ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘นักปวศ.’ ชื่นชมอยุธยาฟื้นฟูมะขามยักษ์ 300 ปีที่วัดบรมพุทธาราม เผยเป็น “บ้านเดิม  (อ่าน 1427 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29297
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยา พร้อมคณะร่วมกันทำพิธียกต้นมะขามขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ อายุกว่า 300 ปี ภายในโบราณสถานวัดบรมพุทธาราม ที่โค่นล้มพร้อมตัดแต่งกิ่งและทำบายพาสโดยการใช้ต้นมะขามขนาดเล็ก ทาบกับลำต้น เพื่อดูดซับแร่ธาตุมาเลี้ยงต้นมะขามใหญ่ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน (ภาพเล็ก ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง)


‘นักปวศ.’ ชื่นชมอยุธยาฟื้นฟูมะขามยักษ์ 300 ปีที่วัดบรมพุทธาราม เผยเป็น “บ้านเดิม” พระเพทราชา

เมื่อวันที่ 9 พ.ย. สืบเนื่องจากกรณี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับนักวิชาการป่าไม้ กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมศิลปากร ช่วยกันฟื้นฟูต้นมะขามยักษ์ อายุกว่า 300 ปี ที่ถูกพายุพัดโค่นล้ม ภายในโบราณสถานวัดบรมพุทธาราม ถนนศรีสรรเพชญ์ ต.ประตูชัย อ.เมืองพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่ในเขตรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยมีการตัดแต่งกิ่งและทำบายพาสโดยการใช้ต้นมะขามขนาดเล็ก ทาบกับลำต้น เพื่อดูดซับแร่ธาตุมาเลี้ยงต้นมะขามใหญ่ เมื่อวันที่ 7 พ.ย.นั้น ล่าสุด นายคงศักดิ์ มีแก้ว นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สาเหตุที่ต้นมะขามล้มน่าจะเกิดจากมีอายุมาก ประกอบกับรากเป็นเชื้อรา และเกิดพายุฝนจึงเป็นเหตุให้ล้ม หลังการสำรวจได้ทำการตัดแต่งกิ่งที่ได้รับความเสียหาย และดูแลตามหลักวิชาการซึ่งต้องเฝ้าติดตามการบายพาสต้นไม้เป็นระยะ

นายอรรถสิทธิ์ อินต๊ะ นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ในส่วนของความเสียหายของโบราณวัดบรมพุทธาราม จากการสำรวจพบว่ามีส่วนของฐานเจดีย์รายได้รับความเสียหายเล็กน้อย เศษปูนแตกหัก ซึ่งจะเร่งดำเนินการซ่อมแซมตามแบบโครงสร้างเดิมซึ่งเคยมีการบูรณะมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีแผ่นป้ายที่แสดงชื่อและประวัติเสียหาย เร่งดำเนินการเช่นกัน


มะขามยักษ์ วัดบรมพุทธาราม

ด้าน นายรุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง กล่าวว่า การที่ทางจังหวัดดูแลต้นมะขามยักษ์ภายในบริเวณวัดบรมพุทธารามเป็นเรื่องน่าชื่นชม เนื่องจากวัดแห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญ เพราะเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นบ้านเดิมของพระเพทราชา คือเมื่อพระองค์ขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์เมื่อ พ.ศ.2231 ได้ยกที่ดินบริเวณดังกล่าวสร้างวัดขึ้น โดยหลังคาวัดเป็นกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียวซึ่งเป็นของหรูมากยุคนั้น ที่ส่วนใหญ่มุงกระเบื้องดินเผา ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดกระเบื้องเคลือบ เรียกสืบกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

“วัดแห่งนี้พระเพทราชา โปรดให้สร้างขึ้นที่พระนิเวศน์เดิมของพระองค์ในบริเวณที่เรียกว่าย่านป่าตอง ภายในเขตกำแพงเมือง ระหว่างประตูชัยกับคลองฉะไกรน้อย พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง วัดนี้จึงเปรียบเสมือนวัดประจำราชวงศ์ ชาวบ้านเรียกวัดกระเบื้องเคลือบ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมโกศ ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์และทำบานประตูประดับมุกติดประตูพระอุโบสถ ปัจจุบัน ประตูเหล่านี้อยู่ที่หอมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดารามคู่หนึ่ง ที่วัดเบญจมบพิตรอีกคู่หนึ่ง ส่วนอีกคู่หนึ่งมีผู้นำไปตัดทำเป็นตู้ใส่หนังสือ ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ทรงได้มาและประทานให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเก็บรักษา ที่นี่คือโบราณสถานสำคัญมาก การที่จังหวัดให้ความใส่ใจดูแลต้นมะขามเก่าแก่ในวัด จึงเป็นเรื่องน่าชื่นชม” นายรุ่งโรจน์กล่าว



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/355181
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อดีตก็เป็นอดีต การรักษา อดีต ปัจจุบันก็คือการรักษาผลประโยชน์ ถ้าไม่ผลประโยชน์ อดีตก็จะไม่ถูกรื้อ

  st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ