"การไม่ให้" เป็นเหตุประทุษร้าย "จิตที่ฝึกแล้ว"ทานวัตถุ ๘ อย่าง (จากพระไตรปิฎกไทย ฉบับหลวง)
๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ (มีผู้รับมาถึงเข้าก็ให้)
๒. ให้ทานเพราะกลัว
๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร
๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะระบือไป
๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต _______________________________________________________
พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง)เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=6171&Z=7015&pagebreak=0
ทานวัตถุ(๑) [เหตุแห่งการให้ทาน] ๘ (จากพระไตรปิฎกไทย ฉบับมหาจุฬาฯ)
๑. ให้ทานเพราะประสบเข้า(๒)
๒. ให้ทานเพราะกลัว(๓)
๓. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’
๔. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาจักให้แก่เรา’
๕. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
๖. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’
๗. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม ย่อมขจรไป’
๘. ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต(๔)
เชิงอรรถ
(๑) ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๑/๒๘๗
(๒) ให้ทานเพราะประสบเข้า หมายถึงเมื่อพบว่า เขามาหา ให้รอสักครู่ก็สามารถให้ทานได้ ไม่รู้สึกหนักใจที่ จะถวายทาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓)
(๓) ให้ทานเพราะกลัว ในที่นี้หมายถึงให้ทาน เพราะกลัวตำหนิติเตียน หรือกลัวอบายภูมิ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๑/๒๕๓)
(๔) ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต ในที่นี้หมายถึงให้ทานเครื่องประดับจิตในการเจริญ สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะทานจะทำจิตใจให้อ่อนโยน เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐาน ทั้งสอง(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓) __________________________________________________
พระไตรปิฎกไทย(ฉบับมหาจุฬาฯ) เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
etipitaka.com/read/thaimc/11/345/?keywords=ทานวัตถุ ๘ ทานวัตถุสูตร (จากพระไตรปิฎกไทย ฉบับหลวง)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ
บางคนให้ทานเพราะชอบพอกัน ๑
บางคนให้ทานเพราะโกรธ ๑
บางคนให้ทานเพราะหลง ๑
บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑
บางคนให้ทานเพราะนึกว่าบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้มา เคยทำมา เราไม่ควรให้เสียวงศ์ตระกูลดั้งเดิม ๑
บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราให้ทานนี้แล้ว เมื่อตายไปจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑
บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตใจย่อมเลื่อมใส ความเบิกบานใจ ความดีใจ ย่อมเกิดตามลำดับ ๑
บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่งจิต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้แล ฯ_________________________________________________________
พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง)เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4894&Z=4903&pagebreak=0
ทานวัตถุสูตร ว่าด้วยทานวัตถุ (จากพระไตรปิฎกไทย ฉบับมหาจุฬาฯ)
ภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ(๒-) ๘ ประการนี้ ทานวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความชอบ
๒. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความชัง
๓. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความหลง
๔. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความกลัว
๕. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘พ่อและปู่เคยให้ทาน เคยทำทานเราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมหายไป’
๖. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราให้ทานนี้แล้ว หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’
๗. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส เกิดความชื่นชมโสมนัส’
๘. บุคคลบางคนให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้แลเชิงอรรถ
(๒-) ทานวัตถุ หมายถึงเหตุแห่งการให้ทาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๓/๒๕๔)____________________________________________________________________
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=106อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตรบทว่า คือ เหตุแห่งทาน. หลายบทว่า อาสชฺช ทานํ เทติ ความว่า ถึงแล้วจึงให้ทาน.
บุคคลเห็นภิกษุผู้มาแล้วเทียว นิมนต์ท่านให้นั่งครู่หนึ่งเท่านั้น แล้วจึงกระทำสักการะถวายทาน ย่อมไม่ลำบาก ด้วยการคิดว่า เราจักให้. ความหวังในการให้นี้ ชื่อว่า เหตุแห่งการให้ ด้วยประการฉะนี้.
เหตุทั้งหลายมีความกลัว เป็นต้น แม้ในคำเป็นต้นว่า ให้ทาน เพราะความกลัว บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเหตุแห่งการให้. บรรดาเหตุเหล่านั้น ความกลัวต่อคำติเตียน หรือความกลัวต่ออบายว่า บุคคลผู้นี้เป็นผู้ไม่ให้ (ทาน) เป็นผู้ไม่กระทำ (สักการะ) ชื่อว่าความกลัว.

สองบทว่า อทาสิ เม ความว่า บุคคลย่อมให้ตอบด้วยคิดว่า บุคคลนั้นได้ให้วัตถุชื่อนี้แก่เราในกาลก่อน.
สองบทว่า ทสฺสติ เม ความว่า บุคคลย่อมให้ด้วยคิดว่า เขาจักให้วัตถุชื่อนี้ในอนาคต.
สองบทว่า สาหุ ทานํ ความว่า บุคคลย่อมให้ (ทาน) ด้วยคิดว่า ธรรมดาว่า การให้เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือเป็นกรรมดี อันบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงสรรเสริญแล้ว.
หลายบทว่า จิตฺตาลงฺการจิตฺตปริกฺขารตฺกํ ทานํ เทติ ความว่า บุคคลย่อมให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับ และเพื่อเป็นบริวารของจิตในสมถะและวิปัสสนา.
จริงอยู่ ทานย่อมกระทำจิตให้อ่อนได้. อันผู้ใดได้วัตถุ แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่า เราได้แล้ว.
อันผู้ใดให้แล้ว แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่า เราให้แล้ว.
ทานย่อมกระทำจิตของบุคคลแม้ทั้งสองให้อ่อนได้ด้วยประการฉะนี้.
เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก (ชื่อว่าทาน). เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
"การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก ชื่อว่าทาน การไม่ให้เป็นเหตุประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว สัตว์ทั้งหลายย่อมฟูขึ้นและฟุบลง ด้วยทานและวาจาที่อ่อนหวาน ดังนี้"
ก็บรรดาทานทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ ทานที่เป็นเครื่องประดับจิตเท่านั้นสูงสุด.
ที่มา :
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=8#เหตุแห่งทาน อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ :
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=4501&Z=7015