ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ในพระบาลีกล่าวถึง "ข้าวยาคู" ไว้ว่าอย่างไร.?  (อ่าน 4745 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




ในพระบาลีกล่าวถึง "ข้าวยาคู" ไว้ว่าอย่างไร.?


ถามโดยคุณลูกเจี๊ยบ : ข้าวยาคูเป็นอย่างไร.?

ตอบคุณลูกเจี๊ยบ : ราชบัณฑิตยสถานอรรถาธิบายไว้ในรายการวิทยุ รู้ รัก ภาษาไทย เรื่อง ข้าวยาคู ว่า ยาคู มาจากภาษาบาลีว่า ยาคุ มีลักษณะแบบเดียวกับข้าวต้ม

ในสมัยพุทธกาลใช้ข้าวหรือธัญพืชชนิดอื่นแช่ในน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 16 จนเปลือกธัญพืชอ่อนตัว แล้วเคี่ยวให้เหลือเพียงครึ่งเดียว เป็นอาหารที่ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่หิวกระหายดื่ม ในวินัยปิฎกและพระสูตรอังคุตตรนิกาย กล่าวว่า ข้าวยาคูมีประโยชน์ 5 ประการ คือ ช่วยบรรเทาความหิว บรรเทาความกระหาย ทำให้ลมเดินสะดวก ช่วยชำระลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร

และตามพุทธประวัติ กล่าวว่า พราหมณ์ผู้หนึ่งหุงข้าวยาคูและทำขนมหวานถวายพระพุทธเจ้า และพระสาวกฉัน ขนมที่พราหมณ์ทำเป็นขนมหวาน ส่วนข้าวยาคูไม่มีรสหวาน

ทุกวันนี้การทำข้าวยาคูใช้ข้าวอ่อนนำมาตำให้เม็ดแหลก แล้วกรองเอาส่วนที่เป็นน้ำมาต้มกับน้ำตาล มีลักษณะคล้ายแป้งเปียกสีเขียวอ่อน เมื่อกินอาจราดหน้าด้วยน้ำกะทิเล็กน้อยหรือใส่มะพร้าวอ่อน

 :96: :96: :96: :96:

ยังมีข้อมูลจากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่า ในพระบาลีมีข้าวยาคูชนิดที่ปรุงเป็นยา ปรากฏเนื้อความใน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ว่าด้วย กัญชิกทายิกาวิมาน ความมีอยู่ว่า

ครั้งที่ พระพุทธเจ้า ประชวรโรคลมในพระนาภี จึงตรัสเรียก พระอานนท์ เข้ามารับสั่งให้ไปบิณฑบาตเพื่อนำน้ำข้าวมาทำยา พระอานนท์รับบาตรของพระพุทธเจ้าแล้วเดินบิณฑบาตไปที่หน้าบ้านหมอผู้เป็นโยมอุปัฏฐาก พบแต่ นางกัญชิกทายิกา ผู้เป็นภริยาหมอ นางเป็นผู้มีปัญญา จึงปรุงข้าวยาคูด้วยน้ำข้าว พุทรา และมะซาง เติมน้ำสี่ส่วน ปรุงด้วยของเผ็ดร้อน 3 อย่าง คือ ผักชี มหาหิงคุ์ และกระเทียม อบอย่างดีแล้วเกลี่ยลงในบาตรของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยข้าวยาคูเจือยาแล้ว อาการอาพาธก็สงบลง

 :25: :25: :25: :25:

ข้าวยาคูยังปรุงเป็นยาเพื่อรักษาโรคลมเสียดจุกอกได้อีกด้วย พระวินัยปิฎก มหาวรรค กล่าวไว้ความว่า

ครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จพุทธดำเนินถึงเมืองราชคฤห์ ทรงพระประชวรด้วยโรคลมในพระอุทร พระอานนท์จึงดำริว่า เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าทรงสำราญหายจากโรคลมเกิดในพระอุทรได้ด้วยข้าวยาคูปรุงด้วยของ 3 อย่าง ได้แก่ งา ข้าวสาร และถั่วเขียว นำมาต้มใช้เป็นยารักษา และในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ กล่าวถึงข้าวยาคูใช้ดื่มรักษาโรคลมว่า ปรุงด้วยน้ำมันเปลวหมีและสุกร ต้มด้วยน้ำฝาดรากไม้ 5 ชนิด ดื่มบำบัดรักษาโรคได้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ กล่าวถึงข้าวยาคูที่ปรุงในนครจัมปาแห่งแคว้นอังคะในสมัยพุทธกาล ว่าปรุงด้วยอปรัณชาติ คือ ถั่วงา และผักอื่นๆ ที่ไม่ใช่ข้าว (ในพระบาลีกล่าวว่ามีถั่วเขียว ถั่วราช มาษ และเยื่อถั่วพู) รวมกับน้ำมันงา และข้าวสาร แล้วปรุงด้วยวัตถุ 3 อย่างที่เรียกว่า เตกฏุละ มีเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด ต้มในน้ำนมที่เดือดด้วยน้ำ 4 ส่วน เรียกว่า ข้าวยาคูปรุงด้วยวัตถุ 3 อย่าง (เตกฏุล ค. (ยาคุ) ทำด้วยงา, ข้าวสาร, ถั่ว รวม 3 อย่าง)

 st12 st12 st12 st12

คุณของข้าวยาคูในพระบาลีกล่าวไว้ว่า ข้าวยาคูมีคุณ 10 อย่าง ดังถ้อยความที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญคุณ 10 ประการของข้าวยาคู ความปรากฏในพระวินัยปิฎก มหาวรรค

ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จพระดำเนินไปตามทางสู่อันธกวินทชนบทพร้อมหมู่ภิกษุ 1,250 รูป ครั้งนั้นมีชาวชนบท 500 คนเดินทางตามภิกษุสงฆ์ ด้วยตั้งใจว่าเมื่อมีโอกาสก็จะทำภัตตาหารถวาย พราหมณ์ผู้หนึ่งซึ่งเดินติดตามภิกษุสงฆ์มาได้ 2 เดือนตรวจดูโรงอาหารก็ไม่เห็นว่ามีข้าวยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวาน จึงเข้าไปหาพระอานนท์ ถามว่าถ้าตนจะตกแต่งข้าวยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวานถวายพระพุทธเจ้าจะทรงรับของของตนหรือไม่ พระอานนท์กราบทูลถามพระพุทธ เจ้า พระองค์ตรัสกับพระอานนท์ให้พราหมณ์ตกแต่งถวายได้

ในคืนนั้นพราหมณ์ได้ตกแต่งไว้เป็นอันมาก เมื่อถึงเวลาจึงนำมาถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสให้พราหมณ์ถวายแด่ภิกษุทั้งหลาย แต่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นรังเกียจไม่รับ พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้ภิกษุทั้งหลายนั้นรับประเคน ฉันเสร็จแล้วพระพุทธเจ้า ตรัสกับพราหมณ์ว่า ข้าวยาคูมีคุณ 10 ประการ คือ ทายกใดถวายข้าวยาคูโดยเคารพตามกาลแก่ปฏิกคาหก คือ
     ผู้รับทานตามกาล ชื่อว่า ให้อายุ 1 ให้วรรณะ 1 ให้สุข 1 ให้กำลัง 1 ให้ปฏิภาณ 1
     ข้าวยาคูนั้นย่อมกำจัดความหิว 1 บรรเทาความกระหาย 1 ทำลมให้เดินคล่อง 1 ล้างลำไส้ 1 และย่อยอาหารใหม่ 1

อานิสงส์ของการถวายข้าวยาคูยังมีบันทึกอยู่ในพระบาลีต่างๆ กล่าวถึงสรรพคุณพิเศษของข้าวยาคูว่า เป็นอาหารที่ช่วยบรรเทาโรคบางอย่างได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้แล้วยังเป็นอาหารหลักที่ใช้ปรุงกับเครื่องกระสายยาต่างๆ ได้ แม้ว่าในปัจจุบันความนิยมในการบริโภคข้าวยาคูจะลบเลือนไปแล้ว แต่ก็ยังมีธุรกิจภาคเอกชนที่ผลิตบรรจุกล่องออกวางจำหน่ายอยู่บ้าง


คอลัมน์ รู้ไปโม้ด : ข้าวยาคู
โดย : น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com
ขอบคุณภาพและบทความจาก : https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_161321
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 28, 2016, 09:20:07 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ในพระบาลีกล่าวถึง "ข้าวยาคู" ไว้ว่าอย่างไร.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 28, 2016, 09:37:47 am »
0


กัญชกทายิกาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกัญชิกทายิกาวิมาน


พระโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่....

[๔๓]    ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมอะไร.?
             
นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า เมื่อชาติก่อน ฉันเกิดเป็นมนุษย์ มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายน้ำข้าวอันปรุงด้วยพริกและใส่น้ำมันอันเจียวแล้ว และปรุงด้วยดีปลี กระเทียม ขิง ข่า กระชาย แด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ซึ่งประทับอยู่ ณ พระนครอันธกวินทะ ดิฉันจึงได้เสวยทิพยสมบัติเช่นนี้

      นางแก้วผู้งดงามทั่วสรรพางค์ สามีไม่จืดจางในการมองชม ได้รับอภิเษกเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิราช ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น
      ทองคำแท่งตั้งร้อยแท่ง ม้าอัสดรร้อยม้า รถอันเทียมด้วยม้าอัสดรร้อยคัน นางราชกัญญาอันประดับประดาด้วยแก้วมุกดาแก้วมณี และกุณฑลประมาณตั้งแสน ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น
      คชสารตัวประเสริฐอันเกิดแต่ป่าหิมพานต์เป็นตระกูลคชสารมาตังคะ มีงาอันงอนงามดุจงอนรถ มีสายรัดแล้วด้วยทองคำ ร้อยเชือก ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น
      ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิผู้ได้เสวยราชสมบัติเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ก็ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น.


         จบ กัญชิกทายิกาวิมานที่ ๕.



พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๑๔๘๓-๑๕๐๖. หน้าที่ ๖๐-๖๑.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=1483&Z=1506&pagebreak=0



อรรถกถากัญชิกทายิกาวิมาน
             
กัญชิกทายิกาวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น.

กัญชิกทายิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร.?

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประชวรโรคลมในพระนาภี จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์สั่งว่า อานนท์ เธอจงไปเที่ยวบิณฑบาต นำน้ำข้าวมาเพื่อทำยาแก่เรา. ท่านพระอานนท์ทูลตอบรับพระพุทธดำรัสว่า พระพุทธเจ้าข้า. ถือบาตรที่ท้าวมหาราชถวาย ยืนอยู่ที่ประตูนิเวศน์ของหมอผู้เป็นอุปัฏฐากของตน. ภริยาของหมอเห็นท่าน ก็ออกไปต้อนรับไหว้แล้วรับบาตรพลางถามพระเถระว่า ต้องการยาอะไร เจ้าข้า.

เล่ากันว่า ภริยาของหมอนั้นเป็นคนมีปัญญา สังเกตรู้ว่า เมื่อจะประกอบยา พระเถระจึงมาที่นี้ มิใช่มาเพื่อภิกษา. และเมื่อพระเถระบอกว่าต้องการน้ำข้าว นางคิดว่านี้มิใช่ยาสำหรับพระผู้เป็นเจ้าของเรา บาตรนี้ก็เป็นบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้ เอาละ เราจะจัดน้ำข้าวอันเหมาะแก่พระโลกนาถ นางดีใจเกิดความนับถือมาก จึงปรุงยาคู ข้าวต้มด้วยพุทราและถั่วพูใส่เต็มบาตร และจัดโภชนะอย่างอื่นเป็นบริวารของยาคูนั้นส่งไปถวาย.

     พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยยาคูนั้นเท่านั้น อาพาธนั้นก็สงบ.
     ต่อมา นางตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติยิ่งใหญ่ บันเทิงอยู่.

     st12 st12 st12 st12

     ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
     ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม เปล่งรัศมีสว่างไปทุกทิศ ดุจดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.
     ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
     เทวดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้

      ans1 ans1 ans1

     เทพธิดาแม้นั้นพยากรณ์ว่า
     ดีฉันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ซื่อตรงได้ถวายน้ำข้าวที่ปรุงด้วยพุทรา อบด้วยน้ำมันและผสมด้วยดีปลี กระเทียมและรากผักชี แด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ณ อันธกวินทนคร.
     นารีผู้งามทั่วสรรพางค์ สามีมองไม่จืด ครองความเป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น.
     ทองคำร้อยแท่ง ม้าร้อยตัว รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรร้อยคัน สาวน้อยประดับตุ้มหูแก้วมณีแสนนาง ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง.
     ช้างตัวประเสริฐตระกูลเหมวตะ มีงาดุจงอนไถ มีสายรัดทองคำ มีที่อยู่อาศัยเป็นทอง [ถ้ำทอง] ร้อยเชือก ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง.
     ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิ ครองความเป็นใหญ่แห่งทวีปทั้ง ๔ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง.

 :25: :25: :25: :25:

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทาสึ โกลสมฺปากํ กญฺชิกํ เตลธูปิตํ เทพธิดาแสดงว่า ดีฉันเอาน้ำพุทราและมะซางเติมน้ำสี่ส่วน เคี่ยวยาคู ข้าวต้มเหลือส่วนที่สี่ ปรุงด้วยของเผ็ดร้อนทั้งหลายมีของเผ็ดร้อน ๓ อย่าง ผักชีมหาหิงคุ์ยี่หร่าและกระเทียม เป็นต้น อบอย่างดีให้ข้าวยาคูนั้นจับกลิ่นพริกไทย แล้วเกลี่ยลงในบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายเฉพาะพระศาสดาด้วยจิตเลื่อมใส ดีฉันวางไว้ในมือของพระเถระ.

      เพราะเหตุนั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า
      ดิฉันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ซื่อตรงได้ถวายน้ำข้าวที่ผสมด้วยดีปลี กระเทียมและพริกไทยดังนี้.
      คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น

      เมื่อเทวดานั้นชี้แจงถึงกรรมสุจริตที่ตนสั่งสมไว้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็แสดงธรรมแก่เธอพร้อมทั้งบริวารอย่างนี้แล้ว กลับมายังมนุษยโลก กราบทูลเรื่องนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า.
      พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเนื้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดขึ้นแห่งเรื่อง ทรงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ๔. เทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.


               จบอรรถกถากัญชิกทายิกาวิมาน     
         


กัญชกทายิกาวิมาน อรรถกถา ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ มัญชิฏฐกวรรคที่ ๔
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=43
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 28, 2016, 09:39:30 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ในพระบาลีกล่าวถึง "ข้าวยาคู" ไว้ว่าอย่างไร.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 28, 2016, 07:35:11 pm »
0

   แต่ถ้า..ข้าวสตุก้อนสตุผง..

ละก้อ..

ข้าวตากคลุกนม
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา