ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องเล่าขำๆ…ความทุลักทุเลของการสวดมนต์ ในวัดเมืองนอก ที่ญาติโยมไม่เคยรู้  (อ่าน 1204 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เรื่องเล่าขำๆ…ความทุลักทุเลของการสวดมนต์ ในวัดเมืองนอก ที่ญาติโยมไม่เคยรู้

คนที่มาวัดป่าในวันสำคัญทางศาสนามักชื่นชมการสวดมนต์แปลเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเนื้อหาของบทสวดไพเราะและมีความหมายลึกซึ้ง  ยิ่งเวลาที่คนจำนวนมากสวดอย่างพร้อมเพรียงกัน  เสียงจะดังกระหึ่มฟังดูจับใจยิ่งนัก  แต่ใครเลยจะรู้ว่า  ในยามที่พระสวดกันเองไม่กี่รูปนั้นจะฟังดูทุลักทุเลเพียงใด

ครั้งหนึ่งเคยจำพรรษาในวัดที่มีพระเพียงห้ารูป  แต่ละรูปมีเสียงต่างกันไปคนละคีย์  พระใหม่รูปหนึ่งเสียงสูงกว่าใคร  แถมยังสวดเสียงดังด้วย  คณะสวดมนต์จึงสับสนอลหม่านไม่รู้จะตามใครดีหลังจากที่ทนสวดได้ไม่ถึงสัปดาห์  ท่านอาจารย์ก็แก้ปัญหานี้ด้วยการให้ผลัดกันเป็นผู้นำคนละวัน

คราวนี้แต่ละคนได้ตระหนักว่าผู้นำสวดต้องลำบากเพียงใด เสียงสวดมนต์จึงค่อยๆ  ปรับให้เข้ากันมากขึ้น  สถานการณ์นี้บีบบังคับให้เรียนรู้ไปโดยปริยาย


 :96: :96: :96: :96:

ผู้โชคดีคือคนที่มีโทนเสียงอยู่ในระดับกลางๆ  สามารถปรับให้เข้ากับใครก็ได้  ไม่ว่าผู้นำจะสวดเร็วหรือช้า  จะสวดด้วยสำเนียงญี่ปุ่น  ไทยอีสาน  หรือฝรั่ง  ก็ปรับสำเนียงให้กลมกลืนได้  หรือเวลาที่ต้องนำสวดคนส่วนใหญ่ก็สวดตามไปได้ไม่ลำบาก  เคล็ดลับสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่การเงี่ยหูฟังแล้วปรับเสียงให้คล้อยตามเสียงส่วนใหญ่

ฟังดูเหมือนไม่ยาก  แต่เชื่อหรือไม่ว่า  หาคนที่พร้อมจะปรับเสียงได้น้อยมาก  การสวดมนต์ในบางคราวจึงเหมือนการผจญภัยอีกลักษณะหนึ่ง  เพราะไม่รู้เลยว่าจะต้องประสานเสียงกับคีย์ใดบ้าง  และจะสวดไปตลอดรอดฝั่งหรือไม่

การรู้จักยืดหยุ่นต่อสิ่งเล็กๆ  น้อยๆ  เช่นนี้  สะท้อนท่าทีการปรับตัวในชุมชนด้วย  คนที่ยึดมั่นความเห็นของตนมาก  ไม่โอนอ่อนผ่อนตามใคร  มักสร้างความยุ่งยากให้กับผู้ที่อยู่ร่วมกันไม่มากก็น้อย  การใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับอุดมคติของพระป่าคือ  การทำตัวให้เหมือนธาตุน้ำยามอยู่ในภาชนะใดก็กลมกลืนไปกับภาชนะนั้น  แต่ไม่สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง  และที่สำคัญคือ  เมื่อไปอยู่ที่ไหนก็สร้างความผาสุกร่มเย็นในที่นั้น

 :25: :25: :25: :25:

คืนก่อน  ผู้นำสวดคนใหม่เริ่มหน้าที่เป็นวันแรก  พอขึ้นต้นเสียงด้วยความมั่นใจเต็มที่  พระเณรทั้งศาลาก็มีอันต้องนิ่งอึ้งไปตามๆ  กันและแล้ว…เสียงหัวเราะก็ดังก้องมาจากท่านอาจารย์ซึ่งอยู่หัวแถว  แล้วไล่ตามมาเป็นระลอกจนกระทั่งปลายแถว  การสวดมนต์ในคืนนั้นจึงชะงักเสียแต่ยังไม่เริ่ม

ได้ยินเสียงหลวงตาที่นั่งอยู่ด้านข้างกระซิบบอกผู้นำมือใหม่ว่า“ลดเสียงลงสักครึ่งคีย์เถิด…พ่อคุณ”


 

ชื่อเรื่องเดิม : คณะ (ไม่) ประสานเสียง
เขียนโดย : ปิยสีโลภิกขุ 
หมายเหตุ : ปิยสีโลภิกขุ  จบการศึกษาคณะนิเทศศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่ได้เลือกวิถีชีวิตนักบวชมามากกว่า  20  ปีแล้ว  ปัจจุบันพำนักในวัดป่าเล็กๆ แห่งหนึ่งที่จังหวัดเชียงราย  บันทึกชุดนี้เขียนขึ้นระหว่างจำพรรษาที่วัดจิตวิเวก  ในแคว้นเวสต์ซัสเซ็กซ์  (West  Sussex)    นอกกรุงลอนดอน  ประเทศอังกฤษ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ