ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อภินิหารกำเนิดอยุธยา ไม่มีแม่น้ำลำคลองหนองบึง  (อ่าน 1012 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ระบบลำน้ำ มีทั้งคุณและโทษต่อการก่อบ้านสร้างเมือง หรือสร้างบ้านแปลงเมืองของคนตั้งแต่ยุคแรกเริ่มสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ แต่ระบบการศึกษาไทยไม่ให้ความสำคัญ จึงเกิดปัญหาอุทกภัยไม่เว้นเมื่อถึงฤดูฝนของทุกปี ถ้าอยากเข้าใจจริง ขอแนะนำให้อ่านหนังสือ "ไม่ใช่ตำรา แต่เป็นคัมภีร์" สร้างบ้านแปงเมือง ของ ศรีศักร วัลลิโภดม (ราคา 280 บาท) ซื้อก่อน อ่านทีหลังก็ได้


อภินิหารกำเนิดอยุธยา ไม่มีแม่น้ำลำคลองหนองบึง

ระบบลำน้ำในประวัติศาสตร์ยุคอยุธยา ที่ยังมีชีวิตปัจจุบัน ใช้แก้ปัญหาหรือลดความรุนแรงได้ดีในฤดูน้ำหลาก ขณะเดียวกันใช้สร้างมูลค่าเพิ่มได้ในการท่องเที่ยว “วัฒนธรรมชาติ” (วัฒนธรรม + ธรรมชาติ) เชิงประวัติศาสตร์อยุธยา

กรุงศรีอยุธยาเมืองน้ำ มีน้ำล้อมรอบเสมือนเกาะ เช่น เกาะลงกาของทศกัณฐ์ จึงมีพระราชนิพนธ์เพลงยาวนิราศตอนหนึ่งว่า “บริเวณอื้ออลด้วยชลธี ประดุจเกาะอสุรีลงกา”

เหตุเพราะเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวางน้ำท่วมถึง เป็นที่ทำนาปลูกข้าวอุดมสมบูรณ์, เป็นเส้นทางคมนาคมกว้างไกลได้สะดวก ฯลฯ

 :96: :96: :96: :96:

โลกไม่เหมือนเดิม และประวัติศาสตร์คืออนาคต รัฐบาลควรรู้เท่าทันแล้วแก้ไข ดังนี้

ศึกษาวิจัยระบบลำน้ำในประวัติศาสตร์ยุคอยุธยาอย่างจริงจัง แล้วปรับปรุงระบบลำน้ำที่ยังใช้การได้เป็นเส้นทางคมนาคม และการท่องเที่ยว ส่วนที่ใช้การไม่ได้ควรแก้ไขเป็น “แก้มลิง” แหล่งรับน้ำ ลดความรุนแรงในฤดูน้ำหลาก แล้วช่วยบรรเทาน้ำท่วม

การศึกษาไทยพยายามบอกว่า กรุงศรีอยุธยา มีกำเนิดจากอภินิหารกับปาฏิหาริย์ลอยสวรรค์ลงมาดินในพริบตาเวลาใดเวลาหนึ่งของ พ.ศ.1893 จึงถูกมองข้ามไม่ให้ความสำคัญระบบลำน้ำ ได้แก่ แม่น้ำลำคลองหนองบึงที่มีโดยรอบพระนครศรีอยุธยา เมืองน้ำ ดังเห็นจากการบูรณปฏิสังขรณ์และคำอธิบาย เน้นเฉพาะวัดกับวังที่อยู่กลางเกาะเมือง (นอกเกาะเมืองมีบางวัดใหญ่ๆ) ไม่สนใจระบบลำน้ำ

ทางการมักแก้ตัวน้ำขุ่นๆ ว่าทำแล้ว กำลังทำ และจะทำต่อไป แต่ในความจริงมีประจักษ์พยานเห็นแก่ตาในอยุธยากลางแจ้ง คือ ทางการไม่ได้ทำทั้งระบบ แต่ทำบางส่วนไว้แต่งหน้าด้วยผักชีอย่างผิวเผิน และไม่ทำต่อเนื่อง จึงไม่มีแผนระยะยาว โดยไม่ลงทุนสร้างคนทำงานโดยเฉพาะด้านนี้

สถาบันการศึกษาท้องถิ่น “ทอดหุ่ย” ไม่เอาเรื่องภูมิสถานอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไร จึงดีแต่พูด ส่วนสถาบันส่วนกลางพากันทิ้งท้องถิ่นนานแล้ว ศูนย์มานุษยวิทยาฯ กำลังทำความรู้ท้องถิ่นที่สมุทรสาคร ซึ่งมีค่ามากๆ น่าจะทบทวนวิธีการบางอย่าง แล้วพิจารณาทำที่อยุธยาโดยด่วน เพราะย่ำแย่เต็มทีแล้ว



ขอบคุณเนื้อหาและภาพจาก
http://www.matichon.co.th/news/513267
ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ
ที่มา : คอลัมน์ สุจิตต์ วงษ์เทศ มติชนรายวัน
เผยแพร่ : 30 มี.ค. 60
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ