมลี วัดปากน้ำ และพระพรหมบัณฑิต วัดประยุรวงศาวาส เข้าร่วมประชุมกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามคำสั่ง คสช.มาตรา 44 เรื่องมาตราการอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาในประเทศไทยร่วมกับนายสุวพันธ์ ในวันที่ 31 ส.ค. เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล

 st12 st12 st12 st12

ในวันเดียวกัน ดร.จรูญ วรรณกสิณานนท์ ตัวแทนกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน เข้ายื่นหนังสือรายงานเกี่ยวกับการนำเสนอร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน ต่อ พศ. เพื่อขอให้รายงานต่อ มส. ว่า กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดินได้ยื่นร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว โดย ดร.จรูญ กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นคนละฉบับกับที่พระครูใบฎีกาคฑาวุธ ฝ่ายวิชาการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้ยื่นต่อ สนช.ก่อนหน้านี้ ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีสาระ 45 มาตรา ประกอบด้วย 7 หมวด คือ
1.หมวดทั่วไป
2.หมวดการควบคุมการจัดบริการนมัสการสังเวชนียสถาน
3.หมวดคณะกรรมการส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน
4.หมวดสำนักงานส่งเสริมสังเวชนียสถาน
5.หมวดกองทุนส่งเสริมนมัสการสังเวชนียสถาน
6.บทกำหนดโทษ และ
7.บทเฉพาะกาล

อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ถ้าร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับมารวมกันได้จะเป็นความหวังของชาวพุทธ เนื่องจากขณะนี้การไปนมัสการสังเวชนียสถาน ยังไม่มีกฎหมายใดๆรับรอง จึงมีปัญหาอุปสรรคมากมายกับผู้ที่เดินทางไปนมัสการ ทั้งความปลอดภัย สถานที่พัก หลักประกันการเดินทาง ความล่าช้า การแสวงหาผลประโยชน์จากกลุมบุคคล ซึ่งเมื่อมี พ.ร.บ.จะช่วยอำนวยความสะดวกให้การเดินทางและส่งผลที่ดีต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา มหากษัตริย์และปวงชนชาวไทย



ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/520488
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ