ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัดโบราณญี่ปุ่นบูรณะวิหารหลัก ใช้ภาพการเผยแผ่ศาสนาพุทธ เป็นจิตรกรรมฝาผนัง  (อ่าน 1031 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


         วัดโบราณญี่ปุ่นบูรณะวิหารหลัก ใช้ภาพการเผยแผ่ศาสนาพุทธ เป็นจิตรกรรมฝาผนัง

       ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ The Asahi Shimbun รายงานว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่บรรยายเรื่องราวการเผยแผ่ของศาสนาพุทธเข้ามายังประเทศญี่ปุ่น ได้ถูกนำมาตกแต่งวิหารจิกิโดะ ซึ่งบูรณะแล้วเสร็จ ภายในวัดยาคุชิจิ เมืองนารา อันเป็นหนึ่งในวัดโบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของญี่ปุ่น
       
       โดยภาพ “พระอมิตาภพุทธะ 3 องค์ในนิกายสุขาวดี” ขนาด 36 ตารางเมตร เป็นภาพหลักที่ใช้ตกแต่งภายในวิหาร ขณะที่ภาพ “การเผยแผ่ของศาสนาพุทธและวัดยาคุชิจิ” ขนาดความยาว 50 เมตร ถูกนำมาตกแต่งผนังโดยรอบ
       
       “ภาพได้บรรยายถึงการเผยแผ่ของศาสนาพุทธจากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ซึ่งภาพเหล่านี้ใช้ตกแต่งภายในวิหารได้อย่างเหมาะสม เพราะเป็นสถานที่ที่ใช้สอนธรรมะแก่คนทั่วไป” พระไตอิน มูรากามิ เจ้าอาวาสวัดยาคุชิจิ วัย 70 ปี กล่าว
       
       วิหารจิกิโดะเป็นหนึ่งในวิหารหลักของวัดโบราณต่างๆ ซึ่งใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมและฉันอาหารของภิกษุสงฆ์ เจ้าหน้าที่วัดยาคุชิจิเผยว่า วิหารจิกิโดะดั้งเดิมของทางวัดถูกไฟไหม้ใน ค.ศ. 973 และได้รับการบูรณะใน ค.ศ. 1005 แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงอีกครั้ง
       
       การบูรณะวิหารจิกิโดะในครั้งนี้ อยู่ภายใต้การดูแลของ “โตชิโอะ ตาบูชิ” จิตรกรภาพวาดญี่ปุ่นวัย 75 ปี ซึ่งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณของมหาวิทยาลัยศิลปะโตเกียว ใช้เวลาบูรณะ 4 ปี ทั้งนี้ ตัววิหารมีขนาดสูง 14 เมตร กว้าง 16 เมตร ยาว 41 เมตร ภายในออกแบบตกแต่งโดยสถาปนิก “โตโยโอะ อิโตะ”
       
       ทั้งนี้ วิหารจิกิโดะจะเปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2017


จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย เภตรา
http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9600000055668
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ